หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-7-027ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องการประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่น ที่สามารถช่วยลดหรือป้องกันปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ สามารถกำหนดปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้นวัตกรรม สามารถจัดทำแผนการดำเนินงานและจัดตั้งทีมงานเพื่อออกแบบและประยุกต์ใช้นวัตกรรม รวมไปถึงสามารถจัดทำ ทดสอบ นำไปใช้งาน รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่อง และสามารถพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B408.1 กำหนดปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์หรือแอพพลิเคชั่น

1. รวบรวมข้อมูลปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่ผ่านมา 

B408.1.01 149267
B408.1 กำหนดปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์หรือแอพพลิเคชั่น

2. วิเคราะห์ปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์จากผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ขององค์กรที่รวบรวมได้

B408.1.02 149268
B408.1 กำหนดปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์หรือแอพพลิเคชั่น

3. คัดเลือกหัวข้อปัญหาที่สำคัญ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำหรับการประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นในการนำไปใช้งานเพื่อแก้ปัญหาได้

B408.1.03 149269
B408.2 จัดทำแผนการดำเนินงานและจัดตั้งทีมงานเพื่อออกแบบและประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่น

1. จัดทำแผนการดำเนินงาน ระบุรายละเอียดขั้นตอนวิธีดำเนินงาน งบประมาณ และผู้รับผิดชอบในการดำเนินการได้

B408.2.01 149270
B408.2 จัดทำแผนการดำเนินงานและจัดตั้งทีมงานเพื่อออกแบบและประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่น

2. ระบุผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อนำมาจัดตั้งทีมงานสำหรับการประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่น

B408.2.02 149271
B408.2 จัดทำแผนการดำเนินงานและจัดตั้งทีมงานเพื่อออกแบบและประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่น

3. ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ได้

B408.2.03 149272
B408.3 จัดทำเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่น ที่สามารถช่วยลดหรือป้องกันปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ออกแบบและกำหนดรายละเอียดของเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นได้

B408.3.01 149273
B408.3 จัดทำเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่น ที่สามารถช่วยลดหรือป้องกันปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. แนะนำด้านเนื้อหาและรายละเอียดในระหว่างการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นได้

B408.3.02 149274
B408.4 ทดสอบการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นมา

1. ตรวจสอบความครบถ้วนของเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นหลังจากที่ได้พัฒนาหรือจัดทำขึ้นมาเสร็จแล้วได้

B408.4.01 149275
B408.4 ทดสอบการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นมา

2. สรุปผลการทดสอบและเสนอแนะผลการทดสอบการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นหลังจากที่ได้พัฒนาหรือจัดทำขึ้นได้

B408.4.02 149276
B408.4 ทดสอบการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นมา

3. แนะนำเพื่อปรับปรุงเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นได้ หากเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมาไม่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

B408.4.03 149277
B408.5 ดำเนินการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นมาไปใช้งาน

1. จัดทำคู่มือหรือขั้นตอนการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นได้

B408.5.01 149278
B408.5 ดำเนินการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นมาไปใช้งาน

2. นำเสนอรายละเอียดคู่มือการทำงาน วิธีการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้

B408.5.02 149279
B408.6 แก้ไขข้อบกพร่อง และพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้น

1. รวบรวมปัญหาจากการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นได้

B408.6.01 149280
B408.6 แก้ไขข้อบกพร่อง และพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้น

2. ระบุปัญหาจากการใช้งานที่ต้องแก้ไข รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่องได้

B408.6.02 149281
B408.6 แก้ไขข้อบกพร่อง และพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้น

3. ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ได้ทำการแก้ไขแล้วได้

B408.6.03 149282

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการแจกแจงปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์จากการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบควบคุม และกระบวนการผลิต

2.    ทักษะในการค้นหาจุดอ่อน ข้อบกพร่อง ทั้งจากภายในและภายนอก (external and internal threats) ที่จะมีผลกระทบต่อสถานประกอบการ ระบบควบคุม กระบวนการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือ 

3.    ทักษะในการสัมภาษณ์ ถามคำถามผู้เห็นเหตุการณ์ (Interviewing witnesses to incidents)

4.    ทักษะในการทำความเข้าใจ (Interpreting) แผนงาน ข้อกำหนด (specifications) แบบ (drawings) และผังแสดงกระบวนการผลิต (process flow diagrams)

5.    การหาแหล่งข้อมูลเรื่องอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

6.    ทักษะในการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูล (Using data management software)

7.    การหาข้อมูลด้านการรับรองผลิตภัณฑ์และข้อกำหนดในการรับรอง (Obtaining information on certification and listing requirements)product

8.    การสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Communicating with subject matter experts)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

2.    การวิเคราะห์งาน Job safety analysis and task analysis methods

3.    วิธีการการวิเคราะห์ อันตราย (Hazard analysis methods)

4.    แหล่งข้อมูลในการค้นหาอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

5.    ความรู้ด้านระเบียบปฏิบัติห่วงโซ่ความรับผิดชอบ (Chain of custody procedures)

6.    โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

7.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

8.    การรับรองผลิตภัณฑ์และหน่วยงานรับรอง (Product certification and listing agencies)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยง พัฒนาโปรแกรมและออกแบบเทคนิคการควบคุมที่เหมาะสมในการแก้ไขและป้องกันปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ โดยการใช้ลำดับการควบคุมที่เป็นที่ยอมรับ ที่มีความเหมาะสมมีความเพียงพอ มีประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยการออกแบบไม่ให้เกิดปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ และประยุกต์ความรู้ด้านวิศวกรรมเพื่อลดการสัมผัสกับอันตรายให้น้อยที่สุด ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อปกป้องผู้ทำงานจากความรุนแรงในการเจ็บป่วยเกิดโรคจากการทำงาน อุบัติเหตุ อันตราย และความเสี่ยงด้านต่างๆ

คำอธิบายรายละเอียด

ประยุกต์ใช้นวัตกรรม เพื่อลดหรือป้องกันอุบัติเหตุ และความเสี่ยง โดยการใช้ องค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1.    ความรู้ทางด้านวิศวกรรม

2.    ความรู้ด้านการควบคุมระบบ

3.    ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์

4.    ความรู้ด้านการจัดการข้อมูลและสถิติ

5.    ความรู้ด้านการโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล 

6.    .ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการกำหนดปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์หรือแอพพลิเคชั่นตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการจัดทำแผนการดำเนินงานและจัดตั้งทีมงานเพื่อออกแบบและประยุกต์ใช้นวัตกรรม ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการจัดทำเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่น ที่สามารถช่วยลดหรือป้องกันปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการทดสอบการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.5 เครื่องมือประเมินการดำเนินการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นมาไปใช้งานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.6 เครื่องมือประเมินการแก้ไขข้อบกพร่อง และพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้นตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ