หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-TRM-5-022ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน การติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace) การตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน การป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน และการเสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
210121 ประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน 1.จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องครบถ้วน 210121.01 91775
210121 ประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน 2. กำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างชัดเจน 210121.02 91776
210122 ติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace) 1.ใช้ระบบสารสนเทศติดตามควบคุมยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน 210122.01 91777
210122 ติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace) 2.รายงานการติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนจัดทำได้อย่างถูกต้อง 210122.02 91778
210123 ตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน 1.ตรวจสอบสภาพยานพาหนะหลังจากการขนส่งสินค้าทางถนน มีความเที่ยงตรงและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 210123.01 91779
210123 ตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน 2.จัดทำรายงานการตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบและเป็นไปตามข้อกำหนด 210123.02 91780
210124 ป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน 1.ดำเนินการป้องกัน และซ่อมบำรุงยานพาหนะมีการอย่างมีประสิทธิภาพ 210124.01 91781
210124 ป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน 2. จัดทำรายงานการป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะขนส่งได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 210124.02 91782
210125 เสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน 1.รายงานการควบคุมการขนส่ง ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง 210125.01 91783
210125 เสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน 2. รายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนนมีความถูกต้อง ครบถ้วน 210125.02 91784

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ



     1. ปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน



     1.1 สามารถจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องครบถ้วน



     1.2 สามารถกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างชัดเจน



    2. ปฏิบัติการติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace)



     2.1 สามารถใช้ระบบสารสนเทศติดตามควบคุมยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน



     2.2 สามารถรายงานการติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนจัดทำได้อย่างถูกต้อง



   3. ปฏิบัติการตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน



     3.1 สามารถตรวจสอบสภาพยานพาหนะหลังจากการขนส่งสินค้าทางถนน มีความเที่ยงตรง และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน



     3.2 สามารถจัดทำรายงานการตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบและเป็นไปตามข้อกำหนด



  4. ปฏิบัติการป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน



     4.1 สามารถดำเนินการป้องกัน และซ่อมบำรุงยานพาหนะมีการอย่างมีประสิทธิภาพ



     4.2 สามารถจัดทำรายงานการป้องกัน และบำรุงรักษายานพาหนะขนส่งได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน



  5. ปฏิบัติการเสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน



     5.1 สามารถรายงานการควบคุมการขนส่ง ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง



     5.2 สามารถรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนนมีความถูกต้อง ครบถ้วน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้



 1. การประเมินความเสี่ยงขนส่งสินค้าทางถนน



 2. การใช้ระบบสารสนเทศติดตามยานพาหนะในการขนส่ง



 3. วิธีการป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



  2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



 1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน



 2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินเกี่ยวกับการจัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



 1. พิจารณาหลักฐานความรู้



  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก)  คำแนะนำ



    การปฏิบัติจัดการยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน การติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace) การตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน การป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน และการเสนอรายงานผลการขนส่งสินค้าทางถนน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



   1. การประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายจากการขนส่งสินค้าทางถนน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ ความล่าช้าในการขนส่งสินค้า สภาพจราจร การเกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์แหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม โดยจะต้อง จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าทางถนน และกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างชัดเจน



   2. การติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน (Track & Trace) โดยกรมขนส่งทางบกประกาศให้รถขนส่งสินค้าจะต้องติดตั้ง GPS เพื่อใช้ควบคุมติดตามควบคุมยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนน และจัดทำรายงานการติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าทางถนนจัดทำได้อย่างถูกต้อง



   3. การตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์หลังจากขนส่งสินค้าทางถนน จะต้องตรวจสอบสภาพยานพาหนะหลังจากการขนส่งสินค้าทางถนน มีความเที่ยงตรง และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยใช้หลักการตรวจสภาพก่อนการขับขี่ด้วยหลัก BEWAGON เป็นการตรวจเช็คสภาพรถทุกประเภท สรุปได้ 7 หมวดตามอักษรย่อ คือ B,E,W,A,G,O,N และจัดทำรายงานการตรวจสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบและเป็นไปตามข้อกำหนด



   4. การป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์จากขนส่งสินค้าทางถนน เป็นกิจกรรมหรืองานทั้งหมดที่กระทำต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆเพื่อรักษาสภาพหรือป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย โดยให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลารวมทั้งช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยจะต้องดำเนินการป้องกัน และซ่อมบำรุงยานพาหนะ และจัดทำรายงานการป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะขนส่ง



   5. คำว่า “ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน



           1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



           2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



2. เครื่องมือการประเมิน



           1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



           2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



3. เครื่องมือการประเมิน



           1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



           2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



4. เครื่องมือการประเมิน



           1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



           2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



5. เครื่องมือการประเมิน



           1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



           2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



          ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ