หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความเสี่ยงของอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ (Emerging Hazard)

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-5-018ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความเสี่ยงของอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ (Emerging Hazard)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง (พื้นที่อับอากาศ) ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล สามารถเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินจากงานที่มีความเสี่ยงสูง (พื้นที่อับอากาศ) สามารถประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง (พื้นที่อับอากาศ) และการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง (พื้นที่อับอากาศ) รวมไปถึงการติดตามอันตรายความเสี่ยงที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง (พื้นที่อับอากาศ) 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 2.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B305.1 รวบรวมข้อมูลอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่

1. รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ เครื่องมือ/อุปกรณ์ เทคโนโลยีการผลิต และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดอันตรายใหม่หรืออันตรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อผู้ปฏิบัติงาน

B305.1.01 149082
B305.1 รวบรวมข้อมูลอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่

2. ทบทวนและสืบค้นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัจจัยอันตรายในสิ่งแวดล้อมการทำงาน จากแหล่งข้อมูลวิจัย หรือฐานข้อมูลอื่นๆที่มีความน่าเชื่อถือได้

B305.1.02 149083
B305.1 รวบรวมข้อมูลอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่

3. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุความเป็นไปได้ในการเกิดอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่

B305.1.03 149084
B305.1 รวบรวมข้อมูลอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่

4. คาดการณ์อันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

B305.1.04 149085
B305.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

1. ชี้บ่งประเภทของอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B305.2.01 149086
B305.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

2. เลือกเทคนิคในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เหมาะสมกับปัจจัยอันตรายได้

B305.2.02 149087
B305.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

3. ระบุระดับความถี่ในการรับสัมผัสปัจจัยอันตรายได้ถูกต้องตามลักษณะการปฏิบัติงาน

B305.2.03 149088
B305.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

4. ระบุระดับความรุนแรงของปัจจัยอันตรายที่พบได้ถูกต้อง

B305.2.04 149089
B305.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

5. เลือกใช้ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อระบุระดับความเข้มข้น หรือปริมาณอันตรายที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสได้

B305.2.05 149090
B305.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

6. ประเมินระดับการรับสัมผัสของอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ได้ถูกต้อง

B305.2.06 149091
B305.2 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

7. ประเมินระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพของอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ได้ถูกต้อง

B305.2.07 149092
B305.3 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

1. ระบุระดับเสี่ยงต่อสุขภาพจากผลการประเมินความเสี่ยงของอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ได้

B305.3.01 149093
B305.3 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

2. ระบุกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีระดับความเสี่ยงเหมือนหรือคล้ายคลึงกันของแต่ละปัจจัยอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ได้

B305.3.02 149094
B305.3 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

3. เปรียบเทียบระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีการรับสัมผัสในลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันของแต่ละปัจจัยอันตรายได้

B305.3.03 149095
B305.3 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

4. จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงได้

B305.3.04 149096
B305.3 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

5. สรุปผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในแต่ละปัจจัยเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ได้

B305.3.05 149097
B305.4 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

1. จัดเตรียมข้อมูลรายงานผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ได้

B305.4.01 149098
B305.4 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

2. สื่อสารผลการประเมินความเสี่ยงกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวางมาตรการป้องกันตามลำดับความเสี่ยงได้

B305.4.02 149099
B305.4 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงอันตรายเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง หรืออันตรายชนิดใหม่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน

3. จัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงพร้อมระบุความถี่ในการประเมินซ้ำที่เหมาะสมกับอันตรายแต่ละประเภทได้

B305.4.03 149100

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านด้านกฎหมาย ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการสร้างแบบฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูล (Creating data collection forms)

2.    ทักษะในการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูล (Using data management software)

3.    ทักษะในการเป็นผู้นำการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างละเอียดครอบคลุมทุกด้าน (Leading comprehensive risk assessments)

4.    ทักษะในการประมาณความเสี่ยงต่อสาธารณะ (Estimating public risk)

5.    ทักษะในการใช้สถิติเพื่อประมาณความเสี่ยง (Using statistics to estimate risk)

6.    ทักษะการประเมินแผนระงับเหตุฉุกเฉิน แผนรองรับในภาวะวิกฤติ แผนรองรับเหตุหายนะ (Evaluating emergency/crisis/disaster management and response plans)

7.    การตีความกฎหมายและกฎระเบียบและมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ (Interpreting local laws, regulations, and consensus codes and standards)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    เทคนิคและวิธีการวัด (measurement) การชักตัวอย่าง (sampling) และการวิเคราะห์ (analysis)

2.    แหล่งข้อมูลในการค้นหาอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน(vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

3.    การหาแหล่งข้อมูลเรื่องอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

4.    แหล่งของข้อมูลด้านกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานการทำงานที่เป็นที่ยอมรับ (Sources of related to local laws, regulations, and consensus codes and standards) information

5.    ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กายวิภาค ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ สรีรวิทยา (Basic sciences: anatomy, biology, chemistry, physics, physiology)

6.    ความปลอดภัยภาคเกษตรกรรม รวมทั้งความปลอดภัยด้านการผลิตอาหาร (Agriculture safety - including food supply safety)

7.    ความปลอดภัยของกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเคมี (Chemical process safety)

8.    ระบบความคุมความปลอดภัย (System safety)

9.    ความรู้ด้านวิธีการและเทคนิคการวัด การชักตัวอย่าง และการวิเคราะห์ผล (Methods and techniques for measurement, sampling, and analysis)"


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญการประเมินและติดตามอันตรายอันตรายจากการทำงานที่มีความเสี่ยสูงอันตรายจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศ

2.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543

3.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562

คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงเป็นข้อกำหนดที่สำคัญของมาตรฐานการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างถูกต้องและเหมาะสม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ในมาตรา มาตรา 32 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ 

1) จัดให้มีการประเมินอันตราย

2) ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง

3) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

4) ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดำเนินงานและแผนการควบคุมตาม (1) (2) และ (3) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย 

วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ประเภทกิจการ ขนาดของกิจการที่ต้องดำเนินการ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและได้รับการรับรองผลจากผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วย มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการตรวจประเมินความปลอดภัยกระบวนการผลิต ในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 กำหนดในข้อ 29/12 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดทำการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตทั้งหมด วิธีการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตให้เป็นระบบและเหมาะสมต่อความซับซ้อนของกระบวนการผลิต โดยสามารถชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ครอบคลุมถึงการจัดเก็บ การใช้ การผลิต และการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายร้ายแรงได้ดังต่อไปนี้ 

1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องลําดับความสำคัญของอันตราย และจัดทำเอกสารสําหรับวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต โดยให้พิจารณาจากขอบเขตของอันตรายในกระบวนการผลิต จํานวนพนักงานที่อาจได้รับผลกระทบ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องจักร และกระบวนการผลิต ตลอดจนประวัติการเดินเครื่องจักรในกระบวนการผลิต 

2) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องใช้อย่างน้อยหนึ่งวิธีตามความเหมาะสม เพื่อชี้บ่งอันตราย วิเคราะห์และประเมินอันตรายกระบวนการผลิต ดังนี้ 

1.    What-if 

2.    Checklist 

3.    What-if/Checklist

4.    Hazard and Operability Study (HAZOP) 

5.    Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) 

6.    Fault Tree Analysis 

7.    วิธีอื่นที่เทียบเท่าหรือดีกว่าตามความเหมาะสม 

3) การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม อย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 

1.    อันตรายจากกระบวนการผลิตและการทางานที่เกี่ยวข้อง

2.    การชี้บ่งอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง หรือผลกระทบที่สำคัญต่อพนักงานและสถานประกอบการ 

3.    การควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการที่ใช้ควบคุมการเกิดอันตราย และสิ่งที่เกี่ยวกับอันตราย เช่น วิธีการที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการตรวจจับเพื่อเตือนเหตุล่วงหน้า วิธีการในการตรวจจับที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งอาจรวมถึงการเฝ้าระวังกระบวนการผลิต และการควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสัญญาณเตือนและอุปกรณ์ในการตรวจจับ เช่น เครื่องตรวจจับไฮโดรคาร์บอน เป็นต้น

4.    ผลจากความล้มเหลวของการควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการ 

5.    การวางตําแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ เครื่องจักร และอาคารทั้งหมดของผังโรงงาน

6.    ปัจจัยด้านบุคคล เช่น ข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ความไม่สมบูรณ์ด้านสุขภาพ ของพนักงาน

7.    การประเมินผลกระทบเชิงคุณภาพด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพที่อาจจะ เกิดขึ้นกับพนักงานในสถานประกอบการในกรณีที่การควบคุมล้มเหลว 

4) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีคณะทำงานวิเคราะห์อันตรายอย่างน้อย 3 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต พนักงานที่มี ความรู้และประสบการณ์ด้านกระบวนการวิเคราะห์และประเมินอันตราย และพนักงานที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

5) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีระบบในการจัดการกับสิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะทำงานวิเคราะห์อันตราย เพื่อให้ข้อเสนอแนะนั้นได้รับการแก้ไขได้ทันเวลา และมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุถึงแผนการดําเนินงาน ผู้รับผิดชอบและกําหนดวันแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังจะต้องแจ้งให้ฝ่ายปฏิบัติการบำรุงรักษาและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ที่อาจได้รับ ผลกระทบจากคำแนะนำและการดําเนินงานนั้นด้วย 

6) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องปรับปรุงข้อมูลการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตให้เป็นปัจจุบัน โดยให้ดําเนินการอย่างน้อยทุก 5 ปี หรือเมื่อมีการขยายหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิม ที่มีอยู่ ทั้งนี้ การปรับปรุงข้อมูลการวิเคราะห์อันตรายให้จัดทำโดยคณะทำงานวิเคราะห์อันตรายตาม (4) 

7) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดเก็บเอกสารการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตไว้ตลอด ระยะเวลาที่กระบวนการผลิตนั้นยังใช้งานอยู่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินและติดตามที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง (พื้นที่อับอากาศ)

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการติดตามอันตรายและความเสี่ยงที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง (พื้นที่อับอากาศ)

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ