หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AQP-5-043ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักบริหารการผลิต (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ สมรรถนะทางเทคนิค สมรรถนะทางการจัดการ และทักษะในการควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามแผนการผลิต และสามารถปรับปรุงแผนการผลิตประจำวันในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (TSIC : C1022)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102101 ระบุจุดที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนาในกระบวนการผลิตเพื่อให้การดำเนินงานผลิตมีประสิทธิภาพ 1021011 เครื่องมือในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของกระบวนการผลิตถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม 102101.01 89323
102101 ระบุจุดที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนาในกระบวนการผลิตเพื่อให้การดำเนินงานผลิตมีประสิทธิภาพ 1021012 แหล่งข้อมูลของกระบวนการผลิตถูกระบุอย่างเหมาะสม 102101.02 89324
102101 ระบุจุดที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนาในกระบวนการผลิตเพื่อให้การดำเนินงานผลิตมีประสิทธิภาพ 1021013 จุดที่สามรถปรับปรุงได้ของกระบวนการผลิตถูกระบุอย่างเหมาะสม 102101.03 89325
102102 ปรับปรุงกระบวนการผลิตสัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทสอดคล้องตามแผนและนโยบายของสถานประกอบการ 1021021 แนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตถูกกำหนดตามข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 102102.01 89326
102102 ปรับปรุงกระบวนการผลิตสัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทสอดคล้องตามแผนและนโยบายของสถานประกอบการ 1021022 แผนการปรับปรุงกระบวนการผลิตถูกจัดทำและนำเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องตามแผนและนโยบายสถานประกอบการ 102102.02 89327
102102 ปรับปรุงกระบวนการผลิตสัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทสอดคล้องตามแผนและนโยบายของสถานประกอบการ 1021023 คู่มือวิธีการปฏิบัติงานหลังปรับปรุงถูกจัดทำอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อการใช้งานของผู้ที่เกี่ยวข้อง 102102.03 89328

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร




- ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท




- ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณและสถิติเบื้องต้น




- ความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบสัตว์น้ำและการดูแลรักษา




- ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท




- ทักษะเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ




- ทักษะเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Excel




- ทักษะเกี่ยวกับการวางแผนและติดตามงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • การวางแผนการผลิตประจำวัน (Daily Production Planning)    

  • การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ    

  • การวางแผนงานและการจัดลำดับความสำคัญของงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • หลักการวางแผนการผลิต    

  • การวางแผนและควบคุมการผลิต    

  • การจัดลำดับงานและการมอบหมายงาน    

  • กำลังการผลิตและการวางแผนกำลังการผลิต    

  • การกำหนดเวลามาตรฐานในการปฏิบัติงาน    

  • อัตราผลผลิต (%yield)    

  • การจัดการวัตถุดิบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)     




  • เอกสารรับรองการการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารประเมินผลจากการสาธิตการทำงาน




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)    




  • เอกสารรับรองผลการศึกษาตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารรับรองการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบควบคุมคุณภาพและบริหารคุณภาพ หลักการปฏิบัติที่ดีในการประกอบอาหาร (GMP) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) การใช้เครื่องมือทดสอบ เป็นต้น    

  • เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน    




  • การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ    

  • การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน ต้องมีสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน    

  • เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้    

  • ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำแฟ้มสะสมผลงานหรือแฟ้มรวบรวมประวัติการทำงานใช้เพื่อประกอบเป็นหลักฐานที่อ้างอิงได้ระหว่างการสอบสัมภาษณ์




  (ง) วิธีการประเมิน    




  • การสอบข้อเขียน    

  • การสัมภาษณ์    

  • แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. การวางแผนและควบคุมการผลิต หมายถึง เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรด้านต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินการผลิต ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ รวมทั้งกำหนดการ โดยให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำหรือต้นทุนต่ำที่สุด




2. ทรัพยากรการผลิต หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ผู้ผลิตนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือเรียกว่า ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดินและทรัพยากร ทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน และผู้ประกอบการ




3. กำลังการผลิต หมายถึง อัตราสูงสุดที่ระบบการผลิตสามารถผลิตได้เต็มที่ในช่วงเวลาหนึ่งของการดำเนินงาน




4. เวลามาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง เวลาที่ใช้ในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานต่อภารกิจใดภารกิจหนึ่ง โดยเป็นเวลาทั้งหมดที่งานนั้นควรจะแล้วเสร็จโดยการทำงานมาตรฐาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติของการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท โดยใช้วิธีการสอบข้อเขียน และ การสัมภาษณ์ และ แฟ้มสะสมผลงาน ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



ยินดีต้อนรับ