หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-ZZZ-5-003ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องการชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง สมารถเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชี้บ่งอันตราย การชี้บ่งแหล่งอันตราย การระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแหล่งอันตราย รวมไปถึงการกำหนดลักษณะผลกระทบจากแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 5.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 6.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A203.1 เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงาน ที่มีความเสี่ยงสูง

1. อธิบายข้อมูลลักษณะอันตรายจากการทำงานในที่สูงและพื้นที่อับอากาศในกระบวนการผลิตหรือภายในบริษัทได้

A203.1.01 147483
A203.1 เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงาน ที่มีความเสี่ยงสูง

2. อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานการทำงานในที่สูงและอุปกรณ์ที่เป็นพื้นที่อับอากาศที่อยู่ในกระบวนการผลิตหรือภายในบริษัท

A203.1.02 147484
A203.1 เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงาน ที่มีความเสี่ยงสูง

3. รวบรวมอุบัติการณ์ที่เคยเกิดจากการทำงานในที่สูงและในพื้นที่อับอากาศทั้งภายในบริษัทฯ โรงงานข้างเคียงและแหล่งข้อมูลทั้งภายในและต่างประเทศที่สอดคล้องกับกระบวนการผลิตของบริษัทได้

A203.1.03 147485
A203.1 เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงาน ที่มีความเสี่ยงสูง

4. เปรียบเทียบเทคนิควิธีการชี้บ่งอันตราย เช่น JSA, Checklist , What If , มอก 18004 เป็นต้น และเลือกมาใช้ที่เหมาะสมกับพื้นที่อับอากาศในกระบวนการผลิตของบริษัทได้

A203.1.04 147486
A203.1 เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงาน ที่มีความเสี่ยงสูง

5. จัดทำ Procedure การชี้บ่งอันตรายการทำงานในที่สูงและในพื้นที่อับอากาศได้

A203.1.05 147487
A203.1 เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงาน ที่มีความเสี่ยงสูง

6. จัดทำแบบฟอร์มการชี้บ่งอันตรายตามวิธีที่เลือกไว้ได้

A203.1.06 147488
A203.2 ชี้บ่งแหล่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

1. ชี้บ่งแหล่งอันตรายตามวิธีที่เลือกไว้ที่ครอบคลุมตามลักษณะการทำงานในที่สูงและพื้นที่อับอากาศในกระบวนการผลิตที่ครบถ้วนได้

A203.2.01 147489
A203.2 ชี้บ่งแหล่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

2. บันทึกแหล่งอันตรายลงในแบบฟอร์มการชี้บ่งอันตรายตามวิธีที่เลือกไว้ได้อย่างถูกต้อง

A203.2.02 147490
A203.2 ชี้บ่งแหล่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

3. นำเสนอแหล่งอันตรายในแบบฟอร์มการชี้บ่งอันตรายตามวิธีที่เลือกไว้ให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้

A203.2.03 147491
A203.3 ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

1. ชี้บ่งสาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Human Error) จากแต่ละแหล่งอันตรายได้

A203.3.01 147492
A203.3 ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

2. ชี้บ่งสาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากอุปกรณ์ เครื่องจักรเสียหายใช้งานไม่ได้ (Equipment Failure) จากแต่ละแหล่งอันตรายได้

A203.3.02 147493
A203.3 ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

3. ชี้บ่งสาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากอุปกรณ์ เครื่องจักรเสียหายใช้งานไม่ได้ (Equipment  Failure) จากแต่ละแหล่งอันตรายได้

A203.3.03 147494
A203.3 ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

4. ชี้บ่งสาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากสภาพแวดล้อม (Environmental Condition) จากแต่ละแหล่งอันตรายได้

A203.3.04 147495
A203.3 ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

5. บันทึกสาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นลงในแบบฟอร์มการชี้บ่งอันตรายตามวิธีที่เลือกไว้ได้อย่างถูกต้อง

A203.3.05 147496
A203.3 ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

6. นำเสนอสาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นลงในแบบฟอร์มการชี้บ่งอันตรายตามวิธีที่เลือกไว้ให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้

A203.3.06 147497
A203.4 กำหนดลักษณะผลกระทบจากแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

1. อธิบายลักษณะผลกระทบที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานหรือทรัพย์สินที่เสียหายจากสาเหตุของแต่ละแหล่งอันตรายได้

A203.4.01 147498
A203.4 กำหนดลักษณะผลกระทบจากแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

2. บันทึกลักษณะผลกระทบที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานหรือทรัพย์สินที่เสียหายจากสาเหตุของแต่ละแหล่งอันตรายลงในแบบฟอร์มการชี้บ่งอันตรายตามวิธีที่เลือกไว้ได้อย่างถูกต้อง

A203.4.02 147499
A203.4 กำหนดลักษณะผลกระทบจากแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

3. นำเสนอลักษณะผลกระทบที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานหรือทรัพย์สินที่เสียหายจากสาเหตุของแต่ละแหล่งอันตรายลงในแบบฟอร์มการชี้บ่งอันตรายตามวิธีที่เลือกไว้ให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้

A203.4.03 147500

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการค้นหาจุดอ่อน ข้อบกพร่อง ทั้งจากภายในและภายนอก (external and internal threats) ที่จะมีผลกระทบต่อสถานประกอบการ ระบบควบคุม กระบวนการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือ

2.    ทักษะในการวิเคราะห์ อันตรายในการทำงาน และวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน (job safety analyses and task analyses)

3.    ทักษะในการทำความเข้าใจ (Interpreting) แผนงาน ข้อกำหนด (Specifications) แบบ (Drawings) และผังแสดงกระบวนการผลิต (Process flow diagrams)

4.    เทคนิคการค้นหาสาเหตุของการเกิดเหตุ (Incident investigation techniques)

5.    การตีความกฎหมายและกฎระเบียบและมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ (Interpreting local laws, regulations, and consensus codes and standards)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

2.    วิธีการการวิเคราะห์  อันตราย (Hazard analysis methods)

3.    แหล่งข้อมูลในการค้นหาอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

4.    ความรู้ด้านระเบียบปฏิบัติห่วงโซ่ความรับผิดชอบ (Chain of custody procedures)

5.    ความรู้ในวิธีการการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ นิรนัย และอุปนัย (Qualitative, quantitative, deductive, and inductive risk assessment methods)

6.    แหล่งของข้อมูลด้านอันตราย ภัยคุกคามและจุดอ่อน (threats, and vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่ เฉพาะ หรือวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม หรือรายงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

7.    หลักการอำนาจในการบริหารจัดการ ภาระและความรับผิดชอบ (Management principles of authority, responsibility, and accountability)

8.    แหล่งของข้อมูลด้านกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานการทำงานที่เป็นที่ยอมรับ (Sources of related to local laws, regulations, and consensus codes and standards)information


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

เทคนิคที่ใช้ การใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล

การชี้บ่งอันตรายสามารถทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสม การนำวิธีการใดมาวิเคราะห์ชี้บ่งอันตราย ขึ้นอยู่กับการเลือกให้เหมาะสมกับประเภทอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต และเทคโนโลยี ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงการชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง (การทำงานในที่สูง พื้นที่อับอากาศ เป็นต้น) โดยการใช้เครื่องมือ และวิธีการสำรวจ เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและความมั่นคง (security risk) ได้แก่

1.    เทคนิค job safety analyses and task analyses

2.    เทคนิค Checklist

3.    เทคนิค What if

4.    เทคนิค HAZOP (Hazard and Operability Analysis methods)

5.    เทคนิค Hazard analysis methods 

6.    เทคนิค FMEA (Failure Mode and Effects analysis methods)

7.    เทคนิค FTA (Fault Tree Analysis methods)

8.    เทคนิค ETA (Event Tree Analysis methods)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2    เครื่องมือประเมินการชี้บ่งแหล่งอันตรายที่เกิดจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

    1 ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการกำหนดลักษณะผลกระทบจากแหล่งอันตรายจากงานที่มีความเสี่ยงสูง

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ