หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้อุปกรณ์ป้องกันสิ่งปนเปื้อนระดับไมครอน

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-EEI-3-028ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้อุปกรณ์ป้องกันสิ่งปนเปื้อนระดับไมครอน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักควบคุมป้องกันไฟฟ้าสถิตและสิ่งปนเปื้อน
รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่


1 7421 ช่างเครื่องและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่อธิบายถึงความรู้และทักษะที่จำเป็นของอาชีพผู้ปฏิบัติงานในงานป้องกันไฟฟ้าสถิตและสิ่งปนเปื้อนระดับไมครอนทีทำงานในงานป้องกันไฟฟ้าสถิตและสิ่งปนเปื้อนระดับไมครอนให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
053201 เข้าใจมาตรฐานและข้อกำหนดของการใช้อุปกรณ์ป้องกันสิ่งปนเปื้อนระดับไมครอน 1.1 อธิบายมาตรฐานและข้อกำหนดของการใช้อุปกรณ์ป้องกันสิ่งปนเปื้อนระดับไมครอนที่สำคัญ 053201.01 141261
053202 ใช้งานระบบป้องกันสิ่งปนเปื้อนระดับไมครอน 2.1 ใช้งานระบบป้องกันสิ่งปนเปื้อนระดับไมครอนที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ 053202.01 141262

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านความรู้
•    ความรู้ข้อควรปฏิบัติแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิต
•    ความรู้ข้อควรปฏิบัติแนะนำเกี่ยวกับห้องคลีนรูม   
•    ความรู้มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
(ข) ความต้องการด้านทักษะ   
•    ทักษะการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตและสิ่งปนเปื้อนเบื้องต้น   
•    ทักษะการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยในการทำงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

•    การทำงานตามข้อกำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

•    ระบบมาตรฐานคุณภาพในการป้องกันไฟฟ้าสถิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
•    หนังสือรับรองการทำงาน หรือ   
•    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ   
•    บันทึกการปฏิบัติงาน   
•    มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)   
•    หลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ (Statistical Process Control, SPC) การออกแบบระบบกําจัดฝุ่นและการระบายอากาศในงานอุตสาหกรรม ระดับพื้นฐาน ระบบมาตรฐานคุณภาพในการป้องกันไฟฟ้าสถิตเบื้องต้น เป็นต้น   
•    มีอายุหลักฐานเอกสารความรู้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
N/A


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
อาชีพผู้ปฏิบัติงานระบบควบคุมป้องกันไฟฟ้าสถิตและสิ่งปนเปื้อน เป็นตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น อุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจร อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หรืออุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ซึ่งจะทำงานออกแบบวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในห้องสะอาด และออกแบบระบบไฟฟ้าสถิต อาทิเช่น ระบบกราวด์ หรือระบบพัดลมสลายประจุ (Air Ionizer) หรือระบบ ESD monitoring ผ่านระบบ online-real time การประเมินเครื่องจักรก่อนใช้งานในห้องคลีนรูม (Cleanroom) และอื่นๆ
อาชีพนี้ยังสามารถทำงานด้านความปลอดภัยหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าสถิต หรือหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าสถิตและสิ่งปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานพ่นสี โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โรงงานพ่นสีรถยนต์ที่มีมาตรฐานสูง การควบคุมสถานีบรรจุสารระเหยไวไฟสูง อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรืออื่นๆ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

•    ข้อสอบข้อเขียนและ
•    หรือข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ