หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

มีความเป็นพลเมืองโลก

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ZZZ-5-034ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ มีความเป็นพลเมืองโลก

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองโลก คือ แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะสากลในสิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ การใช้ภาษาสากล การยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย การยึดถือสันติภาพและสิทธิมนุษยชน และการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๑พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพพ.ศ. ๒๕๕๖

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10206.01 ประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย 1. ระบุแนวทางการพัฒนาด้านภาษาอื่นๆ ได้อย่างน้อย 1 ภาษา 10206.01.01 137553
10206.01 ประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย 2. ระบุแนวทางการเพิ่มคุณค่าของวัฒนธรรมสากลกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ 10206.01.02 137554
10206.01 ประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย 3. สามารถยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ที่หลากหลายได้ 10206.01.03 137555
10206.02 ยอมรับแนวทางสันติวิธีและสิทธิมนุษยชน 1. ระบุแนวทางแห่งสันติภาพได้ 10206.02.01 137556
10206.02 ยอมรับแนวทางสันติวิธีและสิทธิมนุษยชน 2. ระบุแนวทางแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนได้ 10206.02.02 137557
10206.02 ยอมรับแนวทางสันติวิธีและสิทธิมนุษยชน 3. สามารถยกตัวอย่างของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับสากลได้ 10206.02.03 137558
10206.03 มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม 1. ระบุแนวทางการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ของพลเมืองโลก 10206.03.01 137559
10206.03 มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม 2. สามารถยกตัวอย่างกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม 10206.03.02 137560
10206.03 มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม 3. สามารถยกตัวอย่างกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม 10206.03.03 137561

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการคิดวิเคราะห์

  2. ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

  3. ทักษะการติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

  4. ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

  5. ทักษะการติดต่อสื่อสาร

  6. ทักษะการใช้ภาษาสากล

  7. ทักษะการควบคุมอารมณ์

  8. ทักษะการใช้เทคโนโลยี

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ความเข้าใจในบริบทของสังคมโลก

  2. ความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง

  3. ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

  4. ความรู้ความเข้าใจในด้านจิตวิทยา

  5. ความรู้ความเข้าใจในสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองโลก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
  1) หลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น ภาพถ่ายสถานที่ นิทรรศการ กิจกรรม การจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความเป็นพลเมืองโลก
 
2) เอกสารการเข้าร่วมการสัมมนา/อบรมที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องสันติภาพ สิทธิมนุษยชน (ถ้ามี)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     ผลการสอบข้อเขียน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



     เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • ภาษาสากลทำให้บุคคลใช้ภาษาอื่นๆ ที่นอกเหนือจากภาษาไทยได้ ทำให้ช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาสมรรถได้กว้างไกลขึ้น และช่วยส่งเสริมให้บุคคลมีสมรรถนะในอาชีพในระดับสากล เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน

  • วัฒนธรรมสากล ทำให้บุคคลเรียนรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของบุคคล สังคม ชาติ และนานาชาติ ช่วยให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพที่สอดรับกับวัฒนธรรม ช่วยเพิ่มพูนช่องทางในการประกอบวิชาชีพมากยิ่งขึ้น

  • สันติภาพและสิทธิมนุษยชน ทำให้บุคคล องค์กร อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทำงานร่วมกัน แบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งทางอาชีพและการแก้ไขปัญหาทั้งระดับท้องถิ่น ต่างประเทศ และนานาชาติ

  • ความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล คือเคารพและปฏิบัติตามสิทธิที่มีโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสฯลฯ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัครเพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมินทั้งนี้กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการประเมิน




18.1 ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย




  • การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกที่เกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นของการที่มีความสามารถในการใช้ภาษาสากล การรับรู้ เข้าใจและยอมรับในความหลากหลายของวัฒนธรรมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

  • การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของการมีสมรรถนะในด้านภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย การเห็นคุณค่าและยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ตลอดจนแนวทางในการปฏิบัติ

  • การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวทางการมีโลกทัศน์สากล ครอบคลุมถึงความสามารถทางภาษาสากล การเห็นคุณค่าและยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม มองข้ามผ่านชุมชมและเผ่าพันธุ์ของตน




18.2 การยึดถือสันติภาพและสิทธิมนุษยชน




  • การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกที่เกี่ยวกับการใช้แนวทางสันติภาพและสิทธิมนุษยชน ประกอบไปด้วยแนวคิดและแนวปฏิบัติ ในเรื่องของ การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ การไม่ใช้ความรุนแรง การเจรจา และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

  • การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดหรือประสบการณ์ตรงในการบริหารงาน โดยใช้กระบวนการแบบสันติภาพและการเคารพในสิทธิมนุษยชน

  • การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน เช่น แผน/โครงการ/กิจกรรม/การมีส่วนร่วม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้แนวทางสันติภาพและสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม




18.3 การมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม




  • การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกที่เกี่ยวกับแนวคิด แนวทาง หรือประสบการณ์ตรง ของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ระดับสถาบัน หรือชุมชน หรือประเทศ หรือนานาชาติ เช่น การเคารพและปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ

  • การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและประสบการณ์ตรงที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม เช่น จิตอาสา การส่งเสริมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ

  • การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนแนวคิด แนวปฏิบัติ ในอนาคตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม 



ยินดีต้อนรับ