หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-7-014ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องการกำหนดแผนงานและปรับแผนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร สามารถสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม สามารถประเมินผลการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม สามารถรายงานผลการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A404.1 รวบรวมข้อมูลขององค์กร

1. ระบุแหล่งข้อมูลขององค์กรทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพที่ต้องการได้

A404.1.01 148877
A404.1 รวบรวมข้อมูลขององค์กร

2. รวบรวมข้อมูลขององค์กรทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพได้

A404.1.02 148878
A404.1 รวบรวมข้อมูลขององค์กร

3. สรุปรายการข้อมูลขององค์กรทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพที่ต้องการนำมาใช้ได้

A404.1.03 148879
A404.1 รวบรวมข้อมูลขององค์กร

4. นำเสนอข้อมูลขององค์กรทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพได้

A404.1.04 148880
A404.2 กำหนดแผนงานการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

1. ชี้บ่งหัวข้อกิจกรรมงานที่ต้องดำเนินการในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

A404.2.01 148881
A404.2 กำหนดแผนงานการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

2. กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของแต่ละกิจกรรมงานได้

A404.2.02 148882
A404.2 กำหนดแผนงานการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

3. กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของแต่ละกิจกรรมงานได้

A404.2.03 148883
A404.2 กำหนดแผนงานการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

4. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

A404.2.04 148884
A404.2 กำหนดแผนงานการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

5. จัดทำเกณฑ์ในการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการดำเนินการของแต่ละกิจกรรมงานได้

A404.2.05 148885
A404.2 กำหนดแผนงานการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

6. กำหนดความถี่ในการเฝ้าระวังการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการเฝ้าระวังประสิทธิผล

A404.2.06 148886
A404.3 สำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม

1. จัดทำแบบสอบถามการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรได้

A404.3.01 148887
A404.3 สำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม

2. อธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถามได้

A404.3.02 148888
A404.3 สำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม

3. สื่อสาร/สัมภาษณ์เพื่อสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถามกับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับได้

A404.3.03 148889
A404.3 สำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม

4. ติดตามผลการทำการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถามกับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ

A404.3.04 148890
A404.3 สำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม

5. สรุปผลการทำการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถามได้

A404.3.05 148891

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา (Communicating with subject matter experts)

2.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Internet)

3.    ทักษะทำการวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม (Performing training needs assessments

4.    ทักษะพัฒนาแผนการอบรม (Developing training programs)

5.    ทักษะพัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินการฝึกอบรม (Developing training assessment instruments

6.    ทักษะในการประยุกต์หลักการบริหารงานในด้านอำนาจ ภาระและความรับผิดชอบ (Applying management principles of authority, responsibility, and accountability)

7.    ทักษะในการพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานของโครงการ (Developing systems to track project implementation)

8.    ทักษะในการเป็นผู้นำ (Leading people)

9.    ทักษะในการเป็นหัวหน้าทีม (Leading teams)

10.    ทักษะในการกระตุ้นผู้ที่มีส่วนได้เสียในโครงการ (Motivating project stakeholders)

11.    ทักษะในการแก้ไขความขัดแย้ง (Resolving conflicts)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Communicating with subject matter experts)

2.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

3.    พฤติกรรมกลุ่ม (Group dynamics)

4.    วิธีการอบรม (Training methods)

5.    เครื่องมือประเมินการอบรม เช่น ข้อสอบ และการประเมินทักษะ (Training assessment instruments e.g., written tests, skill assessments)

6.    วิธีการจัดการการศึกษาและการอบรม (Education and training methods)

7.    การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal communications)

8.     ความรู้ด้านกลยุทธ์การนำเสนอ (Presentation strategies)

9.    ความรู้ด้านการบริหารจัดการ (Management sciences)

10.    ความรู้ด้านวิธีการที่จะทำผู้ที่มีส่วนได้เสียในโครงการทุกฝ่ายยอมรับเป้าหมายของโครงการ (Methods of achieving project stakeholder acceptance of project goals)

11.    ความรู้ด้านเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior modification techniques)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการความเสี่ยงมาใช้ โดยการแสดงให้เห็นถึงผลดีในทางธุรกิจจากการกำจัดหรือลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง (Educate and influence decision makers to adopt effective risk management methods by illustrating the business-related benefits associated with implementing them to eliminate or reduce safety, health, environmental, and security risks).

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในใช้การเทคนิคการนำเสนองานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรโดยอาศัยการศึกษาและการปรับพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรโดยใช้เทคนิค

คำอธิบายรายละเอียด

การวางแผนงานด้านความปลอดภัยต้องใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ (Management sciences) หลักการบริหารจัดการ ด้านอำนาจ หน้าที่ ภาระและความรับผิดชอบ (Management principles of authority, responsibility, and accountability) ได้อย่างเหมาะสมจึงจะสามารถวางแผนการ และจัดสรรงบประมาณ การเงิน และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (Budgeting, finance, and economic analysis techniques) ได้อย่างเหมาะสม 

การวางแผนงานด้านความปลอดภัยต้องสอดคล้องกับการวางแผนธุรกิจ (Business planning) ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break event point) และความคุ้มค่าของผลประโยชน์ที่ได้โดยการใช้วิธีการประมาณค่าความเสี่ยงโดยใช้ความรู้ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงในสาธารณะ (Public safety and security) และความคุ้มค่าของผลประโยชน์ที่ได้ โดยการตัดสินใจต้องใช้ความเสี่ยงเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ (Risk-based decision-making tools) และบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change) และเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงในองค์กรด้านพฤติกรรมกลุ่ม (Group dynamics monitoring) ที่เกิดขึ้นในองค์กร

เทคนิคการนำเสนองานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรโดยอาศัยการศึกษาและการปรับพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรโดยใช้เทคนิค

1.    ภาวะผู้นำและการจัดการ (Leadership and management) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (Accountability)

2.    การสอนเรื่องความปลอดภัย (Teaching laboratory and chemical safety) 

3.    การมีทัศนคติ ความตระหนัก และจริยธรรมที่ดีในเรื่องความปลอดภัย (Strong safety attitudes, awareness, and ethics) 

4.    การเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Learning from laboratory incidents) 

5.    การสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกระดับในองค์กร (Establishing collaborative relationships)

6.    การส่งเสริมและการสื่อสารเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน (Promoting and communicating safety) 

7.    การจัดสรรงบประมาณ (Strong safety programs require funding)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการรวบรวมข้อมูลขององค์กร

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดแผนงานการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการประเมินผลการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.5 เครื่องมือประเมินการรายงานผลการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรด้วยแบบสอบถาม

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.6 เครื่องมือประเมินการกำหนดแผนกิจกรรมเพื่อการปรับพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กร

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ