หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์สถานประกอบการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ZZZ-5-025ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์สถานประกอบการ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ครูฝึกในสถานประกอบการ (2359)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นความรู้ ทักษะ ที่ใช้ออกแบบเครื่องมือ รวบรวบ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินผลความพร้อมในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการ ซึ่งผลของการวิเคราะห์สามารถใช้ในการตัดสินใจ และตรียมการจัดฝึกอบรมต่อไป ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ควรประกอบด้วย ความต้องการการพัฒนาบุคลากร ความพร้อมของบุคลากร สถานที่เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรม กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการ กระบวนการทำงาน โครงสร้างขององค์กรที่ระบุตำแหน่งหน้าที่ของพนักงาน และคำบรรยายลักษณะงาน (Job description) ของพนักงาน เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ครูฝึกในสถานประกอบการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010031

รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานประกอบการ

1.1 บอกแหล่งข้อมูลในการรวบรวมได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

010031.01 198699
010031

รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานประกอบการ

1.2 เตรียมข้อมูลของสถานประกอบการอย่างถูกต้องและครบถ้วน

010031.02 198700
010031

รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานประกอบการ

1.3 รู้และเข้าใจนโยบาย ทิศทางการดำเนินงานขององค์กร

010031.03 198701
010032

วิเคราะห์ข้อมูลสถานประกอบการ

2.1 เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

010032.01 198702
010032

วิเคราะห์ข้อมูลสถานประกอบการ

2.2 ผลของการวิเคราะห์ต้องครอบคลุมทุกด้านของความพร้อมในการจัดฝึกอบรม

010032.02 198703
010033

ประเมินความพร้อมในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการ

3.1 เลือกวิธีการประเมินได้อย่างเหมาะสม

010033.01 198704
010033

ประเมินความพร้อมในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการ

3.2 เกณฑ์การประเมินต้องคลุมทุกความพร้อมของการจัดฝึกอบรม

010033.02 198705
010033

ประเมินความพร้อมในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการ

3.3 ผลการประเมินต้องเชื่อถื่อได้ และมีข้อเสนอแนะการปรับปรุงเท่าที่จำเป็น

010033.03 198706

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ ทักษะในงานที่จะเป็นครูฝึกเป็นอย่างดี  และความรู้ทักษะของการเป็นครูฝึกในสถานประกอบการระดับ 3 และ 4 มาก่อน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ออกแบบเครื่องมือรวบรวมความพร้อมในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการ

2. วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ

3. ประเมินผลได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่ไว้ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การพัฒนาบุคลากร

2. การจัดการฝึกอบรม

3. การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม    

4. การประสานงาน

5. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์และจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. แบบสอบถาม

    2. แบบสัมภาษณ์

    3. ตารางวิเคราะห์ข้อมูล

    4. ใบสรุปผลการประเมิน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. หลักฐานประสบการณ์หรือการฝึกอบรมเรื่องการจัดการฝึกอบรม  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ผู้ประเมินต้องประเมินด้วยความเป็นกลาง โดยอาศัยหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและความรู้เป็นหลักในการประเมินและตัดสินใจ

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินผลความพร้อมในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการ ตลอดจนถึงการนำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลการประเมินที่ใช้ในการตัดสินใจและการปรับปรุงความพร้อมในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการต่อไป

 (ก) คำแนะนำ

การประเมินต้องให้ครอบคลุมองค์ประกอบต่าง ๆในการวิเคราะห์สถานประกอบการที่ระบุในขอบเขตที่กำหนด เพื่อประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมในการจัดฝึกอบรมในสถานประกอบการต่อไป

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. การออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม

    2. การวิเคราะห์ข้อมูล

    3. การประเมินผลความพร้อมในการจัดฝึกอบรมของสถานประกอบการ

    4. การสรุปผลการประเมินที่เป็นประโยชน์และง่ายต่อการนำไปปฏิบัติต่อไป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ใช้วิธีการสัมภาษณ์ และ

2) ใช้แฟ้มสะสมงานที่มีหลักฐานเกี่ยวกับการประเมินความพร้อมในการจัดฝึกอบรม เช่น ใบประเมิน ใบสรุปผล การประเมิน เป็นต้น และ

3) การสำรวจความพร้อมของสถานประกอบการตามใบประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ