หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

หลอม แผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-NIE-1-020ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ หลอม แผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ผลิตเครื่องถม ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับ งานหลอมโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ งานแผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพ อนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตถกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04131 หลอมโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ 1. วัสดุเงิน ทองแดงเตรียมในปริมาณและอัตราส่วนถูกต้องตามขนาดชิ้นงานที่ต้องการผลิต 04131.01 140554
04131 หลอมโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ 2. เครื่องมือ อุปกรณ์การหลอมโลหะเงินเตรียมได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 04131.02 140555
04131 หลอมโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ 3. โลหะเงินหลอมได้ถูกต้องตามขั้นตอนการหลอม 04131.03 140556
04132 แผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ 1. แท่งโลหะเงินเตรียมได้ถูกต้องตามประเภทเครื่องประดับที่ต้องการผลิต 04132.01 140557
04132 แผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ 2. เครื่องมือ อุปกรณ์การแผ่รีดโลหะเงินสำหรับผลิตเครื่องประดับเตรียมได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 04132.02 140558
04132 แผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ 3. แท่งโลหะเงินแผ่รีดได้ขนาดและรูปร่างถูกต้องตามแบบเครื่องประดับที่ต้องการผลิต 04132.03 140559

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการหลอมโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ



2. ปฏิบัติการแผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วัสดุที่เป็นส่วนผสมการหลอมโลหะเงิน



2. การคำนวณสัดส่วนการใช้วัสดุหลอมโลหะเงิน



3. การหลอมโลหะเงิน



4. มาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยในการทำงาน



5. การใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ การแผ่รีด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



   1. ใบรายการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์การหลอมโลหะเงิน



   2. แท่งโลหะเงินที่หลอมเสร็จสมบูรณ์



   3. ใบรายการจัดเตรียมอุปกรณ์ใช้รีดโลหะเงินสำหรับผลิตเครื่องประดับ



   4. โลหะเงินที่แผ่รีดสำหรับผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



  1.ใบผ่านการอบรม ฝึกปฏิบัติการหลอม แผ่รีดโลหะเงิน



  2.เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



   ประเมินเกี่ยวกับหลอม แผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ



(ง) วิธีการประเมิน



   1. พิจารณาหลักฐานความรู้



   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



   1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องหลอมโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ



   2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแผ่รีดโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



   1. หลอมโลหะเงินได้ถูกต้องตามปริมาณการใช้ผลิตเครื่องถมแต่ละชิ้นงาน รูปพรรณของเครื่องถมโดยมีโลหะผสมระหว่างเงินกับทองแดง (เงิน 95 ทองแดง 5) ซึ่งทั่วไปมีสัดส่วนของโลหะเงินไม่ต่ำกว่า 95%



   2. แผ่รีดโลหะเงินได้ขนาดถูกต้องตามประเภทเครื่องถมแต่ละชิ้นงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน



   1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



   2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



2. เครื่องมือการประเมิน



  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



 



ยินดีต้อนรับ