หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมพัฒนาการการเคลื่อนไหวของเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-1-025ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมพัฒนาการการเคลื่อนไหวของเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       ผู้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว การรับรู้ และประสาทสัมผัสของเด็ก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20201.01 ส่งเสริมการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็ก 1.จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย 20201.01.01 19762
20201.01 ส่งเสริมการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็ก 2.สังเกตพัฒนาการเบื้องต้นการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็ก ตามช่วงวัย 20201.01.02 19763
20201.02 ส่งเสริมการรับรู้และประสาทสัมผัสของเด็ก 1. จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการการรับรู้และประสาทสัมผัสของเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย 20201.02.01 19764
20201.02 ส่งเสริมการรับรู้และประสาทสัมผัสของเด็ก 2. สังเกตพัฒนาการเบื้องต้นการรับรู้และประสาทสัมผัสของเด็ก ตามช่วงวัย 20201.02.02 19765

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการสังเกตพัฒนาการเบื้องต้นและการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็ก

2. มีทักษะในการสังเกตพัฒนาการเบื้องต้นและการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการการรับรู้และประสาทสัมผัสของเด็ก


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กในด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว การรับรู้ และประสาทสัมผัส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

      (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. ผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง

  2. ผลการทดสอบความรู้

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

  4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

      (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

      (ง) วิธีการประเมิน

  1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

  2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

      (ก) คำแนะนำ

           ไม่มี

      (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. การเคลื่อนไหว หมายถึง การเคลื่อนไหวประกอบด้วย การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ และยังพัฒนาเป็นรูปแบบขั้นตอนต่อเนื่อง ได้แก่ การชันคอ กลิ้งตัว นั่ง คืบ คลาน ยืน เดิน จับ หยิบ ขีด และเขียน

         2. การทรงตัว หมายถึง ความสามารถในการรักษาความสมดุลร่างกายในขณะอยู่กับที่หรือขณะเคลื่อนที่

         3. การเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็ก เป็นพัฒนาการที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมาก พัฒนาการการเคลื่อนไหวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการควบคุมการทรงตัวและเคลื่อนที่ และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กๆของตาและมือซึ่งแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน

         4. การรับรู้และประสาทสัมผัส หมายถึง เริ่มตั้งแต่ การมีสิ่งเร้ามา กระทบกับอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า และส่งกระแสประสาท ไปยังสมอง เพื่อการแปลความ กระบวนการของการรับรู้ เป็นกระบวนการที่คาบเกี่ยวกันระหว่างเรื่องความเข้าใจ การคิด การรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ การตัดสินใจ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้ 

2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน




ยินดีต้อนรับ