หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบการติดตั้ง และปรับตั้งเครื่องยนต์สำหรับอุปกรณ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลวระบบดูด

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-CAR-2-073ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบการติดตั้ง และปรับตั้งเครื่องยนต์สำหรับอุปกรณ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลวระบบดูด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ช่างติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถยนตฺ์ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถปฏิบัติงาน ตรวจสอบความปลอดภัย ปรับตั้งเครื่องยนต์และระบบก๊าซ หลังการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ก๊าซระบบดูด ได้ตามข้อกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    N/A   

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
60151 ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้งได้ตามข้อกำหนดคู่มือติดตั้ง 1.1 ตรวจสอบรอยรั่วระบบก๊าซได้ตามมาตรฐานได้ 60151.01 12660
60151 ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้งได้ตามข้อกำหนดคู่มือติดตั้ง 1.2 ตรวจสอบรอยรั่วระบบหล่อเย็นได้ตามมาตรฐานได้ 60151.02 12661
60151 ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้งได้ตามข้อกำหนดคู่มือติดตั้ง 1.3 ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ 60151.03 12662
60151 ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้งได้ตามข้อกำหนดคู่มือติดตั้ง 1.4 ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 60151.04 12663
60152 ปรับตั้งเครื่องยนต์ระบบดูดได้ตามข้อกำหนดคู่มือติดตั้ง 2.1 ปรับตั้งปริมาณก๊าซให้สัมพันธ์กับรอบเครื่องและโหลดได้ 60152.01 12664
60152 ปรับตั้งเครื่องยนต์ระบบดูดได้ตามข้อกำหนดคู่มือติดตั้ง 2.2 ทดสอบการทำงานของระบบได้ 60152.02 12665
60152 ปรับตั้งเครื่องยนต์ระบบดูดได้ตามข้อกำหนดคู่มือติดตั้ง 2.3 ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 60152.03 12666

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซินและวงจรไฟฟ้า 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การตรวจสอบรอยรั่วซึมของก๊าซ

    2. การตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำหล่อเย็น

    3. การตรวจสอบการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐาน

    4. การปรับแต่งอุปกรณ์ก๊าซให้สัมพันธ์กับโหลดเครื่องยนต์

    5. การใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ตรวจสอบรอยรั่วซึมก๊าซ

    6. การปรับระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน

    7. การปรับองศาการจุดระเบิดให้สัมพันธ์กับโหลดเครื่องยนต์ 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. วิธีการตรวจสอบรอยรั่วซึมของก๊าซ

    2. ข้อกำหนดหลักเกณฑ์ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วย “รถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2551”

    3. วิธีการปรับตั้งเครื่องยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซ

    4. อุปกรณ์ก๊าซรถนยต์

    5. วิธีใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ตรวจสอบการรั่วก๊าซ และความหมายของสัญลักษณ์

    6. ข้อกำหนดทางเทคนิดจากคู่มือการติดตั้ง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. ผลงานประกอบการประเมิน หรือ

        3. แบบบันทึกประกอบการสัมภาษณ์ หรือ

        4. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. เอกสารรับรองความรู้จากสถานประกอบการ หรือ

        2. เอกสารรับผลการเรียนรู้หรือผลอบรม หรือ

        3. แฟ้มสะสมผลงาน หรือ port folio หรือ

        4. แบบบันทึกประกอบการสัมภาษณ์ หรือ

        5. ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียน หรือแนวคำถามที่ใช้ประเมินความรู้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมิน เกี่ยวกับการติดตั้งตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง และการปรับตั้งเครื่องยนต์ระบบดูด โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    รถยนต์ที่ทำการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ฯ นั้นเป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล ไม่มีข้อกำหนดด้านยี่ห้อของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ก๊าซที่ใช้การติดตั้ง แต่ต้องเป็นตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2551

    (ก) คำแนะนำ

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องรู้ถึงข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2551

        2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องรู้ถึงหลักการทำงานของระบบก๊าซรถยนต์ที่ติดตั้ง

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. การตรวจสอบรอยรั่วซึมก๊าซ เช่น รอยรั่วชุดวาล์วหัวถังก๊าซ ข้อต่อท่อก๊าซความดันสูงที่วาล์วก๊าซ ทางเข้ากรองก๊าซและหม้อต้ม ตรวจรอยรั่วซึมรอบหม้อต้ม รอบกรองก๊าซ

        2. วิธีการตรวจรอยรั่วซึมก๊าซ เช่น การใช้เครื่องตรวจวัดการรั่วของก๊าซ การใช้ฟองสบู่

        3. การตรวจรอยรั่วซึมของน้ำ เช่น รอยรั่วซึมที่หม้อต้มและเสื้อสูบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้งได้ตามข้อกำหนด

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2. เครื่องมือประเมิน ปรับตั้งเครื่องยนต์ระบบดูดได้ตามข้อกำหนด

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ