หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ปัญหาจากการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-DMT-5-051ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ปัญหาจากการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างปรับประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ, 3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล, 3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม, 3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ปัญหาจากการทดลองแม่พิมพ์  ตั้งแต่การเตรียมการ การวิเคราะห์และสรุปผลการวิเคราะห์แม่พิมพ์ ให้สามารถนำไปใช้โดยยึดถือปฏิบัติในการกำหนดแนวทางการแก้ไขต่อไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103M09.1 เตรียมองค์ประกอบในการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะเพื่อทำการวิเคราะห์ 1.1 ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในขณะทดลองแม่พิมพ์ 103M09.1.01 139310
103M09.1 เตรียมองค์ประกอบในการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะเพื่อทำการวิเคราะห์ 1.2 ชนิด/ประเภทและขนาดของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ 103M09.1.02 139311
103M09.1 เตรียมองค์ประกอบในการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะเพื่อทำการวิเคราะห์ 1.3 Process ของแม่พิมพ์ 103M09.1.03 139312
103M09.1 เตรียมองค์ประกอบในการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะเพื่อทำการวิเคราะห์ 1.4 แบบชิ้นงานและแบบแม่พิมพ์ 103M09.1.04 139313
103M09.1 เตรียมองค์ประกอบในการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะเพื่อทำการวิเคราะห์ 1.5 แบบฟอร์มการตรวจสอบแม่พิมพ์ (Inspection sheet) 103M09.1.05 139314
103M09.1 เตรียมองค์ประกอบในการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะเพื่อทำการวิเคราะห์ 1.6 ข้อมูลการบันทึกปัญหาต่าง ๆระหว่างการทดลองแม่พิมพ์ 103M09.1.06 139315
103M09.2 วิเคราะห์ปัญหาจากการทดลองแม่พิมพ์ 2.1 ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของชิ้นส่วน อุปกรณ์ในแม่พิมพ์ 103M09.2.01 139316
103M09.2 วิเคราะห์ปัญหาจากการทดลองแม่พิมพ์ 2.2 ค่าตัวเลขต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในการติดตั้งแม่พิมพ์ 103M09.2.02 139317
103M09.2 วิเคราะห์ปัญหาจากการทดลองแม่พิมพ์ 2.3 วิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ทั้งอยู่กับที่และขณะเคลื่อนที่ (Static & Dynamic Check) 103M09.2.03 139318
103M09.2 วิเคราะห์ปัญหาจากการทดลองแม่พิมพ์ 2.4 ระดับคะแนนหรือเปอร์เซ็นต์ที่ประเมินในการทดลองแม่พิมพ์ครั้งนั้น 103M09.2.04 139319
103M09.3 สรุปผลการวิเคราะห์ 3.1 รวบรวมปัญหาสาเหตุ แยกแยะเป็นประเด็นที่ชัดเจน 103M09.3.01 139320
103M09.3 สรุปผลการวิเคราะห์ 3.2 กำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปรับปรุง 103M09.3.02 139321
103M09.3 สรุปผลการวิเคราะห์ 3.3 บันทึกผลการวิเคราะห์ 103M09.3.03 139322
103M09.3 สรุปผลการวิเคราะห์ 3.4 การจัดทำมาตรฐานการวิเคราะห์ผลการทดลองแม่พิมพ์ไว้ใช้ในหน่วยงาน 103M09.3.04 139323

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถรู้ถึงข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทดลองแม่พิมพ์

2.    สามารถจำแนกชนิดหรือประเภทและขนาดของแม่พิมพ์

3.    สามารถอ่านแบบวิศวกรรม

4.    สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ทั้งอยู่กับที่และขณะเคลื่อนที่ (Static & Dynamic Check)

5.    สามารถนำการประชุมและนำทีม

6.    สามารถสรุปประเด็นและการจัดทำมาตรฐานการวิเคราะห์ผลการทดลองแม่พิมพ์ไว้ใช้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบแม่พิมพ์แบบ Static และ Dynamic Check

2.    ความรู้เกี่ยวกับวัสดุแม่พิมพ์

3.    ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่สร้างขึ้นและชิ้นส่วนมาตรฐาน

4.    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดและตัวแปรในการติดตั้งแม่พิมพ์

5.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ขณะทำการทดลองแม่พิมพ์

6.    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แสดงการจำแนกชนิดหรือประเภทและขนาดของแม่พิมพ์

2.    แสดงการวิเคราะห์วิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ทั้งอยู่กับที่และขณะเคลื่อนที่ (Static & Dynamic Check)

3.    แสดงการนำการประชุมและนำทีม

4.    แสดงการสรุปประเด็นและการจัดทำมาตรฐานการวิเคราะห์ผลการทดลองแม่พิมพ์ไว้ใช้

5.    ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    อธิบายวิธีการตรวจสอบแม่พิมพ์แบบ Static และ Dynamic Check

2.    ระบุหรืออธิบายวัสดุแม่พิมพ์

3.    ระบุหรืออธิบายชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่สร้างขึ้นและชิ้นส่วนมาตรฐาน

4.    ระบุหรืออธิบายตัวแปรในการติดตั้งแม่พิมพ์

5.    อธิบายเกี่ยวกับข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงาน ขณะทำการทดลองแม่พิมพ์

6.    อธิบายวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

7.    ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาจากการทดลองแม่พิมพ์ปั๊มโลหะโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    แบบทดสอบการสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

3.    แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถทำการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทดลองแม่พิมพ์ได้  

3.    ผู้เข้ารับประเมินต้องสามารถสรุปรายงานและนำเสนอผลการวิเคราะห์ได้

4.    ผู้เข้ารับประเมินต้องมีคุณสมบัติของการเป็นนักวิเคราะห์และผู้นำที่ดี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    วิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาในการขึ้นรูปโลหะ สรุปแนวทางการแก้ปัญหา และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

1.    แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ

3.    แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ