หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมระบบเครื่องล่าง

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-CAR-2-060ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมระบบเครื่องล่าง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ช่างซ่อมระบบเครื่องล่างรถยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถปฏิบัติงาน ถอด/ประกอบ ตรวจสอบ และซ่อมระบบกันสะเทือนได้ตามมาตรฐานคู่มือซ่อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    N/A   

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50111 ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดแมคเฟอร์สันสตรัท/Shock-up ได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 1.1 ตรวจสอบชุดแมคเฟอร์สันสตรัท/Shock-upได้ตามคู่มือซ่อม 50111.01 12485
50111 ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดแมคเฟอร์สันสตรัท/Shock-up ได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 1.2 เปลี่ยนชุดแมคเฟอร์สันสตรัท/Shock-up ได้ตามคู่มือซ่อม 50111.02 12486
50111 ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดแมคเฟอร์สันสตรัท/Shock-up ได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 1.3 ทดสอบชุดแมคเฟอร์สันสตรัท/Shock-up ได้ตามคู่มือซ่อม 50111.03 12487
50111 ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดแมคเฟอร์สันสตรัท/Shock-up ได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 1.4 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 50111.04 12488
50112 ตรวจสอบและเปลี่ยนทอร์ชั่นบาร์/แหนบได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 2.1 ตรวจสอบทอร์ชั่นบาร์/แหนบได้ตามคู่มือซ่อม 50112.01 12489
50112 ตรวจสอบและเปลี่ยนทอร์ชั่นบาร์/แหนบได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 2.2 เปลี่ยนทอร์ชั่นบาร์/แหนบ ได้ตามคู่มือซ่อม 50112.02 12490
50112 ตรวจสอบและเปลี่ยนทอร์ชั่นบาร์/แหนบได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 2.3 ทดสอบทอร์ชั่นบาร์/แหนบ ได้ตามคู่มือซ่อ 50112.03 12491
50112 ตรวจสอบและเปลี่ยนทอร์ชั่นบาร์/แหนบได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 2.4 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 50112.04 12492
50113 ตรวจสอบและเปลี่ยนปีกนกได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 3.1 ตรวจสอบปีกนก ได้ตามคู่มือซ่อม 50113.01 12493
50113 ตรวจสอบและเปลี่ยนปีกนกได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 3.2 เปลี่ยนปีกนก ได้ตามคู่มือซ่อม 50113.02 12494
50113 ตรวจสอบและเปลี่ยนปีกนกได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 3.3 ทดสอบปีกนก ได้ตามคู่มือซ่อม 50113.03 12495
50113 ตรวจสอบและเปลี่ยนปีกนกได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 3.4 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 50113.04 12496
50114 ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดกันโคลงและลูกหมากได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 4.1 ตรวจสอบชุดกันโคลงและลูกหมากได้ตามคู่มือซ่อม 50114.01 12497
50114 ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดกันโคลงและลูกหมากได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 4.2 เปลี่ยนชุดกันโคลงและลูกหมากได้ตามคู่มือซ่อม 50114.02 12498
50114 ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดกันโคลงและลูกหมากได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 4.3 ทดสอบชุดกันโคลงและลูกหมาก ได้ตามคู่มือซ่อม 50114.03 12499
50114 ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดกันโคลงและลูกหมากได้ตามข้อกำหนดคู่มือซ่อม 4.4 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 50114.04 12500

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    หน่วยสมรรถนะ 1011, 1012, 1015


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. เตรียมและใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ ถอด/ประกอบ วัดตรวจสอบ ซ่อม เปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ระบบกันสะเทือนรถยนต์

    2. การใช้เครื่องมือพิเศษในการถอดประกอบระบบกันสะเทือน

    3. ทักษาะการขึ้นแม่แรง หรือลิฟท์ยกรถ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ระบบกันสะเทือนรถยนต์

    2. หลักการ วิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ถอด/ประกอบ วัดตรวจสอบ ซ่อม เปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ระบบกันสะเทือนรถยนต์

    3. ลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ ถอด/ประกอบ ตรวจสอบ ซ่อม เปลี่ยนระบบกันสะเทือนรถยนต์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการทำงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมช่วงล่าง หรือ

        3. แบบบันทึกประกอบการสัมภาษณ์

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับ การซ่อมระบบกันสะเทือนรถยนต์ขนาดเล็ก โดยพิจารณาจากรองรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง)  วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

    ระบบกันสะเทือนสำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก

    (ก) คำแนะนำ

        1. ผู้รับการประเมินต้องระวังการใส่น๊อตให้ตรงกับรูเพื่อป้องกันเกลียวครูด เกลียวล้ม และขูดกับตัวถัง

        2. ผู้รับการประเมินต้องขันน๊อตล๊อกหัวโช๊คด้วยแรงพอดีควรใช้ประแจแรงบิด

        3. ผู้รับการประเมินต้องทาจาราบีที่หัวโช๊คเล็กน้อยก่อนการประกอบเพื่อลดการเสียดสี

        4. ผู้รับการประเมินต้องใช้ประแจวัดแรงบิดขันตึงตอนประกอบ

        5. ผู้รับการประเมินต้องระวังสายเบรก ขณะถอดเปลี่ยนโช๊ค ควรพยุงชุดเบรกเพื่อป้องกันไม่ให้สายอ่อนฉีกขาด

        6. ผู้รับการประเมินต้องระวังในการปรับความตึงของทอร์ชั่นบาร์

        7. ผู้รับการประเมินต้องสามารถใช้เครื่องมือเฉพาะในการถอดปีกนกและลูกหมาก

        8. ผู้รับการประเมินต้องระวังการถอดประกอบปีกนก ต้องไม่ตีปีกนก

        9. ผู้รับการประเมินต้องไม่ขึ้นแม่แรงที่ปีกนก

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        เครื่องมือที่ใช้ เช่น ประแจแรงบิด แม่แรง เครื่องมือสำหรับกดบีบสปริง ลวดหรือเชือกผูกรั้งชุดเบรค ฟุตเหล็ก ตลับเมตร เครื่องมือถอดเปลี่ยนลูกหมาก



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดแมคเฟอร์สันสตรัท/Shock-up ได้ตามข้อกำหนด

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและเปลี่ยนทอร์ชั่นบาร์/แหนบได้ตามข้อกำหนด

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและเปลี่ยนปีกนกได้ตามข้อกำหนด

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.4 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและเปลี่ยนชุดกันโคลงและลูกหมากได้ตามข้อกำหนด

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ