หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินอันตรายด้าน การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-5-019ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินอันตรายด้าน การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักอาชีวสุขศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลอันตรายการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม สามารถประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม รวมไปถึงการสรุปผลและรายงานผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 4.    กฎกระทรวงแรงงานฯกำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้  พ.ศ. 25475.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B306.1 รวบรวมข้อมูลอันตรายการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม ของผู้ปฏิบัติงานได้

B306.1.01 149101
B306.1 รวบรวมข้อมูลอันตรายการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2. ระบุกฎหมาย มาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมได้

B306.1.02 149102
B306.1 รวบรวมข้อมูลอันตรายการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. สังเกตการทำงานและสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการระบุความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมได้

B306.1.03 149103
B306.1 รวบรวมข้อมูลอันตรายการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

4. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุปัญหาทางด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมเบื้องต้นได้

B306.1.04 149104
B306.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

1. ชี้บ่งอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมที่ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสได้รับจากการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B306.2.01 149105
B306.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2. ระบุและจำแนกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตามลักษณะงานที่สัมผัสอันตรายทางด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมได้

B306.2.02 149106
B306.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการประเมินด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมได้

B306.2.03 149107
B306.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

4. ระบุแนวทางหรือกลวิธีในการประเมินด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และบริบทของสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B306.2.04 149108
B306.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

5. ระบุเครื่องมือ อุปกรณ์ และแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมได้

B306.2.05 149109
B306.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

6. ระบุเทคนิคในการสังเกต ตรวจวัดและเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการได้

B306.2.06 149110
B306.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

7. ประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมได้

B306.2.07 149111
B306.3 สรุปและรายงานผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

1. สรุปผลและจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมได้

B306.3.01 149112
B306.3 สรุปและรายงานผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการสรุปผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมได้


B306.3.02 149113
B306.3 สรุปและรายงานผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. นำเสนอรายงานผลการตรวจวัดและผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้บริหารได้

B306.3.03 149114

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมายพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวงแรงงานฯกำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้  พ.ศ. 2547 และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการจำแนกความเสี่ยง

2.    ทักษะการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรายที่ไม่รู้จัก

3.    ทักษะการประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

4.    ทักษะการกำหนดความถี่ โอกาส และความรุนแรงของการได้รับสัมผัส

5.    ทักษะการประยุกต์ใช้ลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (Hierarchy of Controls)

6.    ทักษะการใช้กลยุทธ์การประเมินการรับสัมผัสเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

7.    ทักษะการจัดลำดับความสำคัญของอันตรายเพื่อการประเมินความเสี่ยง

8.    ทักษะการประเมินคุณภาพข้อมูล (ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่)

9.    .ทักษะการประยุกต์ใช้ลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (Hierarchy of Controls

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.    อันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

3.    สรีรวิทยาและกายวิภาค

4.    ความรู้อุตสาหกรรม / สภาพแวดล้อมการทำงาน

5.    มาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

6.    เทคโนโลยีการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวงแรงงานฯกำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. 2547 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

คำอธิบายรายละเอียด

เทคนิคที่ใช้ การใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล

ประเมินอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม ครอบคลุม

1.    การชี้บ่งอันตราย การระบุลักษณะงาน posture หรือกระบวนการทำงานที่มีความเสี่ยง การสำรวจการเกิดอาการหรือปัญหาด้านการยศาสตร์ ด้วยการประเมิน pain scale ของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ การสำรวจปัญหาความเครียดจากการทำงานหรือระบบการทำงาน

2.    การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ครอบคลุม การสำรวจพื้นที่ การวัด Anthropometry data ของผู้ปฏิบัติงาน การประเมินท่าทางการปฏิบัติงานด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น RULA REBA OWAS ROSA NIOSH Lifting และอื่นๆ 

3.    การตรวจประเมินเชิงลึก (หากจำเป็น) เช่น การวัดระดับสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อระหว่างการทำงาน

4.    ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ 

5.    การให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ เช่น การปรับปรุงสถานีงาน (work station) การใช้อุปกรณ์ผ่อนแรงในการยกย้ายชิ้นงาน และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงด้านจิตวิทยาสังคม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการรวบรวมข้อมูลอันตรายการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการรายงานผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ