หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขสาเหตุของปัญหา

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AQP-5-063ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขสาเหตุของปัญหา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักบริหารการผลิต (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5




- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักบริหารงานควบคุมและประกันคุณภาพ (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5




- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักวิจัยและพัฒนา (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ ความเข้าใจ สมรรถนะทางเทคนิคและสมรรถนะการจัดการ ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริบทงาน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (TSIC : C1022)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
005031 วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริบทงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 0050311 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริบทงานถูกเลือกใช้อย่างถูกต้อง 005031.01 89216
005031 วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริบทงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 0050312 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริบทงานถูกคำนวณทางคณิตศาสตร์และสถิติอย่างถูกต้อง 005031.02 89217
005032 วิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 0050321 สาเหตุของปัญหาถูกวิเคราะห์อย่างถูกต้องและครบถ้วน 005032.01 89218
005032 วิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 0050322 ปัญหาได้รับการแก้ไขโดยสอดคล้องและถูกต้องตรงกับสาเหตุที่วิเคราะห์ 005032.02 89219

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์



- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสถิติ



- ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพื้นฐาน



- ความรู้และทักษะภาษาอังกฤษที่สามารถใช้ในงานอาชีพได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- การคำนวณทางคณิตศาสตร์



- การวิเคราะห์ข้อมูล



- การใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพื้นฐาน




- การวางแผนและการจัดลำดับงาน




- การทำงานอย่างเป็นระบบ



- การตัดสินใจและการแก้ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- การคำนวณทางคณิตศาสตร์



- การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ



- คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพื้นฐาน



- กระบวนการแก้ไขปัญหา (Problem solving)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- เอกสารรับรองการการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ
- เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
-  เอกสารรับรองผลการศึกษาตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ
-  เอกสารรับรองการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบควบคุมคุณภาพและบริหารคุณภาพ หลักการปฏิบัติที่ดีในการประกอบอาหาร (GMP) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) การใช้เครื่องมือทดสอบ เป็นต้น
-  เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
- การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ
- การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสัมภาษณ์ ต้องมีสถานที่ทำการประเมินที่เหมาะสม และไม่มีสภาวะรบกวน มีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน
- เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้
(ง) วิธีการประเมิน
- การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

- การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าพิสัย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น



- การวิเคราะห์ทางสถิติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน เป็นต้น



- กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story) หมายถึง ขั้นตอนสำหรับการแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง



- เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (7 QC tools) ประกอบด้วย



- แบบตรวจสอบ (Cheek sheet)



- การจำแนกข้อมูลและกราฟ (Stratification and Graph)



- แผนภูมิพาเรโต (Pareto chart)



- แผนภาพสาเหตุและผล (Causes and Effects Diagram)



- ฮีสโตแกรม (Histogram)



- แผนภูมิควบคุม (Control chart)



- แผนภาพการกระจาย (Scatter diagram)



- กระบวนการการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) คือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหาและเสนอทางเลือก เพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติของการวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขสาเหตุของปัญหา โดยการสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



ยินดีต้อนรับ