หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐาน

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ZZZ-5-036ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา


1 1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียน วิเคราะห์ความต้องการศักยภาพผู้สอน และกำหนดผู้สอน ตรวจตราแผนการเรียนการสอน กำหนดระบบการเรียนรู้ ประเมินการจัดการเรียนการสอนในบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยการวางแผน นิเทศและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ทันกับการศึกษายุคใหม่ บริบททางสังคม เศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของโลกปัจจุบันกำหนดเป้าหมายของการนิเทศการศึกษา จัดทำแผนการนิเทศการศึกษา ดำเนินการนิเทศการศึกษา และประเมินผลการนิเทศการศึกษา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๑พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20102.01 จัดการเรียนการสอน 1. วิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียน 20102.01.01 137571
20102.01 จัดการเรียนการสอน 2. วิเคราะห์ความต้องการศักยภาพผู้สอน และกำหนดผู้สอน 20102.01.02 137572
20102.01 จัดการเรียนการสอน 3. ตรวจตราแผนการเรียนการสอน 20102.01.03 137573
20102.01 จัดการเรียนการสอน 4. กำหนดระบบการเรียนรู้ตามหลักการที่กำหนด 20102.01.04 137574
20102.01 จัดการเรียนการสอน 5. ประเมินการจัดการเรียนการสอน 20102.01.05 137575
20102.02 นิเทศการศึกษา 1. กำหนดเป้าหมายของการนิเทศการศึกษา 20102.02.01 137576
20102.02 นิเทศการศึกษา 2. จัดทำแผนการนิเทศการศึกษา 20102.02.02 137577
20102.02 นิเทศการศึกษา 3. ดำเนินการนิเทศการศึกษา 20102.02.03 137578
20102.02 นิเทศการศึกษา 4.ประเมินผลการนิเทศการศึกษา 20102.02.04 137579

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการคิดวิเคราะห์

  2. ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

  3. ทักษะการติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

  4. ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

  5. ทักษะการหาและวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา ช่องทาง และกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดเป้าหมายและแผนงานการนำเสนอ

  6. ทักษะการบริหารการเปลี่ยนแปลง

  7. ทักษะการประสานงาน และการสร้างความร่วมมือของทุกฝ่ายในการดำเนินงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan)

  2. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ และการฝึกอบรม

  3. ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในทีมงานที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cross cultural team)

  4. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรม เพื่อบรรลุเป้าประสงค์

  5. ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร

  6. ความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารโครงการ

  7. ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจขององค์การ นโยบาย และกลยุทธ์องค์การ และการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ

  8. ความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้การบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์การและหน่วยงาน

  9. ความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ความสามารถในการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล และประเมินผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1) สื่อการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน อาทิ วิดีทัศน์ คลิปการสอน สื่อมัลติมีเดีย สื่อโซเชียลมีเดีย



2) แผนงานและโครงการนิเทศการศึกษาภายใน



3) หลักฐานเชิงประจักษ์ (รูปถ่าย วิดีทัศน์ โปสเตอร์ ประกาศ คำสั่ง บันทึกข้อความ) ที่แสดงถึงกิจกรรมการนิเทศ เช่น กิจกรรมการประชุมก่อนเปิดภาคเรียน การสังเกตการสอน การสาธิตการสอน การพาครูไปศึกษานอกสถานที่



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



N/A



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


การนิเทศการศึกษา หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ แนะนำ หรือปรับปรุงทางการศึกษาแก่บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินงานของตนไปได้ด้วยดี โดยผู้นิเทศควรเอาใจใส่ในการสำรวจตรวจสอบเพื่อดูแลแนะนำการจัดการเรียนการสอนของบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีความสามารถในการทำงานอย่างดีมีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัครเพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมินทั้งนี้กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการประเมิน




1. จัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐาน




  • การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียน การวิเคราะห์ความต้องการศักยภาพผู้สอน และกำหนดผู้สอนการตรวจตราแผนการเรียนการสอน การกำหนดระบบการเรียนรู้ตามหลักการที่กำหนด และการประเมินการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓

  • การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียน การวิเคราะห์ความต้องการศักยภาพผู้สอน และกำหนดผู้สอนการตรวจตราแผนการเรียนการสอน การกำหนดระบบการเรียนรู้ตามหลักการที่กำหนด และการประเมินการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓

  • การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินทำการตรวจสอบหลักฐานการปฏิบัติงานของผู้สมัคร ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ 14 ประกอบกับหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สมัครมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียน การวิเคราะห์ความต้องการศักยภาพผู้สอน และกำหนดผู้สอนการตรวจตราแผนการเรียนการสอน การกำหนดระบบการเรียนรู้ตามหลักการที่กำหนด และการประเมินการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓




2. นิเทศการศึกษา




  • การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายของการนิเทศการศึกษาการจัดทำแผนการนิเทศการศึกษา การดำเนินการนิเทศการศึกษา และการประเมินผลการนิเทศการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓

  • การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายของการนิเทศการศึกษา การจัดทำแผนการนิเทศการศึกษา การดำเนินการนิเทศการศึกษา และการประเมินผลการนิเทศการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓

  • การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินทำการตรวจสอบหลักฐานการปฏิบัติงานของผู้สมัคร ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ 14 ประกอบกับหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สมัครมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายของการนิเทศการศึกษา การจัดทำแผนการนิเทศการศึกษา การดำเนินการนิเทศการศึกษา และการประเมินผลการนิเทศการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓



ยินดีต้อนรับ