หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผสมสีและแก้สี ตั้งสูตรสี

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-CAR-3-032ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผสมสีและแก้สี ตั้งสูตรสี

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ช่างซ่อมสีรถยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถ เตรียมงานก่อน ผสมสี แก้สีได้ตามข้อกำหนดผสมสีตามสูตร พร้อมเทียบสีได้ตามข้อกำหนด  และปรับแก้เฉดสีได้ตามข้อกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    N/A   

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20381 เตรียมงานก่อน ผสมสี แก้สีได้ตามข้อกำหนด 1.1 เตรียมพื้นที่ทำงานและเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการผสมสีแก้สีได้ตามข้อกำหนด 20381.01 12233
20381 เตรียมงานก่อน ผสมสี แก้สีได้ตามข้อกำหนด 1.2 ทำความสะอาดชิ้นงานเก่า 20381.02 12234
20381 เตรียมงานก่อน ผสมสี แก้สีได้ตามข้อกำหนด 1.3 พร้อมรอเทียบสีได้ถูกต้อง 20381.03 12235
20381 เตรียมงานก่อน ผสมสี แก้สีได้ตามข้อกำหนด 1.4 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 20381.04 12236
20382 ผสมสีตามสูตรพร้อมเทียบสีได้ตามข้อกำหนด 2.1 เตรียมเครื่องชั่งและสีพร้อมชั่งได้ตามกำหนด 20382.01 12237
20382 ผสมสีตามสูตรพร้อมเทียบสีได้ตามข้อกำหนด 2.2 ชั่งน้ำหนักสีได้ถูกต้องตามสูตร 20382.02 12238
20382 ผสมสีตามสูตรพร้อมเทียบสีได้ตามข้อกำหนด 2.3 ตรวจสอบน้ำหนักตามสูตรสีได้ถูกต้องตามที่กำหนด 20382.03 12239
20382 ผสมสีตามสูตรพร้อมเทียบสีได้ตามข้อกำหนด 2.4 ผสมสีและเทียบสีได้ถูกต้อง 20382.04 12240
20382 ผสมสีตามสูตรพร้อมเทียบสีได้ตามข้อกำหนด 2.5 ทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมจัดเก็บได้อย่างถูกต้อง 20382.05 12241
20382 ผสมสีตามสูตรพร้อมเทียบสีได้ตามข้อกำหนด 2.6 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 20382.06 12242
20383 ปรับแก้เฉดสีได้ตามข้อกำหนด 3.1 วิเคราะห์เฉดสีเมื่อเปรียบเทียบแผ่นตัวอย่างกับแผ่นเทียบในมุม(ทิศทาง)ต่างๆ 20383.01 12243
20383 ปรับแก้เฉดสีได้ตามข้อกำหนด 3.2 ตรวจสอบเฉดสีด้วยแสงอาทิตย์และแสงไฟได้ 20383.02 12244
20383 ปรับแก้เฉดสีได้ตามข้อกำหนด 3.3 ผสมสีเพื่อปรับแก้สีได้ถูกต้อง 20383.03 12245
20383 ปรับแก้เฉดสีได้ตามข้อกำหนด 3.4 บำรุงรักษาเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง 20383.04 12246
20383 ปรับแก้เฉดสีได้ตามข้อกำหนด 3.5 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 20383.05 12247

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    คุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพช่างพ่นสี ระดับ 2


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การอ่านคู่มือประจำรถและคู่มือเครื่องกวนสี

    2. โปรแกรมสูตรสี

    3. การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

    4. ชนิดประเภทของยาขัดเงา

    5. การคำนวณและคาดคะเนปริมาณสีที่จะใช้พ่นชิ้นงานแต่ละชิ้น

    6. อุปกรณ์ผสมสี และเครื่องชั่งสี

    7. การเทสีและการใช้ฝาเทสี

    8. ตำแหน่ง สถานที่และมุมที่ดูสำหรับวิเคราะห์หน้าสี

    9. การใช้ตู้เทียบสี หลอดไฟ และแสงอาทิตย์

    10. การใช้อุปกรณ์ผสมสี เครื่องชั่งไม้วัดอัตราส่วนผสมปริมาณและเลือกใช้ทินเนอร์

    11. การปรับแต่ง ถอดประกอบและคุณสมบัติการพ่นสี

    12. เทคนิคการพ่นสีความหนา จำนวนเที่ยวพ่น

    13. การวิเคราะห์ความเหมือนของเฉดสีที่พ่นบนแผ่นเทียบ

    14. การอบอินฟราเรด และการใช้ตู้พ่นแผ่นเทียบสี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความปลอดภัยในงานสีรถยนต์

    2. คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้และขั้นตอนการใช้

    3. แผ่นรหัสสี และการใช้งานเอกสารสี

    4. วงล้อสี ทฤษฎีสีและแสง

    5. คุณลักษณะของแม่สี ทิศทาง ความสว่าง สดใส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการทำงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมสีรถยนต์ หรือ

        3. แบบบันทึกประกอบการสัมภาษณ์

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับ การผสมสีและแก้สี ตั้งสูตรสี โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานการผลิตรถยนต์

        2. ผู้เข้ารับการประเมินอธิบายและแสดงการผสมสี แก้สี โดยการผสมสีจริงตามสูตร หรือการตั้งสูตรสี แต่ง แก้สีให้เหมือนตัวอย่างเพื่อนำมาพ่นสีให้ได้เหมือนกับสีเดิม

        3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องชั่งสีตามสูตร คำนวณปรับลดและ เตรียมแม่สีตามสูตรผสมกับจำนวนชิ้นงาน ได้อย่างถูกต้อง ใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือผสมสีได้อย่างถูกต้อง ใช้เครื่องชั่งระบบดิจิตอลได้อย่างถูกต้องชั่งน้ำหนักสีได้อย่าง ถูกต้องตามสูตร

        4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องชั่งสีตามสูตร ปรับแก้เฉดสี โดยสามารถวิเคราะห์หน้าตรง หน้าเหลือบ หน้าข้างของเฉดสี เมื่อเปรียบเทียบแผ่นตัวอย่างกับ แผ่นเทียบได้อย่างถูกต้อง ใช้ตู้ไฟหรือหลอดไฟหรือแสงอาทิตย์ ดูเฉดสีได้อย่างถูกต้อง  บอกคุณลักษณะ ทิศทางสีและเลือกแม่สี มาแก้สีได้เหมือนตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง คาดคะเนและปรับน้ำหนักแม่ สีที่นำมาแก้สี ได้อย่างเหมาะสม

        5. ผู้เข้ารับการประเมินต้องระวังเรื่องแรงดันลม สูงต่ำ  ความร้อน แสงสว่าง ความเร็วในการเดินกาพ่นสี การเลือกใช้ทินเนอร์

    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

        1. วัสดุที่ใช้ในการชั่งผสมสี เทียบสี ได้แก่ ชุดแม่สี,ทิเนอร์ผสมสี,ทินเนอร์ล้าง,ทิชชู,ผ้าสำลี,กระดาษกาว,แปรงขนอ่อน

        2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการชั่งผสมสีได้แก่ ไม้กวนสี,ไม้วัดอัตราส่วนด้วยปริมาณ,ถ้วยผสมสี,ฝากวนสี,สูตรผสมสี

        3. เครื่องมือที่ใช้ในการชั่งผสมสีได้แก่ เครื่องชั่งสี,เครื่องคิดเลข,เครื่องกวนสี,ฝากวนสี

        4. วัสดุที่ใช้ในการเทียบสีได้แก่ ชุดแม่สี,ทิเนอร์ผสมสี,ทินเนอร์ล้าง,ทิชชู,ผ้าสำลี,กระดาษกาว,แปรงขนอ่อน,ยาขัด

        5. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเทียบสีได้แก่ แผ่นเหล็กเทียบสี,แท่งแก้ว,ไม้กวนสี,ไม้วัดอัตราส่วนด้วยปริมาณ,ถ้วยผสมสี,ฝากวนสี,สูตรผสมสี,ชิ้นส่วนตัวอย่างของรถ

        6. เครื่องมือที่ใช้ในการเทียบสีได้แก่ ไฟส่องเทียบสี,เครื่องชั่งสี,เครื่องคิดเลข,เครื่องกวนสี,ฝากวนสี

        7. วัสดุที่ใช้ในการพ่นแผ่นเทียบสีได้แก่ สี,ฮาดเดนเนอร์สี,ทิเนอร์ผสมสี,เคลียร์,ฮาดเดนเนอร์เคลียร์,ทินเนอร์ล้าง,ทิชชู,ผ้าสำลี,กระดาษกาว,แปรงขนอ่อน,ถาดล้างอุปกรณ์,กรวยกรองสี

        8. อุปกรณ์ที่ใช้ในการพ่นแผ่นเทียบสีได้แก่ แผ่นเหล็กพ่นสี,ไม้กวนสี,ไม้วัดอัตราส่วนด้วยปริมาณ,ถ้วยผสมสี,ฝากวนสี,อัตรส่วนผสมพ่นสี,ชิ้นส่วนตัวอย่างของตัวรถ

        9. เครื่องมือที่ใช้ในการพ่นแผ่นเทียบสีได้แก่ ตู้พ่นแผ่นเทียบสี,ตู้อบสี,ไฟส่องเทียบสี,เครื่องชั่งสี,เครื่องคิดเลข

        10. อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย ได้แก่ แว่นตาใส, หน้ากากป้องกันสารละลาย,ถุงมือป้องกันสารละลาย, ชุดทำงาน(ชุดหมี), หมวก, รองเท้าหัวเหล็ก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 เครื่องมือประเมิน เตรียมงานก่อน ผสมสี แก้สีได้ตามข้อกำหนด

        1. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน

        2. แบบบันทึกการสาธิตการทำงาน

        3. แบบสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2 เครื่องมือประเมิน ผสมสีตามสูตรพร้อมเทียบสีได้ตามข้อกำหนด

        1. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน

        2. แบบบันทึกการสาธิตการทำงาน

        3. แบบสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3 เครื่องมือประเมิน ปรับแก้เฉดสีได้ตามข้อกำหนด

        1. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน

        2. แบบบันทึกการสาธิตการทำงาน

        3. แบบสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ