หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

โป๊วสี

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-CAR-1-025ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ โป๊วสี

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ช่างซ่อมสีรถยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเตรียมชิ้นงานก่อนการโป๊วสีได้ตามข้อกำหนด โป๊วสีได้ตามข้อกำหนด และขัดสีโป๊วได้ตามข้อกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20331 เตรียมชิ้นงานก่อนการโป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 1.1 เตรียมพื้นที่ทำงานและเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการโป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 20331.01 12171
20331 เตรียมชิ้นงานก่อนการโป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 1.2 ทำความสะอาดผิวชิ้นงานพร้อมตรวจงานเคาะก่อนโป๊วสี 20331.02 12172
20331 เตรียมชิ้นงานก่อนการโป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 1.3 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 20331.03 12173
20332 โป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 2.1 เลือกสีโป๊วและน้ำยาผสมสีโป๊ว ได้ตามข้อกำหนด 20332.01 12174
20332 โป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 2.2 ผสมสีโป๊วได้ตามข้อกำหนด 20332.02 12175
20332 โป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 2.3 โป๊วสีชิ้นงานได้ตามขั้นตอนที่กำหนด 20332.03 12176
20332 โป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 2.4 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 20332.04 12177
20333 ขัดสีโป๊วได้ตามข้อกำหนด 3.1 เตรียมชิ้นงานและเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการขัดโป๊วสีได้ตามข้อกำหนด 20333.01 12178
20333 ขัดสีโป๊วได้ตามข้อกำหนด 3.2 ขัดสีโป๊วได้ตามขั้นตอน (ขัดแห้ง ขัดน้ำ) 20333.02 12179
20333 ขัดสีโป๊วได้ตามข้อกำหนด 3.3 ตรวจผิวงานและรูปทรงชิ้นงานได้ตามข้อกำหนด 20333.03 12180
20333 ขัดสีโป๊วได้ตามข้อกำหนด 3.4 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 20333.04 12181

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ผลกระทบของสีที่จะเกิดปัญหาขึ้นกับสีโป๊ว

    2. การเลือกสีโป๊วและมีดโป๊วสี

    3. การใช้อุปกรณ์ผสมสี เครื่องชั่งอัตราส่วนผสมปริมาณ และการเลือกใช้ฮาร์ดเดนนอร์

    4. เทคนิคการโป๊วสี และการแก้ปัญหาสี

    5. การใช้ห้องอบและอินฟาเรด

    6. ชนิด ประเภท แผ่นรองขัด เครื่องขัด

    7. เทคนิคการขัดและเลือกใช้เบอร์กระดาษทราย

    8. การแก้ปัญหารอยกระดาษทราย สียุบ ขึ้นขอบ ขึ้นเหลือง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความปลอดภัยในงานสีรถยนต์

    2. คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้และขั้นตอนการใช้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการทำงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมตัวถังรถยนต์ หรือ

        3. แบบบันทึกประกอบการสัมภาษณ์

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับ การโป๊วสีผิวรถยนต์ขนาดเล็ก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

     (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)
    (ก) คำแนะนำ

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานการผลิตรถยนต์

        2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องระวังเรื่องการติดกระดาษเพื่อปกป้องชิ้นส่วนข้างเคียง   ทำความสะอาดชิ้น งานได้อย่างถูกต้อง  การจัดเตรียมอุปกรณ์และผสมสีโป๊วได้ง ใช้มีดโป๊วสีได้ โป๊วสีโป๊ว ใช้แป้นขัดแห้งได้ ใช้เครื่องขัด ติดกระดาษเพื่อป้องกันชิ้นส่วนข้างเคียง ขัดปรับแต่งให้เข้ารูปทรง และการเลือกใช้เบอร์กระดาษทรายให้ถูกต้อง

        3. การเลือกเกรียงเหล็กมีความสำคัญ ตัวเกรียงต้องมีความเป็นspring หน้ากว้าง ทำเสร้จต้องล้างให้สะอาด หน้าตัดเกรียงจะต้องเรียบ (การวาง การเก็บ การบำรุงรักษาเกรียงโป๊วสี)

        4.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องระวังเรื่องการเลือกน้ำยา วิธีผสม ต้องไม่มากเกินไป

        5. ผู้เข้ารับการประเมินต้องระวังการเลือกกระดาษทราย เบอร์ 180 ในการขัดสี  วิธีการขัด โดยต้องให้แรงกระจายทั่ว

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. การโป๊วสี พิจารณาถึงเลือกสีโป๊วและน้ำยาผสมสีโป๊ว ได้ตามข้อกำหนด การผสมสีโป๊วได้ตามข้อกำหนด การโป๊วสีชิ้นงานได้ตามขั้นตอนที่กำหนด

        2. การขัดสีโป๊ว พิจารณาถึงการเตรียมชิ้นงานและเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการขัดโป๊วสีได้ตามข้อกำหนด วิธีขัดสีโป๊วได้ตามขั้นตอน (ขัดแห้ง ขัดน้ำ) การตรวจผิวงานและรูปทรงชิ้นงานได้ตามข้อกำหนด

        3. วัสดุที่ใช้ในการโป๊วสีได้แก่ สีโป๊ว,ฮาดเดนเนอร์สีโป๊ว,ทินเนอร์ล้าง,ทิชชู,ผ้าสำลี,ผ้าเทป,กระดาษกาว,กระดาษติดพ่นสี,แปรง ขนอ่อน,พลาสติกม้วน

        4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการโป๊วสีได้แก่ ชิ้นส่วนที่เสียหาย,ไม้กวนสี,ปืนเป่าลม,มีดโป๊วพลาสติก,มีดโป๊วเหล็ก,มีดโป๊วยาง,กระดานผสมสีโป๊ว,ถาดล้าง

        5. อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย ได้แก่ แว่นตาใส, หน้ากากป้องกันสารละลาย, ถุงมือป้องกันสารละลาย, ชุดทำงาน(ชุดหมี), หมวก, รองเท้าหัวเหล็ก

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 เครื่องมือประเมิน เตรียมชิ้นงานก่อนการโป๊วสีได้ตามข้อกำหนด

        1. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน

        2. แบบบันทึกการสาธิตการทำงาน

        3. แบบสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2 เครื่องมือประเมิน โป๊วสีได้ตามข้อกำหนด

        1. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน

        2. แบบบันทึกการสาธิตการทำงาน

        3. แบบสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3 เครื่องมือประเมิน ขัดสีโป๊วได้ตามข้อกำหนด

        1. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน

        2. แบบบันทึกการสาธิตการทำงาน

        3. แบบสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ