หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ วางแผน และออกแบบพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-4-033ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ วางแผน และออกแบบพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นผู้มีความรู้และเข้าใจ เทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถวางแผนและออกแบบกิจกรรมด้านจิตใจ-อารมณ์ของเด็ก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20304.01 วางแผนและออกแบบกิจกรรมพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์ 1. วางแผนการพัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์ของเด็ก ตามช่วงวัย 20304.01.01 19798
20304.01 วางแผนและออกแบบกิจกรรมพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์ 2. วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาในการส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์ 20304.01.02 19799
20304.01 วางแผนและออกแบบกิจกรรมพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์ 3. ให้คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์เด็กแก่ผู้ดูแลเด็กในระดับที่ต่ำกว่า 20304.01.03 19800
20304.02 เตรียมแผนกิจกรรมพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์ 1. วางแผนกิจกรรมในการพัฒนาด้านจิตใจ-อารมณ์ของเด็ก ตามช่วงวัย 20304.02.01 19801
20304.02 เตรียมแผนกิจกรรมพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์ 2. วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์ของเด็ก 20304.02.02 19802
20304.02 เตรียมแผนกิจกรรมพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์ 3. ให้คำแนะนำในการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์ของเด็กแก่ผู้ดูแลเด็กในระดับที่ต่ำกว่า 20304.02.03 19803

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

หน่วยสมรรถนะ

20301 ส่งเสริมด้านนิสัย พฤติกรรม และความถนัดของเด็ก

20302 ควบคุมกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์

20303 เฝ้าระวัง และรายงานผลพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์



13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการประเมินด้านอารมณ์ของเด็ก

2. มีทักษะในการวางแผนพัฒนาด้านอารมณ์ของเด็ก


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

         2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

         3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

         4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

 1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือผลการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง

 2. ผลการทดสอบความรู้

 3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

 4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

     (ง) วิธีการประเมิน

          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

  2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

              ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

             1. พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์เด็ก เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจเด็ก จะแสดงอารมณ์ ออกมาตามประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมของแต่ละคน

             2. วางแผนกิจกรรมด้านอารมณ์ของเด็ก หมายถึง วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาในการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ โดยให้คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์แก่ผู้ดูแลเด็กในระดับที่ต่ำกว่า และวางแผนการพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก

             3. ผู้ดูแลเด็ก หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ดูแล เตรียมความพร้อมพัฒนาเด็กแบบองค์รวม



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้ 

2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน




ยินดีต้อนรับ