หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คำนวณโดยใช้คณิตศาสตร์เบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MPT-2-065ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คำนวณโดยใช้คณิตศาสตร์เบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ หรืออาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก หรืออาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ หรืออาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์เป่าพลาสติก หรืออาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติก หรืออาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่ง หรืออาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ฉีดยาง หรืออาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีทักษะด้านการคำนวณพื้นฐาน เช่น คำนวณหาขนาดต่างๆ คำนวณค่าทางตรีโกณมิติ คำนวณ และกำหนดขนาดและพิกัดความคลาดเคลื่อน เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101CM02.1 พื้นฐานการคำนวณ 1.1 สร้างรูปทรงทางเรขาคณิต 166134
101CM02.1 พื้นฐานการคำนวณ 1.2 คำนวณค่าทางตรีโกณมิติ 166135
101CM02.2 ปฏิบัติการคำนวณ 2.1 คำนวณหาขนาดต่างๆ เช่น เส้นรอบรูป พื้นที่ปริมาตร น้ำหนัก เป็นต้น 166136
101CM02.2 ปฏิบัติการคำนวณ 2.2 คำนวณ กำหนดขนาด และพิกัดความเผื่อ 166137

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณค่าทางตรีโกณมิติ

2.    ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณหาขนาดต่าง ๆ เช่น เส้นรอบรูป พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก เป็นต้น

3.    ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณ กำหนดขนาดและพิกัดความคลาดเคลื่อน

4.    ความรู้เกี่ยวกับการเทียบบัญญัติไตรยางศ์

5.    ความรู้เกี่ยวกับการเทียบอัตราส่วนร้อยละ

6.    ความรู้เกี่ยวกับการแปลงหน่วย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

N/A

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    อธิบายการคำนวณค่าทางตรีโกณมิติ

2.    อธิบายการคำนวณหาขนาดต่าง ๆ เช่น เส้นรอบรูป พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก เป็นต้น

3.    อธิบายการคำนวณ กำหนดขนาดและพิกัดความคลาดเคลื่อน

4.    อธิบายการเทียบบัญญัติไตรยางศ์

5.    อธิบายการเทียบอัตราส่วนร้อยละ

6.    อธิบายการแปลงหน่วย

7.    ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค)     คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการคำนวณโดยใช้คณิตศาสตร์เบี้องต้น โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน  และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    แบบทดสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถคำนวณสมการพื้นฐาน กำหนดขนาดและพิกัดความคลาดเคลื่อน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    สมการพื้นฐาน หมายถึง การคำนวณค่าทางตรีโกณมิติ เทียบบัญญัติไตรยางศ์ การเทียบอัตราส่วนร้อยละ  การแปลงหน่วย คำนวณและกำหนดขนาดและพิกัดความคลาดเคลื่อน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ดังนี้

1.    แบบทดสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ