หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมหน้าตัดตัน (Solid)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-ALU-3-002ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมหน้าตัดตัน (Solid)

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมหน้าตัดตัน (Solid) โดยมีความรู้ ความสามารถพื้นฐาน สามารถคำนวณค่าแรงดันที่ใช้  กำหนดรูปแบบของแม่พิมพ์ เพื่อประกอบการออกแบบ ความเข้าใจในอุปกรณ์และกระบวนการผลิตงานอัดรีดอะลูมิเนียม และสามารถออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมหน้าตัดตัดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101AE02.1 จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ 1.1 เตรียมแบบชิ้นงานที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์ (2D/3D) 101AE02.1.01 81686
101AE02.1 จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ 1.2 เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ 101AE02.1.02 81687
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.1 กำหนดจำนวน ขนาด และตำแหน่งของรู (Hole) 101AE02.2.01 81688
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.2 กำหนด Ram pressure 101AE02.2.02 81689
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.3 กำหนดรูปแบบแม่พิมพ์ (Feeder Plate,Flat-face, recess, single bearing) 101AE02.2.03 81690
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.4 กำหนดรูปแบบ Backer ,Bolster เพื่อรับแรงในจุดวิกฤติ 101AE02.2.04 81691
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.5 กำหนดความหนาแม่พิมพ์ 101AE02.2.05 81692
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.6 กำหนดขนาดUndercut 101AE02.2.06 81693
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.7 กำหนด Bearing length 101AE02.2.07 81694
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.8 กำหนดSection ระหว่างBearinglength 101AE02.2.08 81695
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.9 กำหนดองศาทางออก 101AE02.2.09 81696
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.10 กำหนดการเผื่อการหดตัว 101AE02.2.10 81697
101AE02.2 เตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียม 2.11 เผื่อการโก่งตัวของ Die tongue 101AE02.2.11 81698
101AE02.3 ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมแบบหน้าตัดตัน 3.1 ออกแบบแม่พิมพ์ 101AE02.3.01 81699
101AE02.3 ออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมีเนียมแบบหน้าตัดตัน 3.2 ตรวจสอบแบบแม่พิมพ์ 101AE02.3.02 81700

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

คุณวุฒิวิชาชีพ ชั้น 2 อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์อื่นๆ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การสเก็ตช์แบบงาน

2. การอ่านและเขียนแบบเครื่องกล

3. วัสดุพื้นฐานในการผลิต

4. การคำนวณในการออกแบบ

5. การสื่อสาร

6. การทำงานเป็นทีม

7. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

8. การเรียนรู้

9. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ทฤษฎีการเขียนแบบเครื่องกล

2. ทฤษฎีการออกแบบเชิงกลเบื้องต้น

3. ทฤษฎีการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม

4. วัสดุวิศวกรรม

5. ชิ้นส่วนทางกล

6. ชิ้นส่วนมาตรฐาน

7. ระบบกลไก

8. Geometric Dimensioning & Tolerancing (GD&T)

9. กรรมวิธีการผลิต

10. เครื่องมือและเครื่องมือกลที่ใช้ในการผลิต

11. กระบวนการปรับปรุงสมบัติและคุณภาพผิวของชิ้นส่วน

12. วัสดุอะลูมิเนียม

13. วัสดุเหล็กแม่พิมพ์

14. การปรับสภาพทางความร้อนเหล็กแม่พิมพ์

15. เทคโนโลยีด้านแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม

16. เทคโนโลยีและขบวนการอัดรีดรีดอะลูมิเนียม

17. เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการอัดรีดรีดอะลูมิเนียม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. แบบงานแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม หรือ

          3. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

          3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ หรือ

          4. ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียน หรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินหน่วยสมรรถนะนี้ ตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน หลักฐานด้านความรู้ และการสัมภาษณ์

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          - แม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม  ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง  แม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมแบบหน้าตัดตัน

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์

          2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องออกแบบพิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมได้อย่างครบถ้วน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียม

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดอะลูมิเนียมแบบหน้าตัดตัน

          1. แบบฟอร์มแนวคำถามของข้อสอบข้อเขียนที่ใช้ในการประเมิน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ