หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สำรวจเบื้องต้นเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-5-016ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สำรวจเบื้องต้นเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักอาชีวสุขศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการสำรวจเบื้องต้นเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน สามารถจัดทำแผนการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน สามารถสำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน สามารถวิเคราะห์ผลการสำรวจอันตรายและความเสี่ยงเบื้องต้น รวมไปถึงการตรวจสอบความถูกต้องผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.25444.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3)  พ.ศ.25515.    พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.25356.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 7.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B104.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

1. วิเคราะห์รายงานผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงจากการสำรวจเบื้องต้น"

B104.1.01 148981
B104.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

2. ระบุข้อมูลที่จำเป็นต้องทวนสอบ (verify) หรือสำรวจเพิ่มเติมได้

B104.1.02 148982
B104.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

3. จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือประเภทอ่านค่าทันทีประกอบการสำรวจเบื้องต้น เช่น เครื่องวัดแสง เสียง หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ ได้ครบถ้วน

B104.1.03 148983
B104.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

4. ระบุแนวทางการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้นได้

B104.1.04 148984
B104.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

5. สื่อสารแผนการสำรวจเบื้องต้นให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

B104.1.05 148985
B104.2 สำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

1. ระบุเทคนิคการตรวจวัดด้วยเครื่องมือประเภทอ่านค่าทันทีที่เหมาะสมกับการสำรวจเบื้องต้นได้

B104.2.01 148986
B104.2 สำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

2. ระบุข้อมูลที่ต้องการยืนยันด้วยการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อคาดการณ์การรับสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานได้

B104.2.02 148987
B104.2 สำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

3. ระบุปัจจัยเสี่ยงและลักษณะการรับสัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากการสำรวจเบื้องต้นได้

B104.2.03 148988
B104.3 วิเคราะห์ผลการสำรวจอันตรายและความเสี่ยงเบื้องต้น

1. รวบรวมผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานหรือข้อสังเกตที่พบจากการสำรวจเบื้องต้นได้

B104.3.01 148989
B104.3 วิเคราะห์ผลการสำรวจอันตรายและความเสี่ยงเบื้องต้น

2. ระบุกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีการรับสัมผัสสารหรือปัจจัยอันตรายในลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันได้

B104.3.02 148990
B104.3 วิเคราะห์ผลการสำรวจอันตรายและความเสี่ยงเบื้องต้น

3. คาดการณ์ระดับความเสี่ยงจากผลการสำรวจอันตรายเบื้องต้นได้

B104.3.03 148991
B104.3 วิเคราะห์ผลการสำรวจอันตรายและความเสี่ยงเบื้องต้น

4. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานได้

B104.3.04 148992

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2544 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3)  พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการแยกข้อมูลที่สำคัญจากวรรณกรรม มาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.    ทักษะการรวบรวมสิ่งที่เป็นอันตราย 

3.    ทักษะการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดของระบาดวิทยา

4.    ทักษะการประเมินข้อมูล

5.    ทักษะการประเมินคุณภาพข้อมูล (ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่)

6.    ทักษะการสำรวจการปฏิบัติงานและพื้นที่ปฏิบัติงาน

7.    ทักษะการคาดการณ์การรับสัมผัส 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.    อันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

3.    ความรู้อุตสาหกรรม / สภาพแวดล้อมการทำงาน

4.    กระบวนการผลิตและหน่วยการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม

5.    มาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

6.    สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยชุมชน)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2544 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

คำอธิบายรายละเอียด

เทคนิคที่ใช้ การใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล

1.    Walk through survey

2.    การระบุลักษณะการรับสัมผัสโดยหลัก 4W1H

3.    หลักการจำแนกปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงาน

4.    การใช้เครื่องมืออ่านค่าทันทีประกอบการสำรวจเบื้องต้น เช่น เครื่องวัดแสง เครื่องวัดเสียง เครื่องวัดความเร็วลม

5.    การระบุ SEG/HEG

6.    หลักการการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการจัดทำแผนการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

     1. ผลข้อสอบข้อเขียน

     2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการสำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ผลการสำรวจอันตรายและความเสี่ยงเบื้องต้น

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ