หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-EEI-5-014ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
อาชีพนักพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Product) เพื่อรองรับ IoT (Internet of things)
รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่


1 3113 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
1 3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
1 3118 ช่างเขียนแบบ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถบริหารและจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
012201 บริหารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.1 สามารถระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย 012201.01 141094
012201 บริหารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.2 ประเมินผลกระทบของภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย 012201.02 141095
012201 บริหารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.3 การกำหนดเป้าหมายการบริหารความเสี่ยง 012201.03 141096
012201 บริหารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.4 บริหารความเสี่ยง/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 012201.04 141097
012201 บริหารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.5 คาดการณ์ความเสี่ยง/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหายของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะและมาตรการป้องกันความเสี่ยง 012201.05 141098
012201 บริหารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.6 ทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 012201.06 141099
012202 จัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 2.1 จัดการความเสี่ยง/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง 012202.01 141100
012202 จัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 2.2 การประเมินผลกระทบของภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย 012202.02 141101
012202 จัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 2.3 ทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย 012202.03 141102

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
•    ทักษะการแก้ปัญหา   
•    ทักษะการสื่อสาร
(ข)ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น   
•    ความรู้การบริหารและจัดการความเสี่ยง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

•    ทักษะบริหารและจัดการความเสี่ยง   
•    การนำเสนองาน   
•    ทักษะการสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

•    ความรู้ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    ความรู้การบริหารและจัดการความเสี่ยง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)   
•    มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ   
•    มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)   
•    ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา หรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์จุดอ่อน/แข็งและการวางแผนกลยุทธ์ กลยุทธ์การบริหารโรงงานแบบมืออาชีพ กลยุทธ์การบริหารความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง เทคโนโลยีการจัดการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ISO และพื้นฐานการบริหารงาน เป็นต้น   
•    มีอายุหลักฐานเอกสารความรู้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
หลักฐานที่ต้่องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง   
•    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง   
•    วิธีการปฏิบัติงาน   
•    มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
วิธีการประเมิน   
•    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน   
•    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน   
•    ระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย   
•    ประเมินผลกระทบของภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย   
•    การกำหนดเป้าหมายการบริหารความเสี่ยง   
•    บริหารความเสี่ยง/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ   
•    คาดการณ์ความเสี่ยง/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหายของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ และมาตรการป้องกันความเสี่ยง   
•    ทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ   
•    จัดการความเสี่ยง/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย อย่างต่อเนื่อง   
•    การประเมินผลกระทบของภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย   
•    จัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย
(ข) สภาวะในการทำงาน   
•    มาตรการป้องกันความเสี่ยงจากภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    มาตราการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ จากภัยภายใน และภายนอก รวมถึงภัยที่มาในรูปแบบออนไลน์
(ค) ข้อมูลและเอกสาร   
•    ศึกษากรณีศึกษาผลิตภัณฑ์อัจฉริยะอื่นๆ   
•    ข่าวเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงจากภัย/สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดผลิตภัณฑ์อัจฉริยะอื่นๆ
(ง) คำแนะนำ   
•    เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรในการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน   
•    ข้อสอบข้อเขียน   
•    การสัมภาษณ์   
•    แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ