หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาตนเองและผู้ร่วมงานอย่างต่อเนื่อง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-4-052ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาตนเองและผู้ร่วมงานอย่างต่อเนื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถวางแผนและออกแบบการพัฒนาตนเองและพัฒนาผู้ร่วมงาน พร้อมทั้งสนับสนุนตนเองให้เกิดการเรียนรู้และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20704.01 วางแผนพัฒนาตนเอง 1.ประเมินหรือปรึกษาหารือผู้อื่นถึงจุดด้อยของผู้ดูแลเด็กในระดับต่างๆในเรื่องทักษะความรู้ เจตคติต่างๆ 20704.01.01 19947
20704.01 วางแผนพัฒนาตนเอง 2.วางแผนและทำกิจกรรมด้วยทักษะหลักที่ใช้ในการพัฒนาตนเอง 20704.01.02 19948
20704.02 สนับสนุนผู้ร่วมงานให้เกิดการเรียนรู้ 1.หมุนเวียนหน้าที่ความรับผิดชอบการทำงาน 20704.02.01 19949
20704.02 สนับสนุนผู้ร่วมงานให้เกิดการเรียนรู้ 2.ให้ทำงานตามความถัดของแต่ละบุคคลและมีการฝึกฝนงานที่ไม่มีความถนัด 20704.02.02 19950

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

หน่อยสมรรถนะ

10701 ปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่การดูแลเด็ก

10702 ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของการดูแลเด็ก

10703 ปฏิบัติตามหลักการควบคุมจิตใจตนเองและการแสดงออกต่อเด็ก



13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะการกำหนดจุดประสงค์เพื่อวางเป้าหมายในการทำงานตนเองและผู้ร่วมงาน

2. ทักษะการติดต่อสื่อสารเพื่อติดต่อกับผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง

3. ทักษะการวางแผนเพื่อวางแผนขั้นตอนในการปฏิบัติงาน

4. ทักษะการจัดการเวลาเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเวลาที่กำหนด

5. ทักษะการเรียนรู้

6. ทักษะการประเมินตนเอง


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในบทบาทการทำงาน

2. ความรู้ในวิธีการพัฒนาการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ความรู้ในการพัฒนาวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ความรู้ในแนวทางการปฏิบัติงานสู่ความสำเร็จ

5. ความรู้ในหลักการเทคนิคการสื่อสาร

6. ความรู้ในบทบาทความรับผิดชอบ

7. ความรู้ในการทำงานเป็นทีม



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

       2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

       3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

       4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือผลการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง

2. ผลการทดสอบความรู้

3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

         ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

     (ง) วิธีการประเมิน

        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ

         ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ทักษะหลักที่ใช้ในการพัฒนาตนเอง

   - การกำหนดจุดประสงค์

   - การติดต่อสื่อสาร

   - การวางแผน

   - การจัดการเวลา

   - การประเมินผลงาน

   - การทบทวน

   - การเรียนรู้

   - การรับฟังผลประเมินกลับ

   - การประเมินตนเอง

         2. หมุนเวียนหน้าที่ หมายถึง การสลับเปลี่ยนหน้าที่ตนเองเพื่อการฝึกฝนและดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน




ยินดีต้อนรับ