หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขและปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AQP-5-066ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขและปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักบริหารการควบคุมและประกันคุณภาพ (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ สมรรถนะทางเทคนิค สมรรถนะทางการจัดการ และทักษะในการตัดสินใจวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางการแก้ไขและแนวทางการปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท รวมถึงติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการแก้ไขและปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท มีความรับผิดชอบ ความเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างด้านจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (TSIC : C1022)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการ    ผลิต และการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202041 รวบรวมปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทจากช่องทางต่างๆ 2020411 ปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทถูกรวบรวมจากช่องทางต่างๆ อย่างครบถ้วน 202041.01 89350
202041 รวบรวมปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทจากช่องทางต่างๆ 2020412 รายละเอียดข้อมูลปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทถูกจำแนกอย่างถูกต้อง 202041.02 89351
202042 วิเคราะห์ปัญหาด้านคุณภาพ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020421 สาเหตุของปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทได้รับการวิเคราะห์อย่างถูกต้องและครบถ้วน 202042.01 89352
202042 วิเคราะห์ปัญหาด้านคุณภาพ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020422 สาเหตุของปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทได้รับการประเมินและสรุปผลถูกต้อง 202042.02 89353
202043 กำหนดแนวทางการแก้ไขและแนวทางการปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020431 แนวทางแก้ไขปัญหาในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทได้ถูกกำหนดอย่างถูกต้องและตรงประเด็น 202043.01 89354
202043 กำหนดแนวทางการแก้ไขและแนวทางการปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020432 แนวทางการปรับปรุงปัญหาในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทได้ถูกกำหนดอย่างเหมาะสม 202043.02 89355
202044 ติดตามและประเมินผลการแก้ไขและปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020441 แผนการติดตามการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทถูกจัดทำอย่างถูกต้องและครบถ้วน 202044.01 89356
202044 ติดตามและประเมินผลการแก้ไขและปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020442 ผลการติดตามการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทถูกรวบรวมและประมวลผลอย่างถูกต้องและครบถ้วน 202044.02 89357

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทดสอบคุณลักษณะคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทดสอบที่ใช้ในการทดสอบคุณลักษณะคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้เกี่ยวกับหลักการการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักร อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณและการวิเคราะห์ทางสถิติ    

  • ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพื้นฐาน    

  • ความรู้และทักษะภาษาอังกฤษที่สามารถใช้ในงานอาชีพได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • การสืบค้นข้อมูล    

  • การวิเคราะห์ข้อมูล    

  • การวางแผนและการจัดลำดับงาน       

  • การทำงานอย่างเป็นระบบ    

  • การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ    

  • การตัดสินใจและการแก้ปัญหา    

  • การประเมินผลและนำเสนอ (การรายงานผล)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • แหล่งที่มา/ช่องทางของข้อมูลปัญหาด้านคุณภาพ     

  • กระบวนการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ     

  • เทคนิคและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา    

  • การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ    

  • การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ    

  • กฎหมาย ระเบียบ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรายงานผลการแก้ปัญหาคุณภาพ    

  • แผนการติดตามการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)   




  • เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  •  เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)     




  • เอกสารรับรองผลการศึกษาตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารรับรองการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบควบคุมคุณภาพและบริหารคุณภาพ หลักการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) การใช้เครื่องมือทดสอบ เป็นต้น    

  • เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน    




  • การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมิน สมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ    

  • การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ ต้องมีสถานที่ทำการประเมินที่เหมาะสม และไม่มีสภาวะรบกวน มีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน    

  • ผู้ประเมินต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้




  (ง) วิธีการประเมิน    




  • การสอบข้อเขียน    

  • การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. ปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ครอบคลุมถึง    




  • ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดของลูกค้า กระบวนการผลิตมาตรฐาน    

  • ปัญหาความความเบี่ยงเบนจากค่าควบคุม




2. แหล่งที่มา/ช่องทางของข้อมูลปัญหาด้านคุณภาพ ประกอบด้วย    




  • รายงานผลการตรวจสอบ/ทดสอบ ของแผนกหรือฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ    

  • นโยบายของฝ่ายบริหาร    

  • ข้อคิดเห็นของแผนกหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง




3. กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story) หมายถึง ขั้นตอนสำหรับการแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง




4. เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (7 QC tools) ประกอบด้วย    




  • แบบตรวจสอบ (Cheek sheet)    

  • การจำแนกข้อมูลและกราฟ (Stratification and Graph)    

  • แผนภูมิพาเรโต (Pareto chart)    

  • แผนภาพสาเหตุและผล (Causes and Effects Diagram)    

  • ฮีสโตแกรม (Histogram)   

  • แผนภูมิควบคุม (Control chart)   

  • แผนภาพการกระจาย (Scatter diagram)




5. การวิเคราะห์ทำไม-ทำไม (Why-why analysis) หมายถึง การวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา โดยเป็นการพยายามถามว่า ทำไม อย่างต่อเนื่องเพื่อหาสาเหตุรากเหง้า และกำจัดได้แล้ว เพื่อไม่ให้ปัญหาเดิมเกิดซ้ำ




6.การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ หมายถึง เครื่องมือสำคัญในการรักษาระดับคุณภาพของสินค้าและบริการในกระบวนการผลิตให้ตรงตามมาตรฐานที่ผู้ผลิต และผู้บริโภคต้องการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจจากสินค้าและบริการสูงสุด และทำให้ผู้ผลิตได้รับผลกำไรสูงสุดในระยะยาว




7. ผลการติดตามการแก้ปัญหาคุณภาพ เกี่ยวข้องกับ รายละเอียดข้อมูล และ การรายงานผลการแก้ปัญหาและปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพ




8. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรายงานผลการแก้ปัญหาคุณภาพ    




  • รายงานสรุปผลการแก้ปัญหาคุณภาพ    

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure)    

  • วิธีการทำงาน (Work Instruction)    

  • แผนการสุ่มตัวอย่าง    

  • แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพ    

  • เอกสารการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective action request)    

  • เอกสารการปฏิบัติการป้องกัน (Preventive action request)




9.แผนการติดตามการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ ประกอบด้วย    




  • ผู้รับผิดชอบ    

  • หัวข้อที่ต้องติดตาม    

  • ความถี่ในการติดตาม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติของการแก้ไขและปรับปรุง ปัญหาด้านคุณภาพ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุ ที่ปิดสนิท โดยการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



 


ยินดีต้อนรับ