หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตด้วยความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-EHC-4-009ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตด้วยความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องเข้าใจหลักการปฏิบัติด้านความปลอดภัยสำหรับซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7421 ช่างเครื่องและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
7421 ช่างเครื่องและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
SM181 อธิบายหลักความปลอดภัยในการทำงานเบื้องต้น 1 ระบุการป้องกันอันตรายอันตรายจากการปฏิบัติงาน SM181.01 141350
SM181 อธิบายหลักความปลอดภัยในการทำงานเบื้องต้น 2 ระบุสภาพแวดล้อมในการทำงาน SM181.02 141351
SM181 อธิบายหลักความปลอดภัยในการทำงานเบื้องต้น 3 ระบุการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล SM181.03 141352
SM182 อธิบายอันตรายที่เกิดจากการซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต 1 ระบุอันตรายจากที่เกิดเครื่องมือซ่อม SM182.01 141353
SM182 อธิบายอันตรายที่เกิดจากการซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต 2 ระบุอันตรายที่เกิดจากแรงดันและกระแสไฟฟ้า SM182.02 141354
SM182 อธิบายอันตรายที่เกิดจากการซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต 3 ระบุอันตรายที่เกิดจากการเครื่องสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต SM182.03 141355

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

– ทักษะการใช้งานสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

– ทักษะการถอดประกอบสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

– ทักษะการใช้เครื่องมือซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

– ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆของสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

– ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้น

– ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

– ทักษะการใช้งานสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

– ทักษะการถอดประกอบสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

– ทักษะการใช้เครื่องมือซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

(ข) ความต้องการด้านความรู้

– ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้น

– ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆของสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

– ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

– มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด

– มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงาน สาขาการซ่อมสมาร์ตโฟน หลักสูตรการซ่อมโทรศัพท์มือถือ หลักสูตรการฝึกอาชีพการซ่อมมือถือ เป็นต้น

(ค) คำแนะนำในการประเมิน หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

– วิธีการปฏิบัติงาน วิธีการประเมิน

– พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

– พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

มีทักษะความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

(ก) คำแนะนำ

– ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้น

– ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

– ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้น เช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกัน สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ การระมัดและการป้องกัน อุปนิสันในการทำงานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เป็นต้น

– ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตได้ เช่น อันตรายจากแรงดันไฟฟ้า อันตรายจากแบตเตอรี่ อันตรายจากการใช้เครื่องมือช่าง อันตรายจากการใช้น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ อันตรายจากเศษกระจกจอ เป็นต้น

2) สภาวะในการทำงาน

– ดำเนินการโดยคำนึงแสงสว่างที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน

– ดำเนินการโดยคำนึงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน

– ดำเนินการโดยคำนึงถึงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

– ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ