หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-DMT-5-053ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

 อาชีพช่างปรับประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ, 3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล, 3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม, 3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทำการพัฒนากระบวนการในการปรับประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับรายละเอียดระหว่างขั้นตอนต่าง ๆ โดยอาศัยข้อมูลจากที่เคยได้ดำเนินการทั้งหมด แล้วนำมาใช้ในการทำการปรับประกอบครั้งต่อ ๆ ไปที่จะจัดทำขึ้น เป้าหมายเพื่อการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพและความน่าเชื่อถือ ด้วยเทคนิควิธีการใหม่ ๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103M11.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.1 ชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์ 103M11.1.01 139324
103M11.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.2 Process ของแม่พิมพ์ 103M11.1.02 139325
103M11.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.3 แบบแม่พิมพ์ (Drawing) และข้อกำหนด 103M11.1.03 139326
103M11.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.4 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์แม่พิมพ์ 103M11.1.04 139327
103M11.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.5 วัสดุแม่พิมพ์และการปรับปรุงสมบัติ 103M11.1.05 139328
103M11.1 เตรียมองค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 1.6 รายการเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ 103M11.1.06 139329
103M11.2 ตรวจสอบรายละเอียดกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ที่จะทำการพัฒนา 2.1 ขั้นตอนการปรับประกอบ 103M11.2.01 139330
103M11.2 ตรวจสอบรายละเอียดกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ที่จะทำการพัฒนา 2.2 วิธีการปรับประกอบ 103M11.2.02 139331
103M11.2 ตรวจสอบรายละเอียดกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ที่จะทำการพัฒนา 2.3 การ Spot และ Tryout บนเครื่องเพรส 103M11.2.03 139332
103M11.2 ตรวจสอบรายละเอียดกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ที่จะทำการพัฒนา 2.4 การตรวจสอบคุณภาพและการทำงานของแม่พิมพ์ 103M11.2.04 139333
103M11.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 3.1 จัดทำขั้นตอนมาตรฐานในการปรับประกอบแม่พิมพ์ 103M11.3.01 139334
103M11.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 3.2 การวิเคราะห์จากข้อมูลปัญหาด้านคุณภาพ 103M11.3.02 139335
103M11.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 3.3 การลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการทำงาน 103M11.3.03 139336
103M11.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 3.4 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ 103M11.3.04 139337
103M11.4 การติดตามและประเมินผลการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 4.1 กำหนดวิธีการติดตามและการประเมินผล 103M11.4.01 139338
103M11.4 การติดตามและประเมินผลการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์ 4.2 สรุปผลการพัฒนา 103M11.4.02 139339

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถตรวจสอบขั้นตอนและวิธีการประกอบ

2.    สามารถพัฒนาปรับปรุงในขั้นตอนการปรับประกอบแม่พิมพ์

3.    สามรถวิเคราะห์ปัญหาด้านคุณภาพของชิ้นงานและแม่พิมพ์

4.    สามารถจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลพร้อมกำหนดวิธีการติดตามและประเมินผล

5.    สามารถรายงานผลการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวชนิดหรือประเภทของแม่พิมพ์

2.    ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ในกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

3.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดทำแผนการพัฒนา

4.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์และการสรุปผล

5.    การจัดทำเป็นมาตรฐานในการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แสดงการตรวจสอบขั้นตอนและวิธีการประกอบ

2.    แสดงการพัฒนาปรับปรุงในขั้นตอนการปรับประกอบแม่พิมพ์

3.    แสดงการวิเคราะห์ปัญหาด้านคุณภาพของชิ้นงานและแม่พิมพ์

4.    แสดงการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลพร้อมกำหนดวิธีการติดตามและประเมินผล

5.    แสดงการรายงานผลการพัฒนากระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

6.    ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    ระบุหรืออธิบายชนิดหรือประเภทของแม่พิมพ์

2.    ระบุหรืออธิบายองค์ประกอบต่าง ๆ ในกระบวนการปรับประกอบแม่พิมพ์

3.    ระบุหรืออธิบายวิธีการจัดทำแผนการพัฒนา

4.    ระบุหรืออธิบายวิธีการวิเคราะห์และการสรุปผล

5.    อธิบายการจัดทำเป็นมาตรฐานในการทำงาน

6.    ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินตามหลักฐานที่ต้องการ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    แบบทดสอบการสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

3.    แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตต้องระบุชัดเจนว่าเป็นแม่พิมพ์ปั๊มโลหะชนิด/ประเภทใด มีข้อกำหนด ( Requirements ) โดยทราบราคาขายและต้นทุนที่ประมาณราคาไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบหลังการพัฒนา และการสรุปผลหลังดำเนินการแล้วเสร็จเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำการผลิตชิ้นส่วนในครั้งต่อ ๆ ไป

(ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจในข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จะยึดถือเป็นกรอบในการปรับประกอบแม่พิมพ์แต่ละรายการ

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถทำการปรับประกอบแม่พิมพ์ได้ และมีประสบการณ์มากถึงขั้นที่จะทำการประเมินการปฏิบัติงานของช่างปรับประกอบแม่พิมพ์ได้

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปรายงานและนำเสนอผลการดำเนินงานได้

5.    ผู้เข้ารับประเมินต้องมีคุณสมบัติของการเป็นนักพัฒนาที่ดี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

1.    แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ

3.    แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ