หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมแบบหน้าตัดกลวง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-ALU-4-003ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมแบบหน้าตัดกลวง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีทักษะด้านการวิเคราะห์แบบ กำหนดข้อมูลเบื้องต้นในการออกแบบ รวมถึงสามารถเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์ ตลอดจนทำการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมหน้าตัดกลวงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101AE03.1 วิเคราะห์แบบและกำหนดข้อมูลเบื้องต้น 1.1 กำหนดจำนวน ขนาด และตำแหน่งของรู (Hole) ของDie Cap 101AE03.1.01 81701
101AE03.1 วิเคราะห์แบบและกำหนดข้อมูลเบื้องต้น 1.2 กำหนดชุดแม่พิมพ์ (Die Cap, Die Mandrel) 101AE03.1.02 81702
101AE03.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 2.1 กำหนดจำนวน ขนาด ตำแหน่ง รูปร่าง ของporthole ของ Die Mandrel 101AE03.2.01 81703
101AE03.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 2.2 กำหนดจำนวนขนาด รูปร่างของ Mandrel leg 101AE03.2.02 81704
101AE03.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 2.3 กำหนด Feed angle ของ Mandrel leg 101AE03.2.03 81705
101AE03.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 2.4 กำหนดมุมเอียงทางเข้า Mandrel 101AE03.2.04 81706
101AE03.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 2.5 กำหนดรูปร่างของ Welding chamber 101AE03.2.05 81707
101AE03.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 2.6 กำหนดรูปร่างของ Die Cap 101AE03.2.06 81708
101AE03.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 2.7 กำหนด Bearing length 101AE03.2.07 81709
101AE03.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 2.8 กำหนด bearing Section ระหว่าง Bearing length 101AE03.2.08 81710
101AE03.3 ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 3.1 ออกแบบแม่พิมพ์ 101AE03.3.01 81711
101AE03.3 ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมหน้าตัดกลวง 3.2 ตรวจสอบแบบแม่พิมพ์ 101AE03.3.02 81712

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

คุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม  ชั้น 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเขียนแบบเครื่องกล

2. วัสดุพื้นฐานในการผลิต

3. คอมพิวเตอร์ในการเขียนแม่พิมพ์(CAD)

4. การสื่อสาร

5. การทำงานเป็นทีม

6. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

7. การเรียนรู้

8. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. พื้นฐานวิศวกรรมวัสดุ

2. เทคโนโลยีด้านแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม

3. เทคโนโลยีและขบวนการอัดรีดอะลูมิเนียม

4. เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการอัดรีดอะลูมิเนียม

5. การเขียนแบบโดยใช้โปรแกรมเขียนแบบแม่พิมพ์และอุปกรณ์ประกอบงานอัดรีดอะลูมิเนียม



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. แบบงานแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม หรือ

          3. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

          3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ หรือ

          4. ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียน หรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินหน่วยสมรรถนะนี้ ตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน หลักฐานด้านความรู้ และการสัมภาษณ์

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

          - แม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมหน้าตัดกลวงในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง แม่พิมพ์ที่ใช้อัดรีดชิ้นงานที่มีหน้าตัดกลวง โดยการแบ่งช่องการไหลของอะลูมิเนียมแล้วจึงกลับมาเชื่อมต่อกันก่อนเข้า Die Cap

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์

          2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องออกแบบพิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมได้อย่างครบถ้วน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. เข้าใจถึงหลักการของแต่ละส่วนของแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม

          2. การคำนวณที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม

          3. ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดได้ถูกต้อง



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์แบบและกำหนดข้อมูลเบื้องต้น

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมหน้าตัดกลวง

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมหน้าตัดกลวง

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิ

 



 



ยินดีต้อนรับ