หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-6-023ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถรวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลจากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ และสามารถจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B405.1 รวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ระบุองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B405.1.01 149221
B405.1 รวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. ระบุขั้นตอนการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้

B405.1.02 149222
B405.1 รวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุแหล่งสืบค้นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของแต่ละองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้ 

B405.1.03 149223
B405.1 รวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. รวมรวมและจัดหมวดหมู่ฐานข้อมูลด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B405.1.04 149224
B405.2 วิเคราะห์ข้อมูลจากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อแสดงแนวโน้มผลการดำเนินงาน และติดตามการดำเนินโครงการด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B405.2.01 149225
B405.2 วิเคราะห์ข้อมูลจากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. วิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยาจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B405.2.02 149226
B405.2 วิเคราะห์ข้อมูลจากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์ เพื่อการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B405.2.03 149227
B405.2 วิเคราะห์ข้อมูลจากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. วิเคราะห์ข้อมูลทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี เพื่อวางมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมได้

B405.2.04 149228
B405.3 จัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ระบุรูปแบบการในจัดการฐานข้อมูลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวสุขศาสตร์อย่างเป็นระบบได้

B405.3.01 149229
B405.3 จัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. ระบุระบบสนับสนุนที่จำเป็นในการเข้าถึงฐานข้อมูลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวสุขศาสตร์ของหน่วยงานได้

B405.3.02 149230
B405.3 จัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุวิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการประยุกต์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B405.3.03 149231

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดด้านพิษวิทยา

2.     ทักษะการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดของระบาดวิทยา

3.    ทักษะการประยุกต์ใช้ลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (Hierarchy of Controls)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.    ความรู้เกี่ยวกับอันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

3.    ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม / สภาพแวดล้อมการทำงาน

4.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

5.    ความรู้เกี่ยวกับสถิติ

6.    ความรู้เกี่ยวกับระบาวิทยา

7.    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบการศึกษา

8.    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

9.    ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอันตรายด้านชีวภาพ เคมี กายภาพและการยศาสตร์

10.    ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อการเลือกมาตรการควบคุมความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายการประยุกต์องค์ความรู้ด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

1.    การพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อการรวบรวมองค์ความรู้มาใช้ในการจัดการงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ เช่น database management system 

2.    การพัฒนาระบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เช่น Big data analysis การใช้หลักทางสถิติ การ forecasting เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการรวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลจากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการติดตามการจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ