หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบหาขีดจำกัดของต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-EEI-4-010ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบหาขีดจำกัดของต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Product) เพื่อรองรับ IoT (Internet of things)
รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่


1 2152 วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์
1 3113 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
1 3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
1 3118 ช่างเขียนแบบ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทดสอบทดสอบฟังก์ชันการทำงานของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะและทดสอบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะต่างๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
023301 ออกแบบและสร้างชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.1 จัดทำเช็คลิสต์ในการทดสอบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 023301.01 141065
023301 ออกแบบและสร้างชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.2 ออกแบบชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 023301.02 141066
023301 ออกแบบและสร้างชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.3 สร้างชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 023301.03 141067
023301 ออกแบบและสร้างชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.4 ติดตั้งเครื่องมือวัดผลชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 023301.04 141068
023301 ออกแบบและสร้างชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.5 จัดทำเอกสารสรุปขีดความสามารถของต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 023301.05 141069
023302 ทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง 2.1 จัดทำเช็คลิสต์ในการทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง 023302.01 141070
023302 ทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง 2.2 ออกแบบชุดทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้า 023302.02 141071
023302 ทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง 2.3 สร้างชุดทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง 023302.03 141072
023302 ทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง 2.4 ติดตั้งเครื่องมือวัดผลชุดทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง 023302.04 141073
023302 ทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง 2.5 จัดทำเอกสารสรุปขีดจำกัดของต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 023302.05 141074

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก)ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
•    ทักษะการทดสอบต้นแบบ
•    ทักษะการใช้เครื่องมือในการทดสอบ
•    ทักษะการออกแบบการทดสอบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
(ข)ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
•    ความรู้การเชื่อมต่อเครือข่าย
•    ความรู้การสร้างชุดทดสอบ
•    ความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่าย
•    ความรู้อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบเบื้องต้น
•    ความรู้เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบเบื้องต้น   
•    ความรู้เครื่องวัดที่ใช้ในการทดสอบเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

•    ทักษะการปรับแต่งค่าอุปกรณ์
•    ทักษะการออกแบบการทดสอบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    ทักษะการสร้างชุดทดสอบฮาร์ดแวร์    
•    ทักษะเชื่อมต่อของซอฟต์แวร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

•    ความรู้มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ IEC IEEE 802
•    ความรู้การสร้างชุดทดสอบการทำงานฮาร์ดแวร์
•    ความรู้การทดสอบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    ความรู้การสร้างระบบจำลอง
•    ความรู้อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
•    ความรู้เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ   
•    ความรู้เครื่องวัดที่ใช้ในการทดสอบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
•    มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
•    มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
•    ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา หรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น กลยุทธ์การบริหารโรงงานแบบมืออาชีพ กลยุทธ์การบริหารความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง เทคโนโลยีการจัดการ นวัตกรรมใหม่กับการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) เป็นต้น
•    มีอายุหลักฐานเอกสารความรู้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง
•    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
•    วิธีการปฏิบัติงาน
•    มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
วิธีการประเมิน
•    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน   
•    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน
•    ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
•    จัดทำเช็คลิสต์ในการทดสอบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    ออกแบบชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    สร้างชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    ติดตั้งเครื่องมือวัดผลชุดทดสอบต้นแบบเพื่อหาขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    จัดทำเอกสารสรุปขีดความสามารถของต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
•    จัดทำเช็คลิสต์ในการทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง
•    ออกแบบชุดทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง
•    สร้างชุดทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง
•    ติดตั้งเครื่องมือวัดผลชุดทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะแบบทำลายล้าง
•    จัดทำเอกสารสรุปขีดจำกัดของต้นแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ
(ข) สถานที่ทำงาน
•    ห้องปฏิบัติการ
(ค) สภาวะในการทำงาน
•    ปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้ห้องปฏิบัติการ (ห้องควบคุม Condition ต่างๆ อาทิ ความชื้น อุณหภูมิ)
•    จัดทำชุดทดสอบโดยคำนึงถึงมาตรฐาน IEC และ IEEE
•    ทดสอบค่า default ของต้นแบบ
•    หาขีดจำกัดของอุปกรณ์ในกรณี worst case
(ง) ข้อมูลและเอกสาร
•    แบบของต้นแบบ
•    Flowchart/Diagram ของต้นแบบ
(จ) คำแนะนำ
•    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนด และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
(ฉ) คำอธิบายรายละเอียด
•    ให้ความสำคัญกับข้อกำหนด และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง   
•    ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน   
•    ข้อสอบข้อเขียน
•    การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ