หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดมาตรการและดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันอันตรายจากการสำรวจ

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-5-006ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดมาตรการและดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันอันตรายจากการสำรวจ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย สามรถกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันอันตราย สามารถจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย สามารถบริหารโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย รวมไปถึงการจัดทำรายงานผลการดำเนินการโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A401.1 รวบรวมข้อมูลอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

1. ระบุแหล่งข้อมูลความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นทั้งต่างประเทศและในประเทศที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก

A401.1.01 147675
A401.1 รวบรวมข้อมูลอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

2. รวบรวมข้อมูลความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วน

A401.1.02 147676
A401.1 รวบรวมข้อมูลอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

3. ดำเนินการประชุมผู้เกี่ยวข้องภายในองค์กรเพื่อรวบรวมความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักขององค์กรได้

A401.1.03 147677
A401.1 รวบรวมข้อมูลอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

4. สรุปความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรจากข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่รวบรวมได้และจากการประชุม

A401.1.04 147678
A401.2 กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

1. ระบุผู้เกี่ยวข้องภายในเพื่อการจัดประชุมความเสียงได้ 

A401.2.01 148206
A401.2 กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ 2. ดำเนินการประชุมผู้เกี่ยวข้องภายในองค์กรเพื่อนำการคาดการณ์ความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรมาพิจารณา A401.2.02 148207
A401.2 กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

3. ระบุความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกิดจากการกระทำที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก

A401.2.03 148208
A401.3 จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

1. สรุปความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกิดจากการกระทำที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก

A401.3.01 148211
A401.3 จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

2. นำเสนอความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกิดจากการกระทำที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทราบ

A401.3.02 148212
A401.3 จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

3. สื่อสารความเสี่ยงด้านธุรกิจขององค์กรที่เกิดจากการกระทำที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจและภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักให้พนักงานทราบ

A401.3.03 148213

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การหาแหล่งข้อมูลเรื่องอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

2.    ทักษะในการค้นหาจุดอ่อน ข้อบกพร่อง ทั้งจากภายในและภายนอก (external and internal threats) ที่จะมีผลกระทบต่อสถานประกอบการ ระบบควบคุม กระบวนการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือ

3.    ทักษะในการควบคุมอันตรายด้านวิศวกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ (Recommending effective engineering controls)

4.    ทักษะการพัฒนาระเบียบปฏิบัติที่ใช้สำหรับควบคุมจัดการความเสี่ยง (Developing procedures that incorporate risk management controls)

5.    ทักษะการพัฒนานโยบาย แผนการ และโปรแกรม ด้านความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง (Developing safety, health, environmental, and security plans, programs, and policies)"

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

2.    ความรู้ด้านสื่อและเทคนิคการนำเสนอ (Presentation media and technologies)

3.    แหล่งข้อมูลในการค้นหาอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

4.    ความรู้ด้านเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Electronic (data logging and monitoring equipment)

5.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

6.    พฤติกรรมกลุ่ม (Group dynamics)

7.    การบริหารจัดการ (Management sciences)

8.    หลักการอำนาจในการบริหารจัดการ ภาระและความรับผิดชอบ (Management principles of authority, responsibility, and accountability)

9.    การควบคุมด้านการจัดการ (Administrative controls)

10.     การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน ภาวะวิกฤติ และหายนะ (Emergency/crisis/disaster management)"


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยการใช้วิธีการประมาณค่าความเสี่ยงโดยใช้ความรู้ด้านการควบคุมด้านวิศวกรรม (Engineering controls) การประมาณค่าความเสี่ยงโดยใช้ความรู้ด้านการออกแบบกระบวนการผลิตโดยใช้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยง (Principles of managing risk throughout the design process) ประมาณค่าความเสี่ยงโดยใช้ความรู้ด้านการควบคุมด้านการจัดการ (Administrative controls) การประมาณค่าความเสี่ยงโดยใช้ความรู้ด้านอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal protective equipment) 



คำอธิบายรายละเอียด

การวางแผนงาน โครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยการใช้วิธีการประมาณค่าความเสี่ยงซึ่งต้องใช้ความรู้ด้านการควบคุมด้านวิศวกรรม (Engineering controls) การประมาณค่าความเสี่ยงโดยใช้ความรู้ด้านการออกแบบกระบวนการผลิตโดยใช้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยง (Principles of managing risk throughout the design process) ประมาณค่าความเสี่ยงโดยใช้ความรู้ด้านการควบคุมด้านการจัดการ (Administrative controls) การประมาณค่าความเสี่ยงโดยใช้ความรู้ด้านอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal protective equipment)

การประเมินความเสี่ยงเป็นข้อกำหนดที่สำคัญของมาตรฐานการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างถูกต้องและเหมาะสม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ในมาตรา มาตรา 32 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ 

1) จัดให้มีการประเมินอันตราย

2) ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง

3) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

4) ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดำเนินงานและแผนการควบคุมตาม (1) (2) และ (3) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย 

วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ประเภทกิจการ ขนาดของกิจการที่ต้องดำเนินการ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและได้รับการรับรองผลจากผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วย มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการตรวจประเมินความปลอดภัยกระบวนการผลิต ในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559” กำหนดในข้อ 29/12 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดทำการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตทั้งหมด วิธีการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตให้เป็นระบบและเหมาะสมต่อความซับซ้อนของกระบวนการผลิต โดยสามารถชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ครอบคลุมถึงการจัดเก็บ การใช้ การผลิต และการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายร้ายแรงได้ดังต่อไปนี้ 

1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องลำดับความสำคัญของอันตราย และจัดทำเอกสารสำหรับวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต โดยให้พิจารณาจากขอบเขตของอันตรายในกระบวนการผลิต จํานวนพนักงานที่อาจได้รับผลกระทบ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องจักร และกระบวนการผลิต ตลอดจนประวัติการเดินเครื่องจักรในกระบวนการผลิต 

2) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องใช้อย่างน้อยหนึ่งวิธีตามความเหมาะสม เพื่อชี้บ่งอันตราย วิเคราะห์และประเมินอันตรายกระบวนการผลิต ดังนี้ 

1. What-if 

2. Checklist 

3. What-if/Checklist

4. Hazard and Operability Study (HAZOP) 

5. Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) 

6. Fault Tree Analysis 

7. วิธีอื่นที่เทียบเท่าหรือดีกว่าตามความเหมาะสม 

3) การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม อย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 

1. อันตรายจากกระบวนการผลิตและการทางานที่เกี่ยวข้อง

2. การชี้บ่งอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง หรือผลกระทบที่สำคัญต่อพนักงานและสถานประกอบการ 

3. การควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการที่ใช้ควบคุมการเกิดอันตราย และสิ่งที่เกี่ยวกับอันตราย เช่น วิธีการที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการตรวจจับเพื่อเตือนเหตุล่วงหน้า วิธีการในการตรวจจับที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งอาจรวมถึงการเฝ้าระวังกระบวนการผลิต และการควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสัญญาณเตือนและอุปกรณ์ในการตรวจจับ เช่น เครื่องตรวจจับไฮโดรคาร์บอน เป็นต้น

4. ผลจากความล้มเหลวของการควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการ 

5. การวางตำแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ เครื่องจักร และอาคารทั้งหมดของผังโรงงาน

6. ปัจจัยด้านบุคคล เช่น ข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ความไม่สมบูรณ์ด้านสุขภาพ ของพนักงาน

7. การประเมินผลกระทบเชิงคุณภาพด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพที่อาจจะ เกิดขึ้นกับพนักงานในสถานประกอบการในกรณีที่การควบคุมล้มเหลว 

4) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีคณะทำงานวิเคราะห์อันตรายอย่างน้อย 3 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต พนักงานที่มี ความรู้และประสบการณ์ด้านกระบวนการวิเคราะห์และประเมินอันตราย และพนักงานที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

5) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีระบบในการจัดการกับสิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะทำงานวิเคราะห์อันตราย เพื่อให้ข้อเสนอแนะนั้นได้รับการแก้ไขได้ทันเวลา และมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุถึงแผนการดําเนินงาน ผู้รับผิดชอบและกําหนดวันแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังจะต้องแจ้งให้ฝ่ายปฏิบัติการบำรุงรักษาและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ที่อาจได้รับ ผลกระทบจากคําแนะนำและการดําเนินงานนั้นด้วย 

6) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องปรับปรุงข้อมูลการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตให้เป็นปัจจุบัน โดยให้ดําเนินการอย่างน้อยทุก 5 ปี หรือเมื่อมีการขยายหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิม ที่มีอยู่ ทั้งนี้ การปรับปรุงข้อมูลการวิเคราะห์อันตรายให้จัดทำโดยคณะทำงานวิเคราะห์อันตรายตาม (4) 

7) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดเก็บเอกสารการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตไว้ตลอด ระยะเวลาที่กระบวนการผลิตนั้นยังใช้งานอยู่

เทคนิคที่ใช้ การใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล

1.    เทคนิคการกำหนดมาตรการป้องกันอันตรายที่แหล่งกำหนด

2.    เทคนิคการกำหนดมาตรการป้องกันอันตรายที่ทางผ่าน

3.    เทคนิคการกำหนดมาตรการป้องกันอันตรายที่ตังบุคคล

4.    การป้องกันอันตรายด้วยวิธีเชิงวิศวกรรม

5.    การป้องกันอันตรายด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการบริหารโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

    18.5 เครื่องมือประเมินการรายงานผลการดำเนินการโครงการควบคุมและป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการสำรวจ จากบทเรียน และอื่นๆ

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ