หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-WII-4-092ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผนการจัดการคลังสินค้า ตั้งแต่วิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้า จัดทำแผนการจัดการคลังสินค้า ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีช่วยในการวางแผนการจัดการคลังสินค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ไม่ระบุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
030101.1 วิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี 1.กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้า 030101.1.01 85533
030101.1 วิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี 2.รวบรวมข้อมูลคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 030101.1.02 85534
030101.1 วิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี 3. วิเคราะห์ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ด้วยเทคโนโลยี 030101.1.03 85535
030101.2 จัดทำแผนการจัดการคลังสินค้า 1.จัดทำแผนการปฏิบัติงานคลังสินค้าตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 030101.2.01 85536
030101.2 จัดทำแผนการจัดการคลังสินค้า 2. จัดทำรายงานแผนจัดการคลังสินค้าตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 030101.2.02 85537

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) ทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล

(2) ทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์และวางแผนการจัดการคลังสินค้า

(3) ทักษะในการเขียนรายงานแผนจัดการคลังสินค้า


(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการจัดการคลังสินค้า

(2) ความรู้ด้านวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยี 

(3) ความรู้ด้านการวางแผนการจัดการคลังสินค้า



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   (1) หนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงาน/สถานประกอบการ หรือ

   (2) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้าจากหน่วยงาน/สถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   (1) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรแสดงถึงการผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า หรือ

   (2) ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   (1) ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

   (1) การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

   (2) การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้พิจารณาจากการสัมภาษณ์



15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

   (1) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถวางแผนการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีได้ 

   (2) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีได้ 

   (3) ผู้รับการประเมินจะต้องสามารถจัดทำรายงานแผนจัดการคลังสินค้าได้ 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   (1) กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้า เช่น วิเคราะห์พื้นที่คลังสินค้า, ตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า แบบ ABC Analysis, การจัดการความเสี่ยงของคลังสินค้า, สินค้าส่งคืน การจัดการสินค้าแยกตามประเภทสินค้า เช่น non-conforming goods, สินค้าที่ไม่ผ่านคุณภาพ, ของเสีย, การใช้ประโยชน์จากพื้นที่คลังสินค้า, การวิเคราะห์งบประมาณการบริหารคลังสินค้า, การจัดการสินค้าที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการรับสินค้า, การออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีในคลังสินค้า, การอบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีคลังสินค้า, การจัดการของเสียภายในคลังสินค้า, การบำรุงรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีในคลังสินค้า, การจัดการความปลอดภัยในคลังสินค้า, การจัดการอุปกรณ์สนับสนุนในการบรรจุ เช่น กล่อง เทปติดกล่อง ฟิล์มยืด เป็นต้น 

   (2) การรวบรวมข้อมูลคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี เช่น ข้อมูลจากระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กรโดยรวม (Enterprise Resource Planning : ERP), ระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System : WMS) หรือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 

   (3) การวิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี เช่น ERP, WMS, Business Intelligence (BI), SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

   (4) การจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ให้กับหน่วยงานต่างๆในคลังสินค้า โดยระบุข้อมูลที่จำเป็น เช่น ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา งบประมาณ ตัวชี้วัด เป้าหมาย เป็นต้น

   (5) การจัดทำรายงานแผนจัดการคลังสินค้าตามวัตถุประสงค์ โดยกำหนดข้อมูลที่จำเป็น เช่น ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา งบประมาณ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน เป็นต้น 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1 เครื่องมือการประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยี

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) การสอบสัมภาษณ์

2 เครื่องมือการประเมินการจัดทำแผนการจัดการคลังสินค้า

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) การสอบสัมภาษณ์




ยินดีต้อนรับ