หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MPT-5-028ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถพัฒนากระบวนการในการปรับประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่ครอบคลุมเกี่ยวกับรายละเอียดระหว่างขั้นตอนต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลจากที่เคยได้ดำเนินการทั้งหมด แล้วนำมาใช้ในการทำการปรับประกอบครั้งต่อๆ ไปที่จะจัดทำขึ้น เป้าหมายเพื่อการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพและความน่าเชื่อถือ ด้วยเทคนิควิธีการใหม่ๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103P08.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.1 ชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์ 103P08.1.01 4972
103P08.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.2แบบแม่พิมพ์ (Drawing)และข้อกำหนด 103P08.1.02 4973
103P08.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.3 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์แม่พิมพ์ 103P08.1.03 4974
103P08.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.4วัสดุแม่พิมพ์ 103P08.1.04 4975
103P08.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.5รายการเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ 103P08.1.05 4976
103P08.2 ตรวจสอบรายละเอียดกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ที่จะทำการพัฒนา 2.1 ขั้นตอนการปรับประกอบ 103P08.2.01 4977
103P08.2 ตรวจสอบรายละเอียดกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ที่จะทำการพัฒนา 2.2วิธีการปรับประกอบ 103P08.2.02 4978
103P08.2 ตรวจสอบรายละเอียดกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ที่จะทำการพัฒนา 2.3การ Tryout บนเครื่องฉีด 103P08.2.03 4979
103P08.2 ตรวจสอบรายละเอียดกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ที่จะทำการพัฒนา 2.4การตรวจสอบคุณภาพและการทำงานของแม่พิมพ์ 103P08.2.04 4980
103P08.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 3.1 จัดทำขั้นตอนมาตรฐานในการปรับประกอบแม่พิมพ์ 103P08.3.01 4981
103P08.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 3.2การวิเคราะห์จากข้อมูลปัญหาด้านคุณภาพ 103P08.3.02 4982
103P08.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 3.3การลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการทำงาน 103P08.3.03 4983
103P08.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 3.4การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ 103P08.3.04 4984
103P08.4 การติดตามและประเมินผลการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 4.1กำหนดวิธีการติดตามและการประเมินผล 103P08.4.01 4985
103P08.4 การติดตามและประเมินผลการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 4.2สรุปผลการพัฒนา 103P08.4.02 4986

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถเตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

2. สามารถปรับปรุงขั้นตอนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 

3. สามารถรายงานผลการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

4. สามารถทำการ Tryout บนเครื่องฉีด

5. สามารถตรวจสอบคุณภาพและการทำงานของแม่พิมพ์

6. สามารถจัดทำขั้นตอนมาตรฐานในการปรับประกอบแม่พิมพ์

7. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาด้านคุณภาพ

8. สามารถลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการทำงาน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

2.  ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการพัฒนา

3.  ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานในการทำงาน

4. ความรู้เกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์

5. ความรู้เกี่ยวกับแบบแม่พิมพ์ (Drawing) 

6. ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนและอุปกรณ์แม่พิมพ์

7. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุแม่พิมพ์



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. สามารถปรับปรุงขั้นตอนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 

     2. สามารถรายงานผลการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

     3. สามารถแยกชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์

     4. สามารถเตรียมแบบแม่พิมพ์ (Drawing)และข้อกำหนด

     5. สามารถเตรียมชิ้นส่วนและอุปกรณ์แม่พิมพ์

     6. สามารถเตรียมวัสดุแม่พิมพ์

     7. สามารถเตรียมรายการเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้

     8. สามารถกำหนดขั้นตอนการปรับประกอบ

     9. สามารถทำการ Tryout บนเครื่องฉีด

    10. สามารถตรวจสอบคุณภาพและการทำงานของแม่พิมพ์

     11. สามารถจัดทำขั้นตอนมาตรฐานในการปรับประกอบแม่พิมพ์

    12. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาด้านคุณภาพ

    13. สามารถลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการทำงาน

    14. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. อธิบายองค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

     2. อธิบายการจัดทำแผนการพัฒนา

     3. อธิบายการวิเคราะห์และการสรุปผล

     4. อธิบายการจัดทำมาตรฐานในการทำงาน

     5. อธิบายชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์

     6. อธิบายแบบแม่พิมพ์ (Drawing) และข้อกำหนด

     7. อธิบายชิ้นส่วนและอุปกรณ์แม่พิมพ์

     8. แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์ 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการพัฒนา วางแผน และควบคุมกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. แบบทดสอบสัมภาษณ์

2. แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตต้องระบุชัดเจนว่าเป็นแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกชนิด/ประเภทใด มีข้อกำหนด ( Requirements )  โดยทราบราคาขายและต้นทุนที่ประมาณราคาไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบหลังการพัฒนา และการสรุปผลหลังดำเนินการแล้วเสร็จเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำการผลิตชิ้นส่วนในครั้งต่อๆ ไป

(ก) คำแนะนำ 

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

     2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจในข้อกำหนดต่างๆ ที่จะยึดถือเป็นกรอบในการปรับประกอบแม่พิมพ์แต่ละรายการ

     3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถทำการปรับประกอบแม่พิมพ์ได้ และมีประสบการณ์มากถึงขั้นที่จะทำการประเมินการปฏิบัติงานของช่างปรับประกอบแม่พิมพ์ได้

     4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปรายงานและนำเสนอผลการดำเนินงานได้

     5. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีคุณสมบัติของการเป็นนักพัฒนาที่ดี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     N/A



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

     1. แบบทดสอบสัมภาษณ์

     2. แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติงาน




ยินดีต้อนรับ