หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบตัวอย่างในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AQP-3-053ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบตัวอย่างในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพผู้ปฏิบัติงานควบคุมและประกันคุณภาพ (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ สมรรถนะทางเทคนิค และทักษะทางเทคนิคในการทำงานเกี่ยวกับการทดสอบตัวอย่างตามบริบทงานที่ได้รับมอบหมาย โดยต้องสอดคล้องตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท บันทึกข้อมูล ประมวลผลขั้นต้นอย่างถูกต้องและเที่ยงตรง รวมทั้งดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ และ จัดการตัวอย่าง และสารเคมีหลังการทดสอบอย่างถูกต้อง รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขสาเหตุขั้นต้นของปัญหา ภายใต้การแนะแนวของหัวหน้างานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (TSIC : C1022)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202021 ทดสอบตัวอย่างตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020211 เครื่องมือและอุปกรณ์ถูกใช้อย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้งานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 202021.01 89333
202021 ทดสอบตัวอย่างตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020212 ตัวอย่างได้รับการทดสอบด้วยวิธีการทดสอบอย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้งานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 202021.02 89334
202022 บันทึกและประมวลผลข้อมูลขั้นต้น 2020221 ผลการทดสอบถูกอ่านค่าและบันทึกอย่างถูกต้องแม่นยำ และเที่ยงตรง ในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 202022.01 89335
202022 บันทึกและประมวลผลข้อมูลขั้นต้น 2020222 ค่าการทดสอบถูกประมวลผลขั้นต้นอย่างถูกต้องด้วยวิธีการที่กำหนดตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 202022.02 89336
202022 บันทึกและประมวลผลข้อมูลขั้นต้น 2020223 ผลการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ถูกเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและ ถูกรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างอย่างถูกต้องและทันเวลา 202022.03 89337
202022 บันทึกและประมวลผลข้อมูลขั้นต้น 2020224 สถานะของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ถูกระบุอย่างชัดเจนและถูกต้อง 202022.04 89338
202023 ปฏิบัติหลังการทดสอบตัวอย่าง 2020231 เครื่องมือและอุปกรณ์ได้รับการทำความสะอาดตรวจสอบความผิดปกติ จัดเก็บและดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 202023.01 89339
202023 ปฏิบัติหลังการทดสอบตัวอย่าง 2020232 ตัวอย่างและสารเคมีหลังการทดสอบได้รับการกำจัด จัดเก็บและดูแลอย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 202023.02 89340

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้การคำนวณทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น    

  • ทักษะการใช้เครื่องคำนวณ    

  • ความรู้และทักษะการสื่อสารด้านภาษาไทยได้ดีและคำศัพท์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นที่ใช้ในอาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • การใช้เครื่องมือ / อุปกรณ์ ในการตรวจวัดคุณภาพ    

  • ทักษะการตรวจวัดคุณภาพ    

  • ทักษะการคำนวณข้อมูลเบื้องต้น    

  • การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เมื่อผลการทดสอบไม่เป็นไปตามข้อกำหนด    

  • การทำความสะอาด ตรวจสอบความผิดปกติ จัดเก็บและดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดสอบ    

  • การตัดสินใจ    

  • การตรวจสอบย้อนกลับ



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ชนิดและลักษณะของวัตถุดิบ / สินค้าระหว่างการผลิต / สินค้าสำเร็จรูป / บรรจุภัณฑ์    

  • คุณลักษณะด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • วิธีการทดสอบคุณลักษณะคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • เครื่องมือทดสอบที่ใช้ในการทดสอบคุณลักษณะคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • การคำนวณทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น    

  • เกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพในบริบทงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • วิธีการตรวจสอบย้อนกลับในบริบทงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับการชี้บ่งสถานะ    

  • การทำความสะอาด ตรวจสอบความผิดปกติ จัดเก็บและดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดสอบ    

  • การจัดเก็บและกำจัดสารเคมี    

  • การกำจัด จัดเก็บ และดูแลตัวอย่างหลังการทดสอบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)     




  • เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารประเมินผลจากการสาธิตการทำงาน




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)     




  • เอกสารรับรองผลการศึกษาตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารรับรองการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) การใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพ เป็นต้น    

  • เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน    




  • การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ    

  • การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนและการสาธิตการทำงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน    

  • ในการสาธิตการทำงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การทดสอบคุณภาพที่กำหนดมาให้ และส่วนที่ 2 การทดสอบคุณภาพตามตำแหน่งงาน ซึ่งผู้รับการประเมินสามารถเลือกได้ตามหน้าที่งานและความชำนาญงาน    

  • ในการทดสอบผู้รับการประเมินสามารถเลือกตัวอย่างเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าได้ตามความถนัด    

  • เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้




(ง) วิธีการประเมิน    




  • การสอบข้อเขียน     

  • การสาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. ชนิดและลักษณะของวัตถุดิบ / สินค้าระหว่างการผลิต / สินค้าสำเร็จรูป / บรรจุภัณฑ์ ได้แก่    




  • วัตถุดิบสัตว์น้ำ ประกอบด้วย กุ้ง หมึก ปลา ปู หอย    

  • ส่วนผสม ได้แก่ น้ำมัน เกลือ เป็นต้น    

  • ผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการผลิต/สินค้าระหว่างกระบวนการผลิต    

  • ผลิตภัณฑ์สุดท้าย/สินค้าสำเร็จรูป   

  • บรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กระป๋อง ถุงเพาซ์ ถ้วยพลาสติก กล่องกระดาษ ฉลากสินค้า เป็นต้น    

  • น้ำแข็ง    

  •  สารเคมี ได้แก่ คลอรีน แอลกอฮอล์ เป็นต้น




2. วิธีการทดสอบคุณลักษณะคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ครอบคลุม การตรวจรับวัตถุดิบ การตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ การตรวจสอบสินค้าระหว่างกระบวนการผลิต และการตรวจสอบสินค้าสำเร็จรูป ทั้งในห้องปฏิบัติการและในสายการผลิต ได้แก่    




  • การทดสอบทางกายภาพ ได้แก่ การปิดผนึกกระป๋อง การปิดผนึกถุงพลาสติก  เป็นต้น    

  • การทดสอบทางเคมี     

  • การทดสอบทางจุลินทรีย์     

  • การทดสอบทางประสาทสัมผัส ได้แก่ การมองเห็น การดมกลิ่น การสัมผัส    การกิน/ชิม เป็นต้น




3. อุปกรณ์สำหรับการทดสอบคุณภาพ   




  • อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบคุณภาพได้แก่ ไม้บรรทัด เวอร์เนียร์ ไมโครมิเตอร์ กระดาษวัดคลอรีน เป็นต้น   

  • อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับประมวลผล ได้แก่ เครื่องคิดเลข เป็นต้น




4. เครื่องมือสำหรับการทดสอบคุณภาพ เช่น    




  • เครื่องชั่งน้ำหนัก ได้แก่ เครื่องชั่งแบบดิจิตัล เครื่องชั่งแบบเข็ม เป็นต้น    

  • เครื่องวัดอุณหภูมิ ได้แก่ เทอร์โมคับเปิล เทอร์โมมิเตอร์แบบเลเซอร์ เป็นต้น    

  • เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter)    

  • เครื่องวัดค่าฮีสตามีน (Fluorometer)    

  • เครื่องวัดค่าเกลือ (Salt analyzer)




5. คุณลักษณะด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ประกอบด้วย    




  • ด้านกายภาพ    

  • ด้านเคมี     

  • ด้านจุลินทรีย์    

  • ด้านประสาทสัมผัส 



6. พารามิเตอร์ของกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ได้แก่ อุณหภูมิ ความดัน และ เวลา เป็นต้น



7. มาตรฐานการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และกระบวนการผลิต ได้แก่ AOAC, BAM, ASTM, ISO เป็นต้น



8. มาตรฐานการผลิตอาหารและระบบบริหารคุณภาพที่เกี่ยวข้อง ได้แก่    




  • หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP)    

  • การประเมินและวิเคราะห์อันตรายในอาหาร (HACCP)    

  • ระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9000)    

  • ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000)    

  • ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18000)    

  • ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000)




9. การคำนวณและประมวลผลการทดสอบเบื้องต้น ได้แก่ การคำนวณค่าร้อยละ การคำนวณค่าเฉลี่ย การเรียงลำดับตัวเลข การกำหนดค่าสูงสุด และ การกำหนดค่าต่ำสุด เป็นต้น




10. ป้ายชี้บ่งตัวอย่าง ประกอบด้วย หัวข้อ ได้แก่ ผู้ขาย วันที่รับวัตถุดิบ ชื่อวัตถุดิบ ขนาด ปริมาณ รุ่น (Lot) วันที่ผลิต ผู้เตรียม/ผู้นำส่ง และ เวลาที่สุ่ม




11. การจัดการกรณีคุณภาพวัตถุดิบ/สินค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คลอบคลุม    




  • การกักวัตถุดิบ/สินค้า    

  • การคัดแยกวัตถุดิบ/สินค้า    

  • การทำลาย    

  • การส่งคืน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติของการทดสอบตัวอย่างในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท โดยใช้วิธีการทดสอบข้อเขียน และ การสาธิตการทำงาน ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



 


ยินดีต้อนรับ