หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องมือวัดละเอียด

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MPT-2-024ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องมือวัดละเอียด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะ ความรู้ และความสามารถในการปฏิบัติงานเครื่องมือวัดละเอียด (เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ,ไมโครมิเตอร์วัดนอก ,ไมโครมิเตอร์วัดใน ,ไมโครมิเตอร์วัดลึก ,เกจวัดลึก ,บล็อกเกจ ,Feeler Gauge ,นาฬิกาวัด) สามารถจำแนกประเภท วิธีการใช้งาน ทั้งยังสามารถเตรียมงาน ตั้งศูนย์เครื่องมือวัดละเอียด ตลอดจนสามารถบำรุงรักษา และจดบันทึกผลการปฏิบัติงานเครื่องมือวัดละเอียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102C04.1 เตรียมงานเครื่องมือวัดละเอียด 1.1 จำแนกประเภทและวิธีการใช้งานของเครื่องมือวัดละเอียด 102C04.1.01 4577
102C04.1 เตรียมงานเครื่องมือวัดละเอียด 1.2 เตรียมเครื่องมือวัดละเอียด 102C04.1.02 4578
102C04.1 เตรียมงานเครื่องมือวัดละเอียด 1.3 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องมือวัดละเอียด 102C04.1.03 4579
102C04.2 ดำเนินการวัดละเอียด 2.1 ตั้งศูนย์ของเครื่องมือวัดละเอียดให้ได้ค่าตามมาตรฐานตรวจสอบชิ้นงานที่จะทำการวัด 102C04.2.01 4580
102C04.2 ดำเนินการวัดละเอียด 2.2 ดำเนินการวัด โดยใช้เครื่องมือวัดละเอียด 102C04.2.02 4581
102C04.2 ดำเนินการวัดละเอียด 2.3 จดบันทึกค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดละเอียด 102C04.2.03 4582
102C04.3 บำรุงรักษา จัดเก็บเครื่องมือวัดละเอียด 3.1 ทำความสะอาดเครื่องมือวัดละเอียด 102C04.3.01 4583
102C04.3 บำรุงรักษา จัดเก็บเครื่องมือวัดละเอียด 3.2 เก็บเครื่องมือวัดละเอียดในพื้นที่ที่กำหนด 102C04.3.02 4584
102C04.4 บันทึกผลการปฏิบัติงานเครื่องมือวัดละเอียด 4.1 บันทึกการปฏิบัติงานเครื่องมือวัดละเอียด 102C04.4.01 4585
102C04.4 บันทึกผลการปฏิบัติงานเครื่องมือวัดละเอียด 4.2 รายงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงข้อบกพร่องของชิ้นส่วนที่วัด 102C04.4.02 4586

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้อุปกรณ์และเครื่องมือวัดละเอียดต่าง ๆ เช่น เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (Vernier Calipers) ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เกจวัดลึก (Depth gauge) บล็อกเกจ (Block gauge) เป็นต้น

2. สามารถปรับตั้งศูนย์ของเครื่องมือวัดละเอียดให้ได้ค่าตามมาตรฐานสากล

3. สามารถเตรียมเครื่องมือวัดละเอียด

4. สามารถวัดขนาด โดยใช้เครื่องมือวัดละเอียด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือวัดละเอียดต่าง ๆ เช่น เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (Vernier Calipers) ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เกจวัดลึก (Depth gauge)  บล็อกเกจ (Block gauge) เป็นต้น

2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการวัดเบื้องต้น

3. ความรู้ด้านมาตรฐานของการวัด

4. ความรู้เกี่ยวกับการวัดความขนาน วัดการเยื้องศูนย์ วัดความกลม/ร่วมศูนย์

5. ความรู้เกี่ยวกับความผิดพลาดและความไม่แน่นอนของการวัด

6. ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดละเอียด

7. ความรู้เกี่ยวกับประเภทและวิธีการใช้งานของเครื่องมือวัดละเอียด



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) 

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. แสดงการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือวัดละเอียดต่าง ๆ เช่น เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (Vernier Calipers) ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เกจวัดลึก (Depth gauge) บล็อกเกจ (Block gauge) เป็นต้น

      2. แสดงการปรับตั้งศูนย์ของเครื่องมือวัดละเอียดให้ได้ค่าตามมาตรฐานสากล

      3. แสดงการเตรียมเครื่องมือวัดละเอียด

      4. แสดงการวัด โดยใช้เครื่องมือวัดละเอียด

      5. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. อธิบายหลักการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือวัดละเอียดประเภทต่าง ๆ 

      2. อธิบายหลักการวัดเบื้องต้น

      3. อธิบายหรือระบุมาตรฐานของการวัด

      4. อธิบายเกี่ยวกับความผิดพลาดและความไม่แน่นอนของการวัด

      5. อธิบายขั้นตอนและวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดละเอียด

      6. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์ 

    (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดละเอียด โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

       1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

       2. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
   1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือวัดละเอียด
   2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบความพร้อมใช้งานเครื่องมือวัดละเอียด 
   3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการจดบันทึกค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดละเอียด
   4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเลือกใช้เครื่องมือวัดละเอียดได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
   1. การปฏิบัติด้วยเครื่องมือวัดที่มีสเกลแบบพื้นฐานและตัวเลข
   2. เครื่องมือวัดละเอียด  หมายถึง เครื่องมือสำหรับใช้ในการวัดเพื่อบ่งชี้บอกระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน เช่น เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (Vernier Calipers) ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เกจวัดลึก (Depth gauge) บล็อกเกจ (Block gauge) เป็นต้น

 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

   เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

   1. แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

   2. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์




ยินดีต้อนรับ