หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ZZZ-4-017ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ครูฝึกในสถานประกอบการ (2359)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นความรู้ ทักษะ ในการเลือกใช้เครื่องมือวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม และการประเมินผลสมรรถนะที่เหมาะสม  เพื่อกำหนดสมรรถนะในรูปของความรู้ ทักษะและเจตคติ ของพนักงานที่ต้องได้รับการอบรม โดยอาจใช้การวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์ปัญหา การสำรวจความต้องการอย่างเป็นระบบ และอื่น ๆ เพื่อให้ได้สมรรถนะที่ต้องใช้ในการทำงาน หรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  ตลอดจนถึงการนำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลการวิเคราะห์ที่ใช้ในการวางแผน และพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมของสถานประกอบการต่อไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ครูฝึกในสถานประกอบการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
      N/A      

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
      N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010021

เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม

1.1 เครื่องมือที่เลือกเหมาะกับสภาพและความต้องการของสถานประกอบการ

010021.01 198691
010021

เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม

1.2 เครื่องมือที่เลือกสอดคล้องกับความรู้ ทักษะ ของผู้วิเคราะห์

010021.02 198692
010022

ออกแบบเครื่องมือประเมินสมรรถนะของพนักงาน

2.1 เครื่องมือที่ออกแบบเหมาะกับสภาพของสถานประกอบการ

010022.01 198693
010022

ออกแบบเครื่องมือประเมินสมรรถนะของพนักงาน

2.2 เครื่องมือที่ออกแบบต้องสามารถใช้วัดสมรรถนะของผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมได้ถูกต้อง

010022.02 198694
010022

ออกแบบเครื่องมือประเมินสมรรถนะของพนักงาน

2.3 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินสอดคล้องกับระดับสมรรถนะที่ต้องใช้ในการทำงาน

010022.03 198695
010023

ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินเพื่อกำหนดความต้องการฝึกอบรม

3.1 ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่เลือกได้อย่างถูกต้อง 

010023.01 198696
010023

ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินเพื่อกำหนดความต้องการฝึกอบรม

3.2 ใช้เครื่องมือวัดและประเมินที่ออกแบบได้อย่างถูกต้อง

010023.02 198697
010023

ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินเพื่อกำหนดความต้องการฝึกอบรม

3.3 ผลการประเมินสมารถนำไปใช้เตรียมการฝึกอบรมต่อไปได้

010023.03 198698

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ ทักษะในงานที่จะเป็นครูฝึกเป็นอย่างดี  และความรู้ทักษะของการเป็นครูฝึกในสถานประกอบการระดับ 3  มาก่อน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. เลือกแครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม           

2. ออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินสมรรถนะของพนักงาน

3. ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินเพื่อกำหนดความต้องการฝึกอบรม

4. สรุปผลความต้องการฝึกอบรม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม

2. การประสานงาน

3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์และจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐานการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม เช่น ใบวิเคราะห์งาน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น

2. ใบสรุปผลความต้องการฝึกอบรม

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานประสบการณ์หรือการฝึกอบรมเรื่องการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินต้องประเมินด้วยความเป็นกลาง โดยอาศัยหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและความรู้เป็นหลักในการประเมินและตัดสินใจ

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้   เกี่ยวกับการลือกเครื่องมือวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะ การวิเคราะห์และประเมินสมรรถนะอย่างมีประสิทธิภาพ การหาช่องว่าง (Gap) ของความรู้ ทักษะ และการสรุป เพื่อใช้ในการเตรียมการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนรายบุคคล หรือกลุ่มของผู้เรียน ตลอดจนถึงการนำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการสรุปความต้องการฝึกอบรมที่ได้ ซึ่งจะนำไปใช้ในการวางแผนการฝึกอบรมและพัฒนาหลักสูตรต่อไป

 (ก) คำแนะนำ

การประเมินต้องให้ครอบคลุมองค์ประกอบต่าง ๆในการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรมตามที่ระบุในขอบเขตที่กำหนด เพื่อประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมในการจัดฝึกอบรมในสถานประกอบการต่อไป

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. เลือกแครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม           

    2. ออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินสมรรถนะของพนักงาน

    3. ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินเพื่อกำหนดความต้องการฝึกอบรม

    4. สรุปผลความต้องการฝึกอบรม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A       

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ใช้วิธีการสัมภาษณ์ และ

2) ใช้แฟ้มสะสมงานที่มีหลักฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม เช่น ตารางการวิเคราะห์  ใบประเมินสมรรถนะ และใบสรุปผล เป็นต้น





 



ยินดีต้อนรับ