หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเงินสดย่อย

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-COM-3-095ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเงินสดย่อย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5.1 ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินในอาคารเพื่อการพาณิชย์




  • ISCO    1211   ผู้จัดการด้านการเงิน

  • ISIC      K7412 การตรวจสอบบัญชีและการทำบัญชี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยทักษะและความรู้ในการจัดการเงินสดย่อย เช่น การรักษาเงินสดย่อย การจ่ายเงินสดย่อย การบันทึกและจัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินสดย่อย การเบิกชดเชยเงินสดย่อย เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคคลในกลุ่มวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเงินสดย่อยสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่น ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินในอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10602.01 รู้เกี่ยวกับรายการค่าบริการและค่าใช้จ่ายในการบริหารอาคาร 1) ระบุรายการค่าบริการและรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเงินสดย่อย 10602.01.01 85198
10602.01 รู้เกี่ยวกับรายการค่าบริการและค่าใช้จ่ายในการบริหารอาคาร 2) อธิบายรายละเอียดของค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเงินสดย่อย 10602.01.02 85199
10602.01 รู้เกี่ยวกับรายการค่าบริการและค่าใช้จ่ายในการบริหารอาคาร 3) อธิบายข้อกำหนดและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การจัดการเงินสดย่อย 10602.01.03 85200
10602.02 ดูแลการรับและจ่ายเงินสดย่อยตามข้อกำหนด 1) อธิบายขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการรับและจ่ายเงินสดย่อย 10602.02.01 85201
10602.02 ดูแลการรับและจ่ายเงินสดย่อยตามข้อกำหนด 2) จัดทำเอกสารเกี่ยวกับรายการรับและจ่ายเงินสดย่อยตามข้อกำหนด 10602.02.02 85202
10602.02 ดูแลการรับและจ่ายเงินสดย่อยตามข้อกำหนด 3) เบิกและนำส่งเงินสดย่อยตามข้อกำหนด 10602.02.03 85203

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการบันทึกอย่างเป็นระบบ

  • ทักษะด้านการจัดการการเงินเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เรื่องการจัดการเงินสดย่อย

  • ความรู้เกี่ยวกับรายการค่าบริการและอัตราค่าบริการต่างๆที่ต้องจัดเก็บสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์

  • ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าบริการสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

  • ผลการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเงินสดย่อย สำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนและวิธีปฎิบัติในการรับและจ่ายเงินสดย่อย การเบิกและนำส่งเงินสดย่อย เอกสารที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการบันทึก



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

             - เงินสดย่อย หมายถึง เงินสดจำนวนหนึ่งที่เบิกจากธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย)  เพื่อจะได้มีไว้ใช้จ่ายสำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็คหรือโอนเข้าบัญชี



               - ค่าบริการ หมายถึง ค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้เช่าหรือผู้ใช้อาคารเป็นครั้งๆที่ผู้เช่าหรือผู้ใช้อาคารมาใช้บริการ เช่น ค่าจอดรถ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ฯลฯ



               - เอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการเงินสดย่อย ได้แก่ ใบสำคัญจ่าย ใบเบิกเงินสดย่อย ใบสรุปการเบิกเงินสดย่อย เอกสารประกอบ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สำเนาใบกำกับภาษี บิลเงินสด สำเนาบัตรประชาชน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  • การสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบปรนัย    



ยินดีต้อนรับ