หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินและติดตามประสิทธิผลการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-6-013ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินและติดตามประสิทธิผลการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องการกำหนดแผนเพื่อชี้บ่งการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย สามารถตรวจประเมินและติดตามตามแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย รวมไปถึงการกำหนดการประชุมทบทวนเพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓2.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A306.1 กำหนดแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

1. ระบุหัวข้อที่จะทำการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยได้

A306.1.01 147642
A306.1 กำหนดแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

2. กำหนดเกณฑ์ในการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัยได้

A306.1.02 147643
A306.1 กำหนดแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

3. กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบในการเฝ้าระวังหัวข้อให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัยได้

A306.1.03 147644
A306.1 กำหนดแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

4. กำหนดความถี่ในการเฝ้าระวังหัวข้อให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัยได้

A306.1.04 147645
A306.1 กำหนดแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

5. กำหนดแบบฟอร์มใช้ในการเฝ้าระวังหัวข้อให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัยได้

A306.1.05 147646
A306.2 ตรวจประเมินและติดตามตามแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

1. จัดประชุมทีมหรือผู้รับผิดชอบเพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจประเมินได้

A306.2.01 147647
A306.2 ตรวจประเมินและติดตามตามแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

2. ระบุรายละเอียดของแบบฟอร์มที่ใช้ในการเฝ้าระวังหัวข้อให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัยได้

A306.2.02 147648
A306.2 ตรวจประเมินและติดตามตามแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

3. ดำเนินการตรวจประเมินและติดตามตามแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัยได้

A306.2.03 147649
A306.2 ตรวจประเมินและติดตามตามแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

4. รวบรวมผลการตรวจประเมินและติดตามประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัยได้

A306.2.04 147650
A306.2 ตรวจประเมินและติดตามตามแผนการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

5. จัดทำรายงานผลการตรวจประเมินและติดตามประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัยได้

A306.2.05 147651
A306.3 กำหนดการประชุมทบทวนเพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

1. ระบุข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณของหัวข้อตามเกณฑ์ที่แสดงถึงการประเมินประสิทธิผลเพื่อใช้ในการประชุมทบทวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กรได้

A306.3.01 147652
A306.3 กำหนดการประชุมทบทวนเพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

2. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณของหัวข้อตามเกณฑ์ที่แสดงถึงการประเมินประสิทธิผลเพื่อใช้ในการประชุมทบทวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กรได้

A306.3.02 147653
A306.3 กำหนดการประชุมทบทวนเพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

3. จัดทำแนวโน้มของข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณของหัวข้อตามเกณฑ์ที่แสดงถึงการประเมินประสิทธิผลเพื่อใช้ในการประชุมทบทวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กรได้

A306.3.03 147654
A306.3 กำหนดการประชุมทบทวนเพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

4. นำเสนอผลการวิเคราะห์และแนวโน้มของข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณของหัวข้อตามเกณฑ์ที่แสดงถึงการประเมินประสิทธิผลในที่ประชุมทบทวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กรได้

A306.3.04 147655
A306.3 กำหนดการประชุมทบทวนเพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

5. จัดทำรายงานผลการประชุมทบทวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กรได้

A306.3.05 147656
A306.3 กำหนดการประชุมทบทวนเพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการความปลอดภัย

6. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและแผนดำเนินงานด้านความปลอดภัยขององค์กรจากผลการประชุมทบทวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของหัวข้อตามเกณฑ์ที่แสดงถึงการประเมินประสิทธิผลได้

A306.3.06 147657

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการเป็นผู้นำการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างละเอียดครอบคลุมทุกด้าน (Leading comprehensive risk assessments)

2.    ทักษะในการเป็นผู้นำการวิเคราะห์ภัยคุกคามและจุดอ่อน (Leading threat and vulnerability assessments)

3.    ทักษะในการอำนวยการในการวิเคราะห์อันตรายด้านกระบวนการผลิตทางเคมี (Facilitating chemical process hazard analyses)

4.    ทักษะในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่รากเหง้าของปัญหา (Conducting root cause analyses)

5.    ทักษะในการประมาณความเสี่ยงต่อองค์กร (Estimating organizational risk)

6.    ทักษะในการประมาณความเสี่ยงต่อสาธารณะ (Estimating public risk)

7.    ทักษะในการใช้สถิติเพื่อประมาณความเสี่ยง (Using statistics to estimate risk)

8.    ทักษะในการตีความ ทำความเข้าใน แผน ข้อกำหนด แบบแปลน และแผนผังการผลิต (Interpreting plans, specifications, technical drawings, and process flow diagrams

9.    ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอรายงาน (Using business software to present reports)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การวางแผนความต่อเนื่องของธุรกิจและแผนสำรอง (Business continuity and contingency planning)

2.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

3.    เทคนิคและวิธีการวัด (measurement) การชักตัวอย่าง (sampling) และการวิเคราะห์  (analysis)

4.    แหล่งข้อมูลในการค้นหาอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

5.    การหาแหล่งข้อมูลเรื่องอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

6.    แหล่งของข้อมูลด้านกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานการทำงานที่เป็นที่ยอมรับ (Sources of related to local laws, regulations, and consensus codes and standards) information

7.    ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กายวิภาค ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ สรีรวิทยา (Basic sciences: anatomy, biology, chemistry, physics, physiology)

8.    ความปลอดภัยภาคเกษตรกรรม รวมทั้งความปลอดภัยด้านการผลิตอาหาร (Agriculture safety - including food supply safety)

9.    ระบบความคุมความปลอดภัย (System safety)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้การตรวจประเมินระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและความมั่นคงปลอดภัยโดยการใช้เทคนิคในการตรวจประเมินที่เหมาะสมเพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการขององค์กรกับมาตรฐานเพื่อพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร (Audit safety, health, environmental, and security management systems using appropriate auditing techniques to compare an organization’s management systems against established standards for identifying the organization’s strengths and weaknesses).

คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้การบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสามารถทำรายงานการตรวจประเมิน (Audit Report) ตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการความปลอดภัยและ และสามารถทำรายงานการตรวจประเมินตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย OHSAS 18001 การตรวจประเมินตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย OSHA-Process Management System- PSM)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รายงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการชี้บ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการประเมินความต้องการเชิงกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการจัดทำรายงานผลการคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ