หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-COM-5-103ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5.1 ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์




  • ISCO        1219   ผู้จัดการอาคาร

  • ISIC         K7020 ฝ่ายบริหารอาคาร



5.2 ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินในอาคารเพื่อการพาณิชย์




  • ISCO        1211   ผู้จัดการด้านการเงิน

  • ISIC         K7412 การตรวจสอบบัญชีและการทำบัญชี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยความรู้และทักษะเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงด้านการเงินและการลงทุน การประเมินการคุ้มค่าของการใช้ทรัพย์สิน และการวางแผนบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงินสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ รวมทั้งการกำกับดูแลให้เป็นไปตามงบประมาณ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคคลในกลุ่มวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงินสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่น ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินในอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ กฎหมายการเงิน เช่น กฎหมายเงินตรา กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝาก กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10607.01 ประเมินความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุน 1) ระบุความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุน 10607.01.01 85240
10607.01 ประเมินความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุน 2) วิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุน 10607.01.02 85241
10607.01 ประเมินความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุน 3) ดำเนินมาตรการในการลดความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุน 10607.01.03 85242
10607.02 ประเมินความคุ้มค่าและประสิทธิภาพการใช้ทรัพย์สิน 1) รวบรวมข้อมูลการการใช้ทรัพย์สินจากฝ่ายต่างๆ 10607.02.01 85243
10607.02 ประเมินความคุ้มค่าและประสิทธิภาพการใช้ทรัพย์สิน 2) เปรียบเทียบและวิเคราะห์การใช้ทรัพย์สิน 10607.02.02 85244
10607.02 ประเมินความคุ้มค่าและประสิทธิภาพการใช้ทรัพย์สิน 3) คำนวณความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการใช้ทรัพย์สิน 10607.02.03 85245
10607.03 วางแผนบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน 1) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนบริหารจัดการทรัพย์สิน 10607.03.01 85246
10607.03 วางแผนบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน 2) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนบริหารจัดการการเงิน 10607.03.02 85247
10607.03 วางแผนบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน 3) จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพย์สิน 10607.03.03 85248
10607.03 วางแผนบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน 4) จัดทำแผนบริหารจัดการการเงิน 10607.03.04 85249
10607.03 วางแผนบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน 5) นำเสนอแผนการบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงินให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบรับรอง อนุมัติ 10607.03.05 85250
10607.03 วางแผนบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน 6) ตรวจสอบแผนการบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงิน 10607.03.06 85251

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะด้านการเป็นผู้นำ

  • ทักษะด้านการวางแผน

  • ทักษะด้านการบริหารและจัดการ

  • ทักษะด้านการวิเคราะห์

  • ทักษะด้านการสื่อสาร

  • ทักษะด้านการตรวจสอบและควบคุม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • มาตรฐานและวิธีปฎิบัติสำหรับการตรวจสอบภายใน

  • ภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์

  • งบการเงิน

  • งบประมาณ

  • การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและการลงทุน

  • แหล่งเงินทุนสำหรับโครงการจากตลาดเงินและตลาดทุน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ก. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

  • ผลการทดสอบสัมภาษณ์/สอบปฏิบัติ



ข. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

  • ผลการสอบข้อเขียน

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับบัญชีการเงิน หรือ การเงิน และงบประมาณ

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหรือการลงทุน

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับตลาดเงินหรือตลาดทุน

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิต/ชั่วโมงจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับการวางแผน



ค. คำแนะนำในการประเมิน




  • เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



ง. วิธีการประเมิน




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย

  • การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ก. คำแนะนำ



ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหรือการลงทุน การบริหารจัดการทรัพย์สินและการเงินสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ แหล่งเงินทุนจากตลาดเงินและตลาดทุน การจัดทำงบประมาณและการกำกับดูแลการใช้งบประมาณ



ข. คำอธิบายรายละเอียด   




  • ความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุน หมายถึง ความไม่แน่นอนของผลลัพธ์ในอนาคต อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมทางการเงินและการลงทุนของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในองค์กรที่จะส่งผลกระทบทางลบต่อมูลค่าของกิจการ

  • วิธีการในการลดความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุน หมายถึง วิธีการลดความไม่แน่นอนของผลลัพธ์ในอนาคตอันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมทางการเงินและการลงทุนของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในองค์กรที่จะส่งผลกระทบทางลบต่อมูลค่าของกิจการ

  • ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่กิจการถือครองซึ่งมีมูลค่าเป็นเงิน

  • การเงิน หมายถึง  การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และการบริหารเงินของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธุรกิจได้รับผลประโยชน์สูงสุด (To maximize the value of the firm)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัยและการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ