หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-EEI-3-004ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Product) เพื่อรองรับ IoT (Internet of things)
รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่


1 3113 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
1 3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
1 3513 ช่างเทคนิคด้านเครือข่ายและระบบคอมพิวเตอร์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถหาสาเหตุของปัญหา และแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะอธิบายวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์อัจฉริยะได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
032201 หาสาเหตุของปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.1 หาสาเหตุของปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 032201.01 141026
032201 หาสาเหตุของปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 1.2 อธิบายสาเหตุของปัญหา 032201.02 141027
032202 แก้ไขปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 2.1 วิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้น 032202.01 141028
032202 แก้ไขปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 2.2 แก้ไขปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ 032202.02 141029

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น   
•    ทักษะการติดตั้งผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ   
•    ทักษะการเชื่อมต่อเครือข่าย
(ข) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น   
•    ความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่าย   
•    ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งผลิตภัณฑ์   
•    ความรู้การติดตั้งซอฟต์แวร์ (ถ้ามี)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

•    ทักษะการการแก้ปัญหา
•    ทักษะการอธิบาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

•    ความรู้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ   
•    ความรู้ข้อมูลเชิงเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ   
•    ความรู้ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)   
•    มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ   
•    มีอายุหลักฐานการผ่านงานไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)   
•    ใบประกาศนียบัตร/บันทึกการผ่านการอบรม สัมมนา หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น กลยุทธ์การบริหารโรงงานแบบมืออาชีพ เทคโนโลยีการจัดการ นวัตกรรมใหม่กับการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) การทดสอบสายรับส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ Network และ Mobile Communication เป็นต้น   
•    มีอายุหลักฐานเอกสารความรู้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นสมัคร
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง   
•    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง   
•    วิธีการปฏิบัติงาน   
•    มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
วิธีการประเมิน   
•    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน   
•    พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขั้นตอน ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน   
•    หาสาเหตุของปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ   
•    อธิบายสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้ใช้/ลูกค้าได้   
•    อธิบายวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้น อาจเป็นการอธิบายทีละขั้นตอนให้ผู้ใช้/ลูกค้า ทำตามไปทีละขั้นตอนผ่านโทรศัพท์ หรือเข้าไปแก้ไขให้ที่หน้างานจริง   
•    แก้ไขปัญหาทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ อาจใช้การตรวจสอบด้วยการ monitoring ผ่านระบบ (ถ้ามี) หรือหน้างานจริง
(ข) สถานที่ทำงาน   
•    ภายในและ/หรือภายนอกโรงงาน อาคาร อาคารพาณิชย์ หรือที่พักอาศัย
(ค) สภาวะในการทำงาน   
•    ใช้ภาษา คำพูดที่สุภาพเหมาะสม   
•    ใช้ภาษากายได้อย่างเหมาะสม และสุภาพ   
•    แต่งกายด้วยชุดที่สุภาพ หรือยูนิฟอร์ม   
•    อธิบายเป็นขั้นเป็นตอน เข้าใจง่าย และผู้ใช้สามารถทำตามได้ (กรณีโทรศัพท์)
(ง) ข้อมูลและเอกสาร   
•    คู่มือการติดตั้ง   
•    ข้อกำหนดความปลอดภัย   
•    มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
(จ) คำแนะนำ   
•    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนด และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
(ฉ) คำอธิบายรายละเอียด   
•    รู้ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเชิงเทคนิคของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ   
•    รู้ข้อกำหนดและรายละเอียดต่างๆ ที่ระบุไว้ในคู่มือ   
•    ให้ความสำคัญกับข้อกำหนด และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน
•    ข้อสอบข้อเขียน   
•    การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ