หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-6-011ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องการคาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สามารถชี้บ่งความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย รวมไปถึงการนำเสนอความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ISO 22301 : มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ 5.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 6.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A104.1 คาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

1. ระบุแหล่งข้อมูลความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นทั้งต่างประเทศและในประเทศที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก

A104.1.01 147434
A104.1 คาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

2. รวบรวมข้อมูลความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วน

A104.1.02 147435
A104.1 คาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

3. ดำเนินการประชุมผู้เกี่ยวข้องภายในองค์กรเพื่อรวบรวมความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักขององค์กรได้

A104.1.03 147436
A104.1 คาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

4. สรุปความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรจากข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่รวบรวมได้และจากการประชุม

A104.1.04 147437
A104.2 ชี้บ่งความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

1. ระบุผู้เกี่ยวข้องภายในเพื่อการจัดประชุมความเสียงได้ 

A104.2.01 147438
A104.2 ชี้บ่งความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

2. ดำเนินการประชุมผู้เกี่ยวข้องภายในองค์กรเพื่อนำการคาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรมาพิจารณา

A104.2.02 147439
A104.2 ชี้บ่งความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

3. ระบุความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกิดจากการกระทำที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก

A104.2.03 147440
A104.3 นำเสนอความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

1. สรุปความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกิดจากการกระทำที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก

A104.3.01 147441
A104.3 นำเสนอความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

2. นำเสนอความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกิดจากการกระทำที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทราบ

A104.3.02 147442
A104.3 นำเสนอความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

3. สื่อสารความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกิดจากการกระทำที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักให้พนักงานทราบ

A104.3.03 147443

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 22301 : มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Internet)

2.    ทักษะการคำนวณทางสถิติจากแหล่งข้อมูล (Calculating statistics from data sources)

3.    ทักษะในการพิจารณานัยสำคัญทางสถิติ (Determining statistical significance)

4.    ทักษะในการเปรียบเทียบทางสถิติ (Comparing statistics to benchmarks)

5.    ทักษะในการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูล (Using data management software)

6.    ทักษะการใช้สถิติเพื่อกำหนดการเปรียบเทียบและมาตรฐานการดำเนินงาน (Using statistics to define benchmarks and performance standards)

7.    ทักษะในการวิเคราะห์ข้อกำหนด กฎหมาย (Evaluate regulatory requirements) 

8.    ทักษะในการตีความข้อกำหนด กฎหมาย (Interpreting law and regulations)

9.    ทักษะในการชี้บ่งอันตรายโดยการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Qualitative, quantitative) การประเมินความเสี่ยงเชิงนิรนัยและอุปนัย (deductive, and inductive risk assessment methods

10.    ทักษะในการทำความเข้าใจ (Interpreting) แผนงาน ข้อกำหนด (specifications) แบบ (drawings) และผังแสดงกระบวนการผลิต (process flow diagrams)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and statistics)

2.    โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

3.    ความรู้ด้านวิธีการย้ายข้อมูล Electronic และทางเลือกในการเก็บข้อมูล (data storage options

4.    การป้องกันข้อมูล (Information security) และข้อกำหนดด้านเก็บความลับ (confidentiality)

5.    ความรู้ด้านเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Electronic (data logging and monitoring equipment)

6.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences

7.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคง อันตรายจากการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินสาธารณะหรือทรัพย์สินขององค์กร จากการดำเนินการของโรงงาน หรือจากสินค้าที่ผลิตโดยบริษัท หรือระบบ กระบวนการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ โดยวิธีการประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ภัยคุกคามและจุดอ่อน



คำอธิบายรายละเอียด

วิเคราะห์ชี้บ่งมาตรการป้องกัน ความเสี่ยงของธุรกิจ (Business Risk Assessment) ได้แก่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง ด้านอันตรายจากการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินสาธารณะหรือทรัพย์สินขององค์กร และความเสี่ยงจากการดำเนินการของโรงงาน หรือจากสินค้าที่ผลิตโดยบริษัท หรือระบบ กระบวนการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ เป็นส่วนที่สำคัญของบูรณาการงานด้านอาชีวอนามัยและการบริหารองค์กร

คาดการณ์และชี้บ่งความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ครอบคลุมการดำเนินการจำนวน 6 ด้าน ได้แก่

1.    ความเสี่ยงทางกลยุทธ์ (Strategic Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงานและนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก

2.    ความเสี่ยงการดำเนินงาน (Operational Risk) คือ ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือขาดธรรมาภิบาลในองค์กรและขาดการควบคุมที่ดี ประเภทความเสี่ยงปฏิบัติการ ได้แก่

1)    ความเสี่ยงจากบุคลากร (People Risk)

2)    ความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงาน (Process Risk)

3)    ความเสี่ยงทางเทคโนโลยี (Technology Risk)

4)    ความเสี่ยงจากเหตุปัจจัยภายนอก (External)

3.    ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) 

4.    ความเสี่ยงด้านปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (Compliance Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นอุปสรรคการปฏิบัติงาน

5.    ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหรือสมมติฐานทางธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อความสามารถการแข่งขัน โดยเฉพาะความเสี่ยงในการลงทุน

6.    ความเสี่ยงทางชื่อเสียง (Reputation Risk) เกิดจากการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเช่น การร้องเรียนเรื่องคุณภาพสินค้าหรือการไม่ยอมรับของชุมชน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการคาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2    เครื่องมือประเมินการชี้บ่งความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการนำเสนอความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ