หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์แบบชิ้นงานตามความต้องการของลูกค้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-ALU-4-005ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์แบบชิ้นงานตามความต้องการของลูกค้า

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม  เข้าใ จรายละเอียดและข้อกำหนดจากลูกค้า ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นกับชิ้นงาน ทั้งยังสามารถกำหนดแนวคิดและระบุเงื่อนไขในการออกแบบแม่พิมพ์ พร้อมทั้งสามารถนำเสนอปัญหา ความต้องการของลูกค้า และสรุปแนวทางแก้ไขเพื่อเสนอต่อลูกค้าได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101AE05.1 ศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดจากลูกค้า 1.1 ศึกษา และทำความเข้าใจรายละเอียดของแบบชิ้นงาน 101AE05.1.01 81717
101AE05.1 ศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดจากลูกค้า 1.2 รวบรวมจุดที่เป็นปัญหา 101AE05.1.02 81718
101AE05.2 กำหนดเงื่อนไขเพื่อการออกแบบแม่พิมพ์ 2.1 กำหนดแนวคิดการออกแบบแม่พิมพ์ 101AE05.2.01 81719
101AE05.2 กำหนดเงื่อนไขเพื่อการออกแบบแม่พิมพ์ 2.2 ระบุเงื่อนไขในการออกแบบแม่พิมพ์ 101AE05.2.02 81720
101AE05.3 สรุปผลสำหรับการออกแบบแม่พิมพ์ 3.1 นำเสนอปัญหาและความต้องการต่อลูกค้า 101AE05.3.01 81721
101AE05.3 สรุปผลสำหรับการออกแบบแม่พิมพ์ 3.2 สรุปแนวทางแก้ไข โดยได้รับความเห็นชอบจากลูกค้า 101AE05.3.02 81722

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

คุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม  ชั้น 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. วัสดุพื้นฐานในการผลิต

2. การอ่านและเขียนแบบเครื่องกล

3. การออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม

4. การสื่อสาร

5. การทำงานเป็นทีม

6. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

7. การเรียนรู้

8. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เทคโนโลยีด้านแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม

2. เทคโนโลยีและขบวนการอัดรีดอะลูมีเนียม

3. เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการอัดรีดอะลูมีเนียม

4. การวิเคราะห์ชิ้นงานอัดรีดอะลูมีเนียม

5. การแก้ไขปัญหาในงานที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

          3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และการสัมภาษณ์

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์

          2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องวิเคราะห์ปัญหาของชิ้นงานได้

          3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของชิ้นงานนั้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. เข้าใจกระบวนการผลิตงานอัดรีดชิ้นงานอะลูมิเนียม

          2. เข้าใจหลักการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม

          3. สามารถวิเคราะห์ผลจากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

          4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิดจากแบบหรือชิ้นงานต้นแบบได้ และสามารถแก้ไขปัญหาจากการวิเคราะห์ได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดจากลูกค้า

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดเงื่อนไขเพื่อการออกแบบแม่พิมพ์

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปผลสำหรับการออกแบบแม่พิมพ์

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ