หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาบุคลากรในการปรับประกอบ Checking Fixture

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-FIX-5-005ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาบุคลากรในการปรับประกอบ Checking Fixture

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเตรียมองค์ประกอบเพื่อจัดทำชุดการสอน จัดทำเอกสารการสอน การทดสอบ และสื่อการสอน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์เพื่อพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการปฏิบัติการสอน การติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
113CF05.1 เตรียมองค์ประกอบเพื่อจัดทำชุดการสอน 1.1 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 113CF05.1.01 82009
113CF05.1 เตรียมองค์ประกอบเพื่อจัดทำชุดการสอน 1.2 เนื้อหาเพื่อการอ้างอิง 113CF05.1.02 82010
113CF05.1 เตรียมองค์ประกอบเพื่อจัดทำชุดการสอน 1.3 เป้าหมายของการเรียนรู้ 113CF05.1.03 82011
113CF05.1 เตรียมองค์ประกอบเพื่อจัดทำชุดการสอน 1.4 ผลการพัฒนาจากการประเมินของผู้เรียน กับการตอบแทน 113CF05.1.04 82012
113CF05.2 จัดทำเอกสารการสอน แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ และสื่อการสอน 2.1 กำหนดเนื้อหา 113CF05.2.01 82013
113CF05.2 จัดทำเอกสารการสอน แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ และสื่อการสอน 2.2 จัดทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ หรือกำหนดเป็นกรณีศึกษา 113CF05.2.02 82014
113CF05.2 จัดทำเอกสารการสอน แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ และสื่อการสอน 2.3 ออกแบบ และจัดทำสื่อการสอน 113CF05.2.03 82015
113CF05.2 จัดทำเอกสารการสอน แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ และสื่อการสอน 2.4 จัดทำใบประเมินผู้เรียนและเกณฑ์การประเมิน 113CF05.2.04 82016
113CF05.3 การปฏิบัติการสอน 3.1 สอนแบบ Coaching หรือสอนแบบ OJT 113CF05.3.01 82017
113CF05.3 การปฏิบัติการสอน 3.2 การควบคุมให้ผู้เรียนปฏิบัติงานจริง 113CF05.3.02 82018
113CF05.4 ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ 4.1 สังเกตจากการปฏิบัติงาน 113CF05.4.01 82019
113CF05.4 ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ 4.2 ทำการทดสอบ 113CF05.4.02 82020
113CF05.4 ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ 4.3 บันทึกพัฒนาการเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้อมูล 113CF05.4.03 82021

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

คุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพช่างปรับประกอบ Checking Fixture ชั้น 4


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การปฏิบัติการสอนงาน

2. การประเมินระดับสมรรถนะของบุคลากร

3. การจัดทำเอกสารการสอน แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ และสื่อการสอน

4. การจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วิธีการจัดทำเอกสารการสอน แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ

2. วิธีการออกแบบ และสร้างสื่อการสอน

3. วิธีการประเมินสมรรถนะบุคลากร

4. วิธีการสอนงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. ผลงานประกอบการประเมิน หรือ

          3. เอกสารการสอน แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ สื่อการสอน/บทความ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. แฟ้มสะสมผลงานวิชาชีพ (Professional Portfolio) หรือ

          3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ด้านการปรับประกอบ Checking Fixture โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

          2. พิจารณาจากหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          เป็นการสอนงานแบบ Coaching เกี่ยวกับการปรับประกอบ Checking Fixture

(ก) คำแนะนำ

          1) ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาของหน่วยสมรรถนะด้าน Checking Fixture ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่

          2) ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถกำหนดเนื้อหาภายใต้หน่วยสมรรถนะ จัดทำแบบฝึกหัด/แบบทดสอบเพื่อการวัดผล หรือประเมินผู้เรียนได้

          3) ผู้เข้ารับประเมินต้องสามารถออกแบบ และจัดทำสื่อการสอนที่เหมาะสม และเท่าที่จำเป็นได้

          4) ผู้เข้ารับประเมินต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้สอน (Trainer) ที่ดี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1) ต้องหาความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหา เป้าหมายของการเรียนรู้

          2) แบบฝึกหัด ข้อสอบ/แบบทดสอบ ต้องสอดคล้องกับเนื้อหา

          3) สื่อการสอนจัดทำเท่าที่จำเป็น เน้นการปฏิบัติงานจริงในขณะสอน

          4) ต้องจัดทำเกณฑ์การประเมินผลการเรียน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการเตรียมองค์ประกอบเพื่อจัดทำชุดการสอน

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการจัดทำเอกสารการสอน แบบฝึกหัด/แบบทดสอบและสื่อการสอน

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการปฏิบัติการสอน

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4 เครื่องมือประเมินการติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ