หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-DMT-4-047ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างปรับประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ, 3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล, 3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม, 3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต, 8281 ผู้ประกอบผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกล, 7233 ช่างเครื่องและช่างปรับแต่งเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะด้านการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ โดยจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน สามารถเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่เหมาะสมกับกระบวนการประกอบชุดแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน ชนิดแม่พิมพ์ Progressive die ซับซ้อน หรือ แม่พิมพ์ Single Non-Symmetrical part ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103M05.1 ความปลอดภัยในการทำงาน 1.1ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล 165516
103M05.1 ความปลอดภัยในการทำงาน 1.2 ตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนและหลังปฏิบัติงาน 165517
103M05.2 การเตรียมการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน 2.1 เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ 165518
103M05.2 การเตรียมการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน 2.2 เตรียมชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 165519
103M05.3 ประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน 18.4ตรวจสอบชิ้นส่วนของชุดแม่พิมพ์ก่อนการประกอบ 165520
103M05.3 ประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน 18.5ประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ 165521
103M05.3 ประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน 18.6ตรวจสอบความถูกต้องของชุดแม่พิมพ์ปั๊มโลหะหลังทำการประกอบ 165522

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.    สามารถตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนและหลังปฏิบัติงาน

3.    สามารถเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

4.    สามารถอ่านแบบภาพประกอบ

5.    สามารถเตรียมชิ้นส่วนแม่พิมพ์

6.    สามารถประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

7.    สามารถตรวจสอบความถูกต้องของชุดแม่พิมพ์ปั๊มโลหะก่อนและหลังทำการประกอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.    ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์

3.    ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนของแม่พิมพ์

4.    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการประกอบชุดแม่พิมพ์

5.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบชิ้นส่วนและความถูกต้องของชุดแม่พิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แสดงการปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.    แสดงการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนและหลังปฏิบัติงาน

3.    แสดงการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

4.    แสดงการเตรียมชิ้นส่วนแม่พิมพ์

5.    แสดงการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

6.    แสดงการตรวจสอบความถูกต้องของชุดแม่พิมพ์ปั๊มโลหะก่อนและหลังทำการประกอบ

7.    ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    อธิบายหรือระบุขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.    อธิบายระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์

3.    อธิบายหรือระบุชนิดหรือขนาดชิ้นส่วนย่อยของแม่พิมพ์

4.    อธิบายขั้นตอนการประกอบชุดแม่พิมพ์

5.    อธิบายหรือระบุวิธีการตรวจสอบชิ้นส่วนและความถูกต้องของชุดแม่พิมพ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน  โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

2.    แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน ชนิดแม่พิมพ์ Progressive die ซับซ้อน หรือ แม่พิมพ์ Single Non-Symmetrical part ได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

2.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเข้าใจขั้นตอนการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน ชนิดแม่พิมพ์ Progressive die ซับซ้อน หรือ แม่พิมพ์ Single Non-Symmetrical partได้ โดยต้องบันทึกในแบบฟอร์มการประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ (ถ้ามี)

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1. แม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีความซับซ้อน หมายถึง แม่พิมพ์แบบต่อเนื่อง (Progressive Die) หรือ แม่พิมพ์ Single Non-Symmetrical part


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

1.    แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ

2.    แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ