หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-6-021ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักอาชีวสุขศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร สามารถชี้บ่งอันตรายจากปัจจัยคุณภาพอากาศภายในอาคารที่อาจก่อผลกระทบต่อสุขภาพ กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร การตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพอากาศภายในอาคาร การประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร รวมไปถึงการสรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.25222.    กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 25223.    กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 25224.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B304.1 ชี้บ่งอันตรายจากปัจจัยคุณภาพอากาศภายในอาคารที่อาจก่อผลกระทบต่อสุขภาพ

1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคาร ทั้งปัจจัยสภาพแวดล้อม และปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ที่อยู่ภายในอาคาร

B304.1.01 149057
B304.1 ชี้บ่งอันตรายจากปัจจัยคุณภาพอากาศภายในอาคารที่อาจก่อผลกระทบต่อสุขภาพ

2. สำรวจพื้นที่เบื้องต้นเพื่อระบุพื้นที่ที่อาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.1.02 149058
B304.1 ชี้บ่งอันตรายจากปัจจัยคุณภาพอากาศภายในอาคารที่อาจก่อผลกระทบต่อสุขภาพ

3. ชี้บ่งอันตรายและระบุผลกระทบต่อสุขภาพของผู้อยู่ภายในอาคารจากปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.1.03 149059
B304.1 ชี้บ่งอันตรายจากปัจจัยคุณภาพอากาศภายในอาคารที่อาจก่อผลกระทบต่อสุขภาพ

4. ระบุสาเหตุเบื้องต้นของปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.1.04 149060
B304.2 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

1. ระบุกฎหมาย มาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.2.01 149061
B304.2 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

2. วิเคราะห์ข้อมูลจากการชี้บ่งอันตราย เพื่อกำหนดวิธีตรวจวัด ประเมิน และติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.2.02 149062
B304.2 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

3. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.2.03 149063
B304.2 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

4. กำหนดกลยุทธ์และกลวิธีการตรวจวัด การประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.2.04 149064
B304.2 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

5. จัดทำแผนงานในการตรวจวัด การประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.2.05 149065
B304.2 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

6. ระบุแนวทางในการคัดเลือกผู้ดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์ตัวอย่างได้

B304.2.06 149066
B304.2 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

7. กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาเสร็จสิ้นในการดำเนินการของแต่ละกิจกรรมในแผนการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.2.07 149067
B304.2 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

8. นำเสนอแผนการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคารได้ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้บริหารได้

B304.2.08 149068
B304.3 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพอากาศภายในอาคาร

1. กำหนดเทคนิคที่ใช้ในการตรวจวัดได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในอาคาร

B304.3.01 149069
B304.3 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพอากาศภายในอาคาร

2. เลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในการตรวจวัด การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่าง และอุปกรณ์ปรับเทียบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการได้

B304.3.02 149070
B304.3 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพอากาศภายในอาคาร

3. ระบุหลักการในการตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

B304.3.03 149071
B304.3 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพอากาศภายในอาคาร

4. ติดตั้ง ตรวจสอบ และดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.3.04 149072
B304.4 ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

1. ระบุแหล่งที่มา และผลกระทบจากปัจจัยคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.4.01 149073
B304.4 ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

2. ระบุระดับปริมาณของปัจจัยคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ตรวจวัดได้

B304.4.02 149074
B304.4 ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

3. เปรียบเทียบผลการตรวจวัดกับค่ามาตรฐานตามกฎหมายหรือค่าแนะนำอื่นๆได้

B304.4.03 149075
B304.4 ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

4. วิเคราะห์และประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.4.04 149076
B304.4 ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

5. วางแผนการตรวจติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยกำหนดความถี่ในการประเมินซ้ำได้เหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยง

B304.4.05 149077
B304.4 ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

6. ตรวจติดตามการคุณภาพอากาศภายในอาคาร ตามความจำเป็นและกำหนดเวลาที่ได้วางแผนไว้

B304.4.06 149078
B304.5 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร

1. สรุปผลและจัดทำรายงานการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.5.01 149079
B304.5 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร

2. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการสรุปผล

B304.5.02 149080
B304.5 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร

3. นำเสนอรายงานผลการตรวจวัดและผลการตรวจติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคารให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้บริหารทราบได้ติดตั้ง ตรวจสอบ และดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารได้

B304.5.03 149081

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะเลือกและการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องตรวจมือวัด การวิเคราะห์ผล และการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

2.    ทักษะการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับการเก็บตัวอย่างที่ผ่านมา มาตรการควบคุมที่มีอยู่ รายการวัสดุ กระบวนการทบทวนและการปฏิบัติงาน

3.    ทักษะการใช้เครื่องมือและการสอบเทียบเครื่องมือ

4.    ทักษะการระบุวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสม

5.    ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บตัวอย่าง

6.    ทักษะการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการเก็บตัวอย่างกับมาตรฐาน และแนวทางการปฏิบัติที่ดี

7.    ทักษะการวัดค่าพารามิเตอร์การไหลของอากาศ

8.    ทักษะการตรวจวัดการระบายอากาศ

9.    ทักษะการเปรียบเทียบการเก็บตัวอย่างอากาศและข้อมูลการวัดตรวจกับเกณฑ์ที่ยอมรับได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.    อันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

3.    มาตรฐาน / แนวทาง

4.    สาธารณสุขศาสตร์(อนามัยชุมชน)

5.    การประเมินความเสี่ยง

6.    วิธีการเก็บตัวอย่างและการใช้เครื่องมือ

7.    ค่ามาตรฐานหรือค่าเสนอแนะของการรับสัมผัส

8.    จุลชีววิทยา

9.    การเก็บตัวอย่างอากาศ (สารเคมีและสารชีวภาพ)

10.    การประยุกต์ใช้ค่าแนะนำของการรับสัมผัส

11.    การประยุกต์ใช้ค่าการระบายอากาศที่ยอมรับได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ  

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

เทคนิคที่ใช้ การใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล

ตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่อาศัยในอาคารหรือห้องประเภทต่างๆ

1.    การค้นหา และชี้บ่งปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคาร ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสำรวจ สัมภาษณ์ การทำแบบประเมินความพึงพอใจของการใช้อาคาร รายงานข้อร้องเรียนของผู้อยู่ในอาคาร เป็นต้น

2.    การวางแผนการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร ครอบคลุม อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ และการระบุ parameter ในการตรวจวัด เช่น CO2, TVOC, PM10, PM2.5, Ultrafine particle เป็นต้น การตรวจประเมินระบบ HVAC หรือระบบจัดการอากาศของอาคาร เช่น การตรวจวัดความเร็วลม อัตราการระบายอากาศ อัตราลมรั่ว เป็นต้น การตรวจวัดเชื้อจุลชีพในอากาศ เชื้อจุลชีพในแหล่งน้ำภายในอาคารและในหอผึ่งเย็น 

3.    การเตรียมเครื่องมือตรวจวัดและการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration) 

4.    การประเมินคุณภาพอากาศแบบ Subjective ด้วยแบบสอบถาม หรือแบบประเมินภาวะความสบายเชิงความร้อนของผู้อยู่ภายในอาคาร

5.    การใช้ดัชนีชี้วัดปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคาร เช่น CO2, predicted mean vote เป็นต้น

6.    การเปรียบเทียบผลการตรวจวัดกับมาตรฐาน หรือค่าเสนอแนะต่างๆ เช่น ค่าเสนอแนะของ ASHRAE

7.    การประเมินความเสี่ยงสุขภาพของผู้อยู่ภายในอาคาร

8.    ให้ข้อเสนอแนะในการวางแผนการควบคุมอันตราย การตรวจวัดซ้ำ ตามระดับความเสี่ยงที่ประเมินได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการชี้บ่งอันตรายจากปัจจัยคุณภาพอากาศภายในอาคารที่อาจก่อผลกระทบต่อสุขภาพ

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพอากาศภายในอาคาร

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการประเมินและติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคาร   

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ