หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินและติดตามผลกระทบที่ส่งผลต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-6-012ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินและติดตามผลกระทบที่ส่งผลต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องประเมินและติดตามผลกระทบที่ส่งผลต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สามรถชี้บ่งความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และติดตามผลการประเมินความเสี่ยงผลกระทบจากความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย รวมไปถึงการจัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ISO 22301 : มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ5.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย6.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A304.1 ชี้บ่งผลกระทบจากความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

1. พิจารณาเลือกความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กรได้

A304.1.01 147603
A304.1 ชี้บ่งผลกระทบจากความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

2. ชี้บ่งความเสี่ยงที่กระทบต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กรได้

A304.1.02 147604
A304.1 ชี้บ่งผลกระทบจากความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

3. ชี้บ่งความเสี่ยงที่กระทบต่อกิจกรรมสนับสนุนที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กรได้

A304.1.03 147605
A304.1 ชี้บ่งผลกระทบจากความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

4. ชี้บ่งความเสี่ยงที่กระทบต่อทรัพยากรสำคัญที่สนับสนุนการเกิดกิจกรรมขององค์กรได้

A304.1.04 147606
A304.1 ชี้บ่งผลกระทบจากความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

5. ชี้บ่งผลกระทบจากความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กรได้

A304.1.05 147607
A304.2 ประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

1. จัดทำเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงที่ประกอบด้วยโอกาสและผลกระทบผลที่เหมาะสมกับองค์กรได้

A304.2.01 147608
A304.2 ประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

2. จัดทำตารางระดับความเสี่ยง(Risk Matrix) และการจัดการความเสี่ยงแต่ละระดับได้

A304.2.02 147609
A304.2 ประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

3. ประชุมชี้แจงเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงและตารางระดับความเสี่ยง (Risk Matrix) และการจัดการความเสี่ยงแต่ละระดับให้ผู้เกี่ยวข้องทราบได้

A304.2.03 147610
A304.2 ประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

4. กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบประเมินความเสี่ยงได้

A304.2.04 147611
A304.2 ประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

5. ประเมินความเสี่ยงโดยใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงตารางระดับความเสี่ยงได้ (Risk Matrix) 

A304.2.05 147612
A304.3 ติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

1. กำหนดแผนในการติดตามผลการประเมินความเสี่ยงได้

A304.3.01 147613
A304.3 ติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

2. กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้ติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กรได้

A304.3.02 147614
A304.3 ติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

3. กำหนดความถี่ในการติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กรได้

A304.3.03 147615
A304.3 ติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

4. ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าผลการประเมินความเสี่ยงตามความถี่ที่กำหนดไว้ในแผนได้

A304.3.04 147616
A304.3 ติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

5. ตรวจสอบคุณภาพผลการประเมินความเสี่ยงได้

A304.3.05 147617
A304.3 ติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

6. แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่พบจากการติดตามความก้าวหน้าผลการประเมินความเสี่ยงได้

A304.3.06 147618
A304.4 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

1. สรุประดับผลการประเมินความเสี่ยงได้

A304.4.01 147619
A304.4 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

2. จัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงได้

A304.4.02 147620
A304.4 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

3. นำเสนอรายงานผลประเมินความเสี่ยงให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทราบได้

A304.4.03 147621
A304.4 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

4. สื่อสารรายงานผลประเมินความเสี่ยงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบได้

A304.4.04 147622

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 22301 : มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การหาแหล่งข้อมูลเรื่องอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

2.    ทักษะในการค้นหาจุดอ่อน ข้อบกพร่อง ทั้งจากภายในและภายนอก (external and internal threats) ที่จะมีผลกระทบต่อสถานประกอบการ ระบบควบคุม กระบวนการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือ

3.    ทักษะในการควบคุมอันตรายด้านวิศวกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ (Recommending effective engineering controls)

4.    ทักษะการพัฒนาระเบียบปฏิบัติที่ใช้สำหรับควบคุมจัดการความเสี่ยง (Developing procedures that incorporate risk management controls)

5.    ทักษะการพัฒนานโยบาย แผนการ และโปรแกรม ด้านความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง (Developing safety, health, environmental, and security plans, programs, and policies)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

2.    ความรู้ด้านสื่อและเทคนิคการนำเสนอ (Presentation media and technologies)

3.    แหล่งข้อมูลในการค้นหาอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

4.    ความรู้ด้านเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Electronic (data logging and monitoring equipment)

5.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

6.    พฤติกรรมกลุ่ม (Group dynamics)

7.    การบริหารจัดการ (Management sciences)

8.    หลักการอำนาจในการบริหารจัดการ ภาระและความรับผิดชอบ (Management principles of authority, responsibility, and accountability)

9.    การควบคุมด้านการจัดการ (Administrative controls)

10.    การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน ภาวะวิกฤติ และหายนะ (Emergency/crisis/disaster management)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคง อันตรายจากการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินสาธารณะหรือทรัพย์สินขององค์กร จากการดำเนินการของโรงงาน หรือจากสินค้าที่ผลิตโดยบริษัท หรือระบบ กระบวนการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ โดยวิธีการประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ภัยคุกคามและจุดอ่อน



คำอธิบายรายละเอียด

วิเคราะห์ชี้บ่งมาตรการป้องกัน ความเสี่ยงของธุรกิจ (Business Risk Assessment) ได้แก่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง ด้านอันตรายจากการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินสาธารณะหรือทรัพย์สินขององค์กร และความเสี่ยงจากการดำเนินการของโรงงาน หรือจากสินค้าที่ผลิตโดยบริษัท หรือระบบ กระบวนการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ เป็นส่วนที่สำคัญของบูรณาการงานด้านอาชีวอนามัยและการบริหารองค์กร

ประเมินความเสี่ยงติดตามและรายงานผลกระทบที่ส่งผลต่อธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยครอบคลุมการดำเนินการจำนวน 6 ด้าน ได้แก่

1. ความเสี่ยงทางกลยุทธ์ (Strategic Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงานและนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก

2. ความเสี่ยงการดำเนินงาน (Operational Risk) คือ ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือขาดธรรมาภิบาลในองค์กรและขาดการควบคุมที่ดี ประเภทความเสี่ยงปฏิบัติการ ได้แก่

1)    ความเสี่ยงจากบุคลากร (People Risk)

2)    ความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงาน (Process Risk)

3)    ความเสี่ยงทางเทคโนโลยี (Technology Risk)

4)    ความเสี่ยงจากเหตุปัจจัยภายนอก (External)

3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) 

4. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (Compliance Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นอุปสรรคการปฏิบัติงาน

5. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหรือสมมติฐานทางธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อความสามารถการแข่งขัน โดยเฉพาะความเสี่ยงในการลงทุน

6. ความเสี่ยงทางชื่อเสียง (Reputation Risk) เกิดจากการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเช่น การร้องเรียนเรื่องคุณภาพสินค้าหรือการไม่ยอมรับของชุมชน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการชี้บ่งผลกระทบจากความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการติดตามผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการรายงานผลการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ