หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการบริหารจัดการทรัพย์สินตามหน้าที่นิติบุคคล

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-REE-6-069ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการบริหารจัดการทรัพย์สินตามหน้าที่นิติบุคคล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

  • ผู้จัดการอาคารที่อยู่อาศัย  ระดับ 4

  • ผู้จัดการนิติบุคคลที่อยู่อาศัยระดับ 5, 6 และ 7



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบด้วยทักษะและความรู้ในการบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้จัดการอาคารที่อยู่อาศัย  ผู้จัดการนิติบุคคลที่อยู่อาศัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ อาคารชุด พ.ร.บ จัดสรร ระเบียบข้อบังคับการอยู่อาศัย มติที่ประชุมที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A3031 สามารถบริหารจัดการด้านซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้ได้มาตรฐาน 1) ระบุขั้นตอนวิธีการตรวจสอบสาธารณูปโภคตามมาตรฐานวิชาชีพกำหนด A3031.01 20332
A3031 สามารถบริหารจัดการด้านซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้ได้มาตรฐาน 2) ระบุเครื่องมือใช้ตรวจสอบและประเมินสาธารณูปโภคได้ A3031.02 20333
A3031 สามารถบริหารจัดการด้านซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้ได้มาตรฐาน 3) ประเมินการซ่อมแซมและบำรุงรักษา A3031.03 20334
A3031 สามารถบริหารจัดการด้านซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้ได้มาตรฐาน 4) กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสาธารณูปโภค A3031.04 20335
A3031 สามารถบริหารจัดการด้านซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้ได้มาตรฐาน 5) คัดเลือกบริษัทหรือผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสม เพื่อตรวจสอบ และประเมินสาธารณูปโภคตามความจำเป็น A3031.05 20336
A3032 ดำเนินงานวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานความปลอดภัยได้ 1) ระบุและจำแนกประเภทเหตุฉุกเฉินเพื่อวางแผนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ A3032.01 20337
A3032 ดำเนินงานวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานความปลอดภัยได้ 2) ระบุรายละเอียดคู่มือการปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน A3032.02 20338
A3032 ดำเนินงานวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานความปลอดภัยได้ 3) ระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนขั้นตอนการปฏิบัติการ A3032.03 20339
A3032 ดำเนินงานวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานความปลอดภัยได้ 4) ระบุพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดปลอดภัยเพื่อการรวมพลภายในหมู่บ้านและอาคารชุด A3032.04 20340
A3032 ดำเนินงานวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานความปลอดภัยได้ 5) กำหนดหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการสั่งงานควบคุมประสานงาน ติดตามสถานการณ์ และประเมินผลหลังเหตุการณ์ A3032.05 20341
A3032 ดำเนินงานวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานความปลอดภัยได้ 6) กำหนดแผนเผชิญเหตุแผนระงับเหตุ แผนบรรเทาทุกข์ และแผนฟื้นฟู A3032.06 20342
A3032 ดำเนินงานวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานความปลอดภัยได้ 7) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์รวมถึงกำหนดการซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์ A3032.07 20343
A3032 ดำเนินงานวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานความปลอดภัยได้ 8) กำหนดงบประมาณในการดำเนินงานและการฟื้นฟูเพื่อให้กลับสู่สภาพเดิม A3032.08 20344
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 1) ระบุนโยบายด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงานอย่างถูกต้อง A3033.01 20345
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 2) ระบุข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด A3033.02 20346
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 3) ระบุข้อดีและข้อเสียจากการไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบและมาตรการรักษาความปลอดภัยที่กำหนด A3033.03 20347
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 4) ระบุแนวทางหรือวิธีการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น A3033.04 20348
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 5) ระบุอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัย A3033.05 20349
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 6) ดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยให้สอดคล้องตามกฎหมายกำหนด A3033.06 20350
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 7) แจ้งพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและอาจเกิดอันตรายแก่ผู้บังคับบัญชาทราบโดยมีการตรวจสอบประจำวันอย่างใกล้ชิด A3033.07 20351
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 8) ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยแก่พนักงานอย่างถูกต้องเหมาะสม A3033.08 20352
A3033 ดำเนินงานวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัย 9) เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยเพื่อพัฒนาความรู้ A3033.09 20353
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 1) ระบุรายละเอียดการตรวจสอบของระบบป้องกันอัคคีภัยและภัยพิบัติได้ตามรอบระยะเวลาที่เหมาะสม A3034.02 20354
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 2) ระบุแผนการซ่อมบำรุงของระบบป้องกันอัคคีภัยและภัยพิบัติได้อย่างเหมาะสม A3034.04 20355
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 3) ระบุงบประมาณในการซ่อมบำรุงระบบอัคคีภัยและภัยพิบัติ A3034.06 20356
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 4) ระบุขั้นตอนของการสาธิตดับเพลิงและแผนการอพยพ A3034.08 20357
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 5) ระบุงบประมาณในการสาธิตดับเพลิงและแผนการอพยพ A3034.09 20358
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 6) ระบุงานที่พนักงานต้องทำในการบำรุงรักษาอุปกรณ์การป้องกันอัคคีภัย A3034.10 20359
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 7) ระบุแผนการฝึกอบรมพนักงานในการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์การป้องกันอัคคีภัย A3034.11 20360
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 8) ระบุลักษณะของกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเป็นต้องมี A3034.01 20361
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 9) ระบุภัยพิบัติที่ต้องพึงระวัง A3034.03 20362
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 10) ระบุการจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติแบบต่างๆ A3034.05 20363
A3034 สามารถบริหารและวางแผนงานด้านการบำรุงรักษา ระบบป้องกันอัคคีภัย และภัยพิบัติ 11) ระบุงบประมาณที่ต้องใช้ในการเตรียมแผนป้องกันภัยพิบัติ A3034.07 20364

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการสำรวจ และทำรหัสทรัพย์สิน

  • ทักษะการวางแผนล่วงหน้า เช่น การบำรุงรักษาเครื่องจักร การรักษาสภาพทรัพย์สิน

  • ทักษะในการควบคุมการดำเนินการ รวมไปถึงการติดตามการทำงานตามแผนงาน

  • ทักษะการประเมินผล ประสิทธิภาพ และรายงานผล

  • ทักษะในด้านการวางแผนงบประมาณการใช้จ่าย

  • ทักษะการบริหารพัสดุ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้ทางการประมาณการสำรองการซ่อมบำรุงรักษา

  • ความรู้เรื่องการบริหารพัสดุ

  • ความรู้เรื่องระบบของอาคาร การใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

  • ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์พื้นฐานทางด้านโปรแกรมบำรุงรักษาอาคาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

  • หนังสือรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  • แผนงานดำเนินการบริหารจัดการด้านซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่เคยทำ

  • ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการบริหารจัดการด้านซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ

  • ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

  • ผลทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง




  1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

  2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

  3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน




  • การสอบข้อเขียน

  • การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



         ผู้ทดสอบสามารถดูแลและควบคุมกระบวนการบำรุงรักษางานระบบของอาคารให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ไม่ขัดต่อกฎหมายและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมสำหรับการใช้งาน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. กฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบการปฏิบัติ




  • พ.ร.บ ควบคุมอาคาร

  • มาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ม.อ.ก

  • กฎหมายอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้อง




  1. ทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้างที่รับผิดชอบ




  • ทรัพย์สินของเจ้าของร่วม

  • ทรัพย์สินส่วนกลาง




  1.  แผนงาน




  •  แผนงานการบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง




  1. ฐานข้อมูล




  • ฐานข้อมูลในการบำรุงรักษา

  • ฐานข้อมูลบัญชีทรัพย์สินของอาคาร

  • ฐานข้อมูลพัสดุ



     5. งานระบบ




  • สุขาภิบาล

  • ไฟฟ้า

  • สื่อสาร

  • ลิฟท์

  • ที่จอดรถ

  • ระบบความปลอดภัย

  • ระบบปรับอากาศ

  • กำจัดขยะ

  • ระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



18.1  สำหรับผู้จัดการอาคารที่อยู่อาศัย ระดับ 4




  • ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบปรนัย

  • ทดสอบโดยการสอบสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้



18.2 สำหรับผู้จัดการนิติบุคคลที่อยู่อาศัย ระดับ 5 ,6




  • ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบปรนัย

  • ทดสอบโดยใช้การสอบสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้



18.3 สำหรับผู้จัดการนิติบุคคลที่อยู่อาศัยระดับ 7




  • ทดสอบโดยใช้การสอบสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้



 



ยินดีต้อนรับ