หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-COM-5-064ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

  •  



1.ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์




  • ISCO       1219   ผู้จัดการอาคาร

  • ISIC        K7020 ฝ่ายบริหารอาคาร       



2. ผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในอาคารเพื่อการพาณิชย์




  • ISCO       1349   ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย

  • ISIC        K7411 กิจกรรมด้านกฎหมาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบด้วยการจัดการข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเช่น เจ้าของโครงการและผู้เช่า เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์ ผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10701.01 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน 1) ติดต่อผู้ประสานงานของคู่กรณีแต่ละฝ่าย 10701.01.01 85252
10701.01 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน 2) ระบุข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้พร้อมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 10701.01.02 85253
10701.01 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน 3) กำหนดแนวทางการจัดการข้อพิพาท 10701.01.03 85254
10701.01 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน 4) ดำเนินการจัดการข้อพิพาทตามแนวทางที่กำหนดและสอดคล้องกับข้อกฎหมาย 10701.01.04 85255
10701.02 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ 1) ระบุข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้พร้อมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 10701.02.01 85256
10701.02 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ 2) กำหนดแนวทางการจัดการข้อพิพาท 10701.02.02 85257
10701.02 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ 3) ระบุขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ การฟ้องศาลฎีกาและศาลปกครองได้ 10701.02.03 85258
10701.02 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ 4) ติดต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติที่ภาครัฐกำหนด 10701.02.04 85259

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะด้านการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญา

  • ทักษะในการสื่อสารทั้งการเขียนและการพูดให้เข้ากับสถานการณ์ จุดประสงค์และกับบุคคลที่แตกต่างกัน

  • ทักษะในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

  • ทักษะในการจัดการงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • ทักษะในการสืบค้นความจริง และวินิจฉัยเหตุการต่างๆด้วยความเป็นกลางและไม่ขัดต่อจรรยาบรรณ

  • ทักษะด้านจิตวิทยามวลชน เช่น การไกล่เกลี่ยการประนีประนอม เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพ

  • ความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้เรื่องสัญญาระหว่างเอกชนกับรัฐ และเอกชนกับเอกชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



ก. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

  • หนังสือชมเชย โล่ประกาศเกียรติคุณ

  • หนังสือรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  • ผลการทดสอบสัมภาษณ์/สอบปฏิบัติ



ข. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สิน



ค. คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง




  1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

  2. ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ

  3. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

  4. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย


15. ขอบเขต (Range Statement)

  ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการติดต่อประสานงานและดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อพิพาทที่เกิดขึ้น




  • คำแนะนำ



ผู้ทดสอบต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการบริหารจัดการทรัพย์สินในความรับผิดชอบของตนเองโดยไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง




  • คำอธิบายรายละเอียด



1.กฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องได้แก่




  • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

  • พระราชบัญญัติ การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542

  • พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

  • พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

  • จรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  • ประมวลกฎหมายอาญา



ทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบ




  • ทรัพย์สินในพื้นที่เช่า

  • ทรัพย์สินส่วนกลาง



2. การจัดการข้อพิพาท หมายถึง การบริหารจัดการคลี่คลายปัญหาเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น



3. ข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน หมายถึง ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานเอกชน เช่น เจ้าของอาคารและผู้เช่า เป็นต้น



4. ข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ หมายถึง ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานของรัฐ เช่น เจ้าของอาคาร และสำนักงานที่ดิน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย



ยินดีต้อนรับ