หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนานวัตกรรมในการดำเนินงานด้าน อาชีวสุขศาสตร์

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-7-026ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนานวัตกรรมในการดำเนินงานด้าน อาชีวสุขศาสตร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักอาชีวสุขศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้และทักษะในการพัฒนานวัตกรรมในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ สามารถรวบรวมข้อมูลและกำหนดปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้ ศึกษาและกำหนดแนวทางและวิธีการในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ รวมถึงสามารถประเมินและสรุปผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้ เพื่อปรับปรุงและต่อยอดนวัตกรรมการจัดการปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B407.1 กำหนดปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ระบุบริบท ลักษณะความเสี่ยงและสถานะของการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ขององค์กรได้

B407.1.01 149247
B407.1 กำหนดปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. ระบุปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ขององค์กรได้

B407.1.02 149248
B407.1 กำหนดปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุวัตถุประสงค์ของการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ขององค์กรได้

B407.1.03 149249
B407.1 กำหนดปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. ระบุขอบเขตข้อจำกัดในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ขององค์กรได้

B407.1.04 149250
B407.1 กำหนดปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

5. ระบุประโยชน์ของการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ขององค์กรได้

B407.1.05 149251
B407.2 กำหนดแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. สืบค้นข้อมูลจากงานวิจัย และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหาการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B407.2.01 149252
B407.2 กำหนดแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. ระบุแนวคิดเชิงทฤษฎีหรือหลักการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B407.2.02 149253
B407.2 กำหนดแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุแนวคิดจากการทบทวนงานวิจัย และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหาการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B407.2.03 149254
B407.2 กำหนดแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. สรุปแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในการจัดการปัญหาการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B407.2.04 149255
B407.3 กำหนดวิธีการในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ระบุกระบวนการในการพัฒนานวัตกรรมการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการขององค์กรได้

B407.3.01 149256
B407.3 กำหนดวิธีการในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. ระบุมาตรฐานหรือแนวทางการปฏิบัติสำหรับการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B407.3.02 149257
B407.3 กำหนดวิธีการในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B407.3.03 149258
B407.3 กำหนดวิธีการในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. ระบุข้อมูล หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมหรือระบบงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ขององค์กรได้

B407.3.04 149259
B407.4 ประเมินประสิทธิผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ระบุตัวชี้วัดประสิทธิผลที่เหมาะสมกับการนำนวัตกรรมหรือระบบงานด้านอาชีวสุขศาสตร์มาใช้ในองค์กรได้

B407.4.01 149260
B407.4 ประเมินประสิทธิผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. ระบุระบบในการตรวจติดตามการนำนวัตกรรมหรือระบบงานด้านอาชีวสุขศาสตร์มาใช้ในองค์กรได้

B407.4.02 149261
B407.4 ประเมินประสิทธิผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณตามเกณฑ์ของแต่ละตัวชี้วัดในการนำนวัตกรรมหรือระบบงานด้านอาชีวสุขศาสตร์มาใช้ในองค์กรได้

B407.4.03 149262
B407.4 ประเมินประสิทธิผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. สรุปผลการประเมินประสิทธิผลของการนำนวัตกรรมหรือระบบงานด้านอาชีวสุขศาสตร์มาใช้ในองค์กรได้

B407.4.04 149263
B407.5 สรุปผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. วิเคราะห์ผลของการใช้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ต่อการพัฒนางานด้านอาชีวสุขศาสตร์ และการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้

B407.5.01 149264
B407.5 สรุปผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. วิเคราะห์ช่องว่างหรือขีดความสามารถในการพัฒนา ปรับปรุงและต่อยอดนวัตกรรมการจัดการปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B407.5.02 149265
B407.5 สรุปผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุแนวทางในการพัฒนา และต่อยอดนวัตกรรมการจัดการปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่เหมาะสมกับองค์กรได้

B407.5.03 149266

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการรวบรวมและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของข้อมูล

2.    ทักษะการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการโครงการ

3.    ทักษะการระบุกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม

4.    ทักษะการสื่อสารองค์ประกอบด้านอาชีวสุขศาสตร์ รวมถึงการเขียนรายงานและการนำเสนอ

5.    ทักษะการวิจัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน / แนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวสุขศาสตร์

2.    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบการศึกษา

3.    ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอันตรายด้านชีวภาพ เคมี กายภาพและการยศาสตร์

4.    ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจ ความยั่งยืน แลการรักษาผลิตภัณฑ์

5.    ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อการเลือกมาตรการควบคุมความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน

6.    ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทำวิจัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



 



คำอธิบายรายละเอียด

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนางาน พัฒนาวิชาชีพ โดยการวิจัยและพัฒนาจะช่วยให้ได้ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงาน โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ 

กระบวนการวิจัยและพัฒนา เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สภาพปัญหา การพัฒนาทางเลือก หรือวิธีการใหม่ๆ ซึ่งในการพัฒนาทางเลือกจะมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการทำวิจัยโดยทั่วไป แต่เป็นการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมให้ได้มาตรฐานก่อนที่จะทำการทดลองใช้ในสภาพจริง เพื่อตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม

การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ ดังนี้

1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น

2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นรูปแบบ /วิธีการ/ กระบวนการ/ระบบปฏิบัติการ อาทิ รูปแบบการสอน วิธีการสอน รูปแบบการบริหารจัดการ ระบบการทำงาน Quality Control (Q.C.) Total Quality Management (TQM) The Balanced Scorecard (BSC) ระบบ ISO เป็นต้น



การพัฒนาระบบงานใหม่ และนวัตกรรม

1.    การพัฒนาระบบงานใหม่ หรือนวัตกรรมเชิงการจัดการระบบงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ ที่เหมาะสมกับองค์กร โดยระบบงานที่พัฒนาขึ้น ต้องสอดคล้องกับความเสี่ยง และบริบทต่างๆขององค์กร

2.    การพัฒนานวัตกรรมเชิงการป้องกันต่างๆ หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการป้องกันอันตราย อาทิ การพัฒนาระบบ Sensor เพื่องานป้องกันและการตรวจเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม การใช้ Application ในการเฝ้าระวังทางสุขภาพ หรือระบบอื่นๆ ที่มีการพัฒนาตามกรอบการพัฒนานวัตกรรม

3.    การประเมินประสิทธิภาพของการนำนวัตกรรมมาใช้ และการประเมินเชิงระบบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการกำหนดปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดวิธีการในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการประเมินประสิทธิผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.5 เครื่องมือประเมินการสรุปผลการพัฒนานวัตกรรมด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ